วันสารทไทย
มนุษย์เราดำรงอยู่ได้ด้วยเกษตรกรรมเป็นหลักสำคัญ ซึ่งวันสารท ถือเป็นประเพณีนิยมมาแต่โบราณและเป็นการทำบุญกลางปีของไทย ซึ่งตรงกับวันสิ้นเดือนสิบ(๑๐) หรือ วันแรม๑๕ ค่ำเดือนสิบ(๑๐)คือ แม้จะเป็นประเพณีที่มีส่วนมาจากลัทธิพราหมณ์ แต่ชาวไทยก็นิยมรับพระเป็นประเพณีในส่วนที่มีคุณธรรมอันดีมานั่นเอง
ความหมายของวันสาทรไทย
สารท มีความหมายว่า เทศกาลทำบุญในวันสิ้นเดือนสิบ(๑๐)ตรงกับวันแรม๑๕ ค่ำเดือนสิบ(๑๐)ของทุกปี ซึ่งในวันสารท จะมีการนำพืชพรรณธัญญาหารที่เก็บเกี่ยวมาปรุงเป็นข้าวทิพย์ และข้าวมธุปายาสถวายพระสงฆ์ "สารท" เป็นคำอินเดีย หมายถึง "ฤดู" ประชาชนจึงรู้สึกยินดี และถือเป็นเทศกาลแห่งความรื่นเริง จึงมักทำพิธีตามความเชื่อ
วันสารทของประเทศไทย
ตามความเชื่อของคนโบราณ เมื่อเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์ธัญญาหารในคราวแรกแล้ว พืชพันธุ์ธัญญาหารที่เก็บเกี่ยวได้ในครั้งแรก จะนำไปบวงสรวง เพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือจะช่วยให้เกิดความเป็นสิริมงคลกับชีวิตและสวนไร่นาของตน เป็นฤดูกาลแห่งการเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์ธัญญาหาร ซึ่งจะอยู่ในช่วงปลายฤดูฝนเริ่มย่างเข้าสู่ฤดูหนาว
"ผลแรกได้" คือการนำพืชผลที่เก็บเกี่ยวได้ครั้งแรก ไปสังเวยหรือบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนนับถือ เพื่อความเป็นสิริมงคล และแสดงความเคารพที่ท่านช่วยบันดาลให้พืชพันธุ์ธัญหารอุดมสมบูรณ์จนเก็บเกี่ยวได้ อาจมีพิธีต้มข้าวกับน้ำนมทำเป็นขนม เรียกว่า ข้าวทิพย์ข้าวปายาสถวายพระคเณศ ซึ่งจะทำบุญวันสารทนี้ในวันแรม๑๕ ค่ำเดือนสิบ(๑๐)ซึ่งมีการถวายข้าวมธุปายาสถวายพระสงฆ์ ของทุกปี
ศาสนาพราหมณ์เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย คนไทยจึงรับประเพณีนี้มา ทำให้ประเทศไทยมีประเพณีการทำบุญวันสารทเป็นพิธีกรรมที่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังที่ปรากฏหลักฐานในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือนซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
การจัดกิจกรรมในวันสารทไทย
การจัดกิจกรรมในวันสารท ตรงกับวันแรม๑๕ ค่ำเดือนสิบ(๑๐) ตามปฏิทินจันทครติไทย
ปฏิทินวันสารทไทย
วันสารทไทย พ.ศ.2558 ตรงกับ วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ.2558 / วันจันทร์ แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีมะแม
วันสารทไทย พ.ศ.2559 ตรงกับ วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2559 / วันเสาร์ แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีวอก
วันสารทไทย พ.ศ.2560 ตรงกับ วันพุธที่ 20 กันยายน พ.ศ.2560 / วันพุธ แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีระกา
วันสารทไทย พ.ศ.2561 ตรงกับ วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2561 / วันอังคาร แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีจอ
วันสารทไทย พ.ศ.2562 ตรงกับ วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ.2562 / วันเสาร์ แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีกุน
วันสารทไทย พ.ศ.2563 ตรงกับ วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ.2563 / วันพฤหัสบดี แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีชวด
วันสารทไทย พ.ศ.2564 ตรงกับ วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2564 / วันพุธ แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีฉลู
