แผนที่ดาว (Planisphere)

แผนที่ดาวแบบหมุน แผนที่ฟ้า (Planisphere)

แผนที่ดาวแบบหมุน แผนที่ฟ้า (Planisphere) ขั้วฟ้าเหนือ (N) ละติจูด 14.00°N
แผนที่ดาว
ละติจูด
เวลา
แผนที่ดาวแบบหมุน แผนที่ฟ้า (Planisphere)
[1]. แผนที่ดาว แผนที่ฟ้า แบบหมุน (Planisphere) มีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วน คือ

แผ่นแผนที่ดาว แผ่นล่างหมุนได้ ขอบด้านนอกมีสเกลวันที่และเดือน ตรงกลางแสดงแผนที่ดาวพร้อมรายละเอียด เช่น

● เส้นสุริยวิถี/รวิมรรค (Ecliptic) เส้นสีแดงมีวันที่และเดือน พร้อม จุดเริ่มต้นจักรราศี โดยสัญลักษณ์ราศีสีเขียว จักราศีสายนะ (Tropical Zodiac) และสัญลักษณ์ราศีสีน้ำเงิน จักราศีนิรายนะ (Sidereal Zodiac)

● เส้นศูนย์สูตรฟ้า (Celestrial Equator) เส้นสีน้ำเงินใกล้เส้นสุริยวิถี

● จุดดาว ขนาดใหญ่เล็กตามโชติมาตร จุดใหญ่ดวงดาวมีความสว่างมากกว่าจุดเล็ก , โชติมาตร (Star Magnitude)
-1
0
1
2
3
4
5


● กลุ่มดาวจักรราศี กลุ่มดาว 12 ราศีอยู่ใกล้เส้นสุริยวิถี

● กลุ่มดาวสำคัญ ๆ ทั้ง 88 กลุ่มตามสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (The International Astronomical Union - IAU)

● ทางช้างเผือก แถบสีเทาพาดผ่านกลุ่มดาวต่าง ๆ โดยจุดศูนย์กลางอยู่บริเวณกลุ่มดาวแมงป่อง

แผ่นขอบฟ้า แผ่นบน ขอบด้านนอกมีสเกลเวลาชั่วโมงและนาที ตรงกลางแสดงเส้นและจุดสำคัญต่าง ๆ เช่น

● เส้นขอบฟ้า (Horizon) แนวเส้นขอบท้องฟ้าที่จรดพื้นราบ ในแผนที่ดาว คือขอบกรอบตรงกลางด้านล่าง

● เส้นมุมทิศ (Azimuth) ในแผนที่ดาว คือเส้นแนวตั้งสีเขียว ด้านล่างมี องศาและทิศ

มุมทิศ (Azimuth) มุมในระบบพิกัดขอบฟ้า (Horizontal Coordinates) มุมทิศเป็นมุมในแนวราบขนานกับเส้นขอบฟ้า (Horizon) มีค่าระหว่าง 0 - 360° นับ 0° จากทิศเหนือ ตามเข็มนาฬิกา ไปยังทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก และกลับมายังทิศเหนืออีกครั้งตามลำดับ เช่น ทิศเหนือ 0° , ทิศตะวันออก 90° , ทิศใต้ 180° , ทิศตะวันตก 270° , ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 45°

● เส้นมุมเงย (Altitude) ในแผนที่ดาว คือเส้นแนวนอนสีเขียว มุมเงย 0° เป็นเส้นขอบฟ้า แผนที่แสดงเส้นมุมเงย 15°, 30°, 45°, 60°, 75°

มุมเงย (Altitude) มุมในระบบพิกัดขอบฟ้า (Horizontal Coordinates) มุมเงยเป็นมุมในแนวดิ่งที่ใช้บอกความสูงของวัตถุบนท้องฟ้า มีค่าระหว่าง 0 - 90° นับ 0° ที่เส้นขอบฟ้า (Horizon) จนถึงจุดจอมฟ้า (Zenith) หรือ 90° ในกรณีที่มุมเงยมีค่า น้อยกว่า 0° หรืออยู่ระหว่าง 0° ถึง - 90° หมายถึง ณ เวลานั้น ๆ วัตถุบนท้องฟ้า ดวงดาวยังไม่ขึ้น ยังอยู่ต่ำกว่าเส้นขอบฟ้า (0°) และไม่สามารถมองเห็นได้

● จุดจอมฟ้า (Zenith) จุดเหนือศีรษะ ในแผนที่ดาว คือจุดมุมเงย 90° จุดรวมของเส้นมุมทิศ

● เส้นเมอริเดียน (Zenith) ในแผนที่ดาว คือเส้นสีเขียว ลากจากขอบฟ้า ทิศเหนือ 0° ผ่านจุดจอมฟ้า ไปยังขอบฟ้าทิศใต้ 180°