วันสารทไทย พ.ศ.2565 ตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ.2565 / วันอาทิตย์ แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีขาล
วันสารทไทย พ.ศ.2566 ตรงกับ วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2566 / วันเสาร์ แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีเถาะ
วันสารทไทย พ.ศ.2567 ตรงกับ วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2567 / วันพุธ แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีมะโรง
วันสารทไทย พ.ศ.2568 ตรงกับ วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ.2568 / วันจันทร์ แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีมะเส็ง
ประวัติวันสารทไทย
วันสารทไทยเป็นการทำบุญเพื่อส่งเสริมขวัญกำลังใจแก่เกษตรกรผู้ปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร เพื่อให้พืชพันธุ์มีความอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นไป การทำบุญวันสารทมิได้สำคัญว่ามาจากศาสนาใด เพราะพุทธศาสนิกชนทั้งหลายนิยมทำบุญทำทานอยู่เป็นนิจ มิได้ถือวันใดเป็นพิเศษ แต่การทำบุญสารท เป็นฤดูกาลแห่งการเก็บเกี่ยว จึงถือโอกาสทำบุญทำทานให้เป็นของขวัญแก่ไร่นาของตน
บางแห่งเชื่อว่าวันสารทเป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว บางแห่งก็เป็นประเพณีการทำบุญเนื่องจากว่างจากภารกิจไร่นาจึงถือโอกาสทำบุญครั้งใหญ่เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และครอบครัว ประเพณีสารทได้เปลี่ยนความเชื่อถือไปตามกาลเวลาและความเชื่อตามท้องถิ่นของตน วันแรม๑๕ ค่ำเดือนสิบ(๑๐)ถูกกำหนดไว้เป็นวันสารทไทย ซึ่งเป็นพิธีของประชาชนในประเพณีเกี่ยวกับการทำบุญ มีประเพณีทำบุญทำนองเดียวกันในภาคอื่น ๆ ด้วย และมีการกำหนดวันและวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกัน
วันสารทเดือนสิบภาคใต้ คือประเพณีทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้พ่อแม่ปู่ย่าตายายและญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว และผู้ที่ตกนรกหรือเรียกว่าเปรต จะได้รับอนุญาตให้มาพบกับญาติ ของตนในเมืองมนุษย์ได้ในวันแรม๑ ค่ำเดือนสิบ(๑๐)และกลับไปสู่นรก ดังเดิม ในวันแรม๑๕ ค่ำเดือนสิบ(๑๐)จึงมีการทำบุญวันสารทสองวาระ แต่ส่วนใหญ่ทำวันแรม๑๕ ค่ำเดือนสิบ(๑๐)เพราะมีความสำคัญ มากกว่า
ประเพณีทำบุญตายายหรือประเพณีรับส่งตายาย คือญาติที่ล่วงลับไปแล้วกลับมาเยี่ยมลูกหลานในวันแรม ๑ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) และกลับนรกตามเดิมในวันแรม ๑๕ ค่ำเดือนสิบ(๑๐)ซึ่งญาติที่ล่วงลับเหล่านี้เป็นตายาย เมื่อท่านมา ก็จะทำบุญรับ เมื่อท่าน กลับก็ส่งกลับ จึงเรียกประเพณีดังกล่าวนี้ว่า "ทำบุญตายาย"
การชิงเปรตที่ปฏิบัติกันในประเพณีสารทเดือนสิบ(๑๐)นี้ มีลักษณะคล้ายกับการทิ้งกระจาดของจีน แต่การทิ้งกระจาดของจีนเป็นการทิ้งทานให้แก่พวกผีไม่มีญาติ ส่วนการชิงเปรตของไทยเป็นการอุทิศส่วนกุศลไปให้ทั้งผี(เปรต) ที่เป็นญาติพี่น้องของตนเอง และที่ไม่มีญาติด้วย นอกจากนี้วิธีการปฏิบัติในการทิ้งกระจาดและการชิงเปรตก็แตกต่างกันด้วย ผู้ เฒ่าผู้แก่หลายคนได้ยืนยันว่าการชิงเปรต เป็นการทำบุญเพราะชื่อว่าบุตรหลานของเปรตตนใดชิงได้ เปรตตนนั้นย่อมได้รับส่วนนั้น
กิจกรรมในวันสารทไทย
การนำข้าวปลาอาหาร และที่ขาดไม่ได้ คือ ขนมกระยาสารท ไปทำบุญตักบาตรที่วัดถือเป็นกิจกรรมหลัก ๆ ของวันสารทไทย โดยการตักบาตรจะมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น การทำบุญตักบาตรในวันสารทไทยนั้น มีความเชื่อว่า เป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
ทำบุญวันสารทไทย
เป็นการทำบุญของชาวไทยภาคใต้เป็นประเพณีทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้บุคคลที่ล่วงลับ อาจจะเป็น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตายาย และญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่ต้องตกนรก หรือเรียกว่าเปรตนั้น จะได้รับอนุญาตให้มาพบกับญาติของตนในเมืองมนุษย์ได้ในวันแรม๑ ค่ำเดือนสิบ(๑๐)และกลับไปสู่นรกดังเดิม ในวันแรม๑๕ ค่ำเดือนสิบ(๑๐)มีการทำบุญในสองวาระ แต่จะนิยมทำในวันแรม ๑๕ ค่ำเดือนสิบ(๑๐) มากกว่า ซึ่งเรียกกันว่าเป็นประเพณีทำบุญเดือนสิบ ประเพณีทำบุญวันสารท
ประเพณีจัดหมรับ
ประเพณีจัดหมรับ คือ การจัดเสบียงอาหารเป็นสำรับถวายพระภิกษุ โดยให้พระภิกษุจับสลากแล้วให้ศิษย์เก็บไว้ แล้วนำถวายพระภิกษุเป็นมื้อๆ เป็นการยกหมรับที่จัดเรียบร้อยแล้วไปวัด พร้อมทั้งภัตตาหารไปถวายพระภิกษุในช่วงเวลาเช้าก่อนเพล
พิธีการชิงเปรต
คือมีการจัดเป็นขบวนแห่ใหญ่โต บางแห่งแต่งตัวเป็นเปรตเข้าร่วมไปในขบวนด้วย ซึ่งพิธีชิงเปรตหรือตั้งเปรตนั้น เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำบุญ กล่าวคือ เมื่อจัดหมรับ ยกหมรับไปถวายพระภิกษุแล้ว จะเอาอาหารซึ่งเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ไปจัดตั้งไว้ให้เปรต ซึ่งจะขาดไม่ได้ก็คือขนม 5 อย่าง คือ ขนมพอง ,ขนมลา , ขนมกง หรืองบางทีก็ใช้ ขนมไข่ปลา , ขนมดีซำ และขนมบ้า ส่วนอาหารก็จะเป็นอาหารที่ผู้ล่วงลับไปแล้วชอบในสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่
ประเพณีทำบุญตายาย
ประเพณีทำบุญตายายหรือประเพณีรับส่งตายาย คือญาติที่ล่วงลับไปแล้วกลับมาเยี่ยมลูกหลานในวันแรม๑ ค่ำเดือนสิบ(๑๐)และกลับนรกตามเดิมในวันแรม๑๕ ค่ำเดือนสิบ(๑๐)ซึ่งญาติที่ล่วงลับเหล่านี้เป็นตายาย เมื่อท่านมา ก็จะทำบุญรับ เมื่อท่าน กลับก็ส่งกลับ จึงเรียกประเพณีดังกล่าวนี้ว่า "ทำบุญตายาย"
ตักบาตรขนมกระยาสารท
มีความเชื่อที่ว่า ถ้าไม่ได้ใส่บาตรขนมกระยาสารทในวันสารทไทยแล้ว ญาติผู้ล่วงลับก็จะไม่ได้ส่วนบุญส่วนกุศลที่กระทำในวันนั้น ขนมกระยาสารทเป็นขนมประจำวันสารทในทุกท้องถิ่นของประเทศไทย ซึ่งจะขาดเสียมิได้ด้วย ขนมกระยาสารทมีส่วนประกอบ คือ ข้าวตอก ข้าวเม่า ถั่ว งา และน้ำตาล นำทั้งหมดมากวนเข้าด้วยกัน เมื่อสุกแล้วจึงนำมาปั้นเป็นก้อนกลม หรือจะตัดเป็นแผ่นก็ได้
นอกจากนี้ยังมีพิธีตักบาตรน้ำผึ้ง ฟังธรรมเทศนา ถือศีลภาวนา ปล่อยนกปล่อยปลาอีกด้วย
สิ่งที่ควรทำและรักษาประเพณีวันสารทไทย
"สารทไทย" มาก่อน ซึ่งวันสารทไทย ตรงกับวันแรม๑๕ ค่ำเดือนสิบ(๑๐)เป็นเทศกาลทำบุญ เดือนสิบ(๑๐)ของไทย ซึ่งเป็นประเพณีที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณตามหลักฐานพบว่ามีมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี และมีพิธีปฏิบัติมาจนถึงทุกวันนี้
ทำกระยาสารท
ก่อนวันงานวันสารทไทย ชาวบ้านจะมารวมตัวกันเพื่อทำขนมที่เรียกว่า กระยาสารท และขนมอื่น ๆ แล้วแต่ความนิยมของแต่ละท้องถิ่น เพื่อใช้ในงาน
ทำบุญตักบาตร
ในวันงาน วันสารทไทย ชาวบ้านจะทำการจัดแจงนำข้าวปลา อาหาร และข้าวกระยาสารทไปทำบุญตักบาตรที่วัดประจำหมู่บ้าน หรือวัดที่ใกล้ๆ รวมถึงการถือศีล เข้าวัด ฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีล นำข้าวกระยาสารท หรือขนมอื่นไปฝากซึ่งกันและกันยังบ้านใกล้เรือนเคียง หรือหมู่ญาติมิตรที่อยู่บ้านไกลหรือถามข่าวคราวเยี่ยมเยือนกัน ซึ่งการไปวัดฟังธรรมในอดีต มักเป็นเรื่องของคนเฒ่าคนแก่เป็นส่วนใหญ่ในวันเช่นนี้ควรส่งเสริมให้เด็ก เยาวชนและคนหนุ่มสาว ไปวัดทำบุญและรักษาศีลให้มากขึ้น เพราะเป็นวัยที่ยังมีพลังที่จะเป็นหลักต่อไปในอนาคต
บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์
บางท้องถิ่นจะทำขนมสำหรับบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แม่พระโพสพ ผีนา ผีไร่ เมื่อถวายพระสงฆ์เสร็จแล้วก็นำไปบูชาตามไร่นา โดยวางตามกิ่งไม้ต้นไม้ หรือที่จัดไว้ โดยเฉพาะ
วันสารท เป็นวันที่ถือเป็นคติและเชื่อสืบกันมาว่า ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว จะมีโอกาสได้กลับมารับส่วนบุญจากญาติพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้น จึงมีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติในวันนี้และเชื่อว่า หากทำบุญในวันนี้ไปให้ญาติแล้วญาติจะได้รับส่วนบุญได้เต็มที่และมีโอกาสหมดหนี้กรรม และได้ไปเกิดหรือมีความสุข พระสงฆ์ควรเป็นกำลังสำคัญในการเผยแพร่ประเพณีวันสารทให้ประชาชนเข้าใจและรู้ซึ้งถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริง เพื่อส่งเสริมให้สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ควรอนุรักษ์และส่งเสริมฟื้นฟูประเพณีวันสารทไทย ให้มีการปฏิบัติกันอย่างกว้างขวางในหมู่คนไทยทุกกลุ่ม เพื่อเป็นที่รู้จักและแพร่หลายต่อไป
แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมวันสารทไทย
ประเพณีสารทเดือนสิบ ถือเป็นงานบุญประเพณีของคนภาคใต้ของประเทศไทย แม้จะได้รับอิทธิพลด้านความเชื่อซึ่งมาจากทางศาสนาพราหมณ์ แต่ก็มีการผสมผสานกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนาเข้ามา และมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณของบรรพชนและญาติที่ล่วงลับ สาเหตุที่ต้องมีการจัดพิธีสารทไทยขึ้น ก็เพื่อจุดมุ่งหมายต่อไปนี้
เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที
เชื่อกันว่าญาติที่ล่วงลับไปแล้วจะมีโอกาสได้กลับมารับส่วนบุญจากญาติพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่ และญาติจะได้รับส่วนบุญได้เต็มที่ มีโอกาสหมดหนี้กรรม ได้ไปเกิด หรือมีความสุข ที่ต้องมีการส่งเสริมแนวทางการจัดกิจกรรมวันสารทไทยก็เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที ต่อบรรพชนผู้มีพระคุณ
เพื่อผูกมิตรกับเพื่อนบ้าน
เนื่องจากชาวบ้านจะทำขนมกระยาสารทไว้แจกจ่ายกันตามหมู่บ้าน บ้านใกล้เรือนเคียง ทำให้ได้พบปะกัน ถือเป็นการแสดงความเอื้อเฟื้อให้แก่เพื่อนบ้าน และเป็นการผูกมิตรไมตรีกันไว้
จรรโลงพระพุทธศาสนา
เป็นการบำรุง หรือจรรโลงพระพุทธศาสนาให้มั่นคงสืบไป และเป็นการแสดงความเคารพ แก่ผู้หลักผู้ใหญ่ รวมถึงขจัดความตระหนี่ เป็นการกระทำจิตใจของตนให้สะอาดหมดจด ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความโลภ
แสดงความกตัญญูต่อพระแม่โพสพ
สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม การทำนาเป็นอาชีพหลัก การแสดงความกตัญญูต่อพระแม่โพสพ หรือผีไร่ ผีนาที่ช่วยรักษาข้าวกล้าในนาให้เจริญงอกงามดี ในช่วงเดือนสิบ(๑๐)ซึ่งเป็นช่วงที่ข้าวกล้ากำลังงอกงาม และรอเก็บเกี่ยวเมื่อสุก จึงมีเวลาว่างพอที่จะทำบุญเพื่อเลี้ยงขอบคุณตอบแทน