[2]. แผนที่ดาวชุดนี้มี 2 หน้า คือ หน้าขั้วฟ้าเหนือ (Northern Hemisphere / North Celestial Pole) และ ซีกฟ้าใต้ (Southern Hemisphere) สามารถตั้งค่าได้ (หากเป็นแผนที่ดาวจริงให้พลิกอีกด้าน) การใช้งานอาจเรียกแผนที่ดาวตามลักษณะของแนวเส้นขอบฟ้า ที่โค้งต่างกัน เช่น หน้าขั้วฟ้าเหนือแนวเส้นขอบฟ้าโค้งหงาย เรียก "หน้ายิ้ม" และ หน้าขั้วฟ้าใต้แนวเส้นขอบฟ้าโค้งคว่ำ เรียก "หน้าบึ้ง"

[3]. การเลือกใช้แผนที่ดาว ให้เลือกตามละติจูดที่สังเกตุการณ์ เช่น กรุงเทพฯ ตั้งอยู่ที่ละติจูด 13.75° N ให้ตั้งค่าละติจูดให้ตรงกันหรือใกล้เคียง เช่น 13-14° N หากเป็นแผนที่ดาวที่มีวางจำหน่ายให้เลือกละติจูดที่ใกล้เคียงที่สุด เช่น 14 - 15° N , การดูว่าแผนที่ดาวเหมาะกับละติจูดที่ใช้สังเกตุการณ์หรือไม่นั้น ให้สังเกตหมุดหมุนตรงกลางแผนที่ดาว (North Celestial Pole) ตรงกับเส้นมุมเงย เช่น แผนที่ดาว ละติจูด 15° N ในหน้าขั้วฟ้าเหนือ หมุดตรงกลางอยู่ตรงกับเส้นมุมเงย 15° พอดี

[4]. แผนที่ดาวหรือแผนที่ฟ้าชุดนี้ คำนวณตำแหน่งดาวจริง ตำแหน่งอาทิตย์จริง (J2020) , การสร้างแผนที่ดาวใช้วิธีการคำนวณโปรเจคชั่นจากทรงกลมฟ้า (Celestial Sphere Projection) มีข้อที่ควรทราบคือ ดาวที่อยู่ใกล้ขั้วฟ้าเหนือ (ในแผนที่ดาวขั้วฟ้าเหนือ) อยู่ใกล้กันกว่าระยะจริง ส่วนดาวซีกฟ้าใต้ หรือที่อยู่เลยเส้นมุมทิศ 90°-270° ห่างเกินระยะจริง ในแผนที่ดาวซีกฟ้าใต้ก็คล้ายกัน

วิธีการใช้แผนที่ดาวแบบหมุน แผนที่ฟ้า เบื้องต้น
[1]. ก่อนอื่นต้องทราบ วันที่ เดือน และ เวลาที่สังเกตุการณ์ รวมถึงทิศทางท้องฟ้าว่าเป็นขั้วฟ้าเหนือ (Northern Hemisphere) หรือ ซีกฟ้าใต้ (Southern Hemisphere) เลือก/สลับแผนที่ดาว คลิก "พลิกแผนที่"

[2]. ตัวอย่าง ดูดาวขั้วฟ้าเหนือ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ เวลา 21:00น. ใช้แผนที่หน้ายิ้ม ขั้วฟ้าเหนือ โดยมองหาขีดวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ในแผนที่ดาวแผ่นล่าง และ มองหาขีดเวลา 21:00น. ในแผ่นขอบฟ้าแผ่นบน เมื่อได้ตำแหน่งขีดแล้วให้หมุนขีดวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ( คลิก
❮❮
หมุนขวา หรือ
❯❯
หมุนซ้าย ) ให้ตรงกับขีดเวลา 21:00น. ก็ได้แผนที่ดาว ณ. วันเวลานั้น ๆ

[3]. หันหน้าไปทางทิศเหนือ ยกแผนที่ดาวไว้ตรงหน้า ให้ทิศเหนือ (0°) ในแผนที่ตรงกับ ทิศเหนือตามสถานที่สังเกตุการณ์ โดยทิศตะวันออกอยู่ด้านขวามือ และทิศตะวันตกอยู่ด้านซ้ายมือ ด้านหลังเป็นทิศใต้

[4]. การสังเกตการณ์ให้เริ่มจากดาวที่สว่างมาก เปรียบเทียบตำแหน่งกับจุดดาวสีดำใหญ่ในแผนที่ดาว เมื่อหาดาวหลักได้แล้ว ค่อยเปรียบเทียบหาตำแหน่งดาวอื่น ๆ , การหาตำแหน่งดาวอาจต้องมีการวัดมุมดาว มุมทิศ มุมเงย เปรียบเทียบตำแหน่งในแผนที่ดาว ให้ดู วิธีการวัดมุมดาวด้วยมือ

[5]. ระหว่างใช้แผนที่ขั้วฟ้าเหนือ หากต้องการดูดาวทาง ทิศตะวันออก 90° และ ทิศตะวันตก 270° ให้ห้นหน้าไปทางขวามือทิศตะวันออก หรือทางซ้ายมือตะวันตก หาตำแหน่งดาววัดมุมดาว มุมทิศ มุมเงย เปรียบเทียบตำแหน่งในแผนที่ดาว

[6]. ดูดาวซีกฟ้าใต้ ใช้แผนที่หน้าบึ้ง ซีกฟ้าใต้ (Southern Hemisphere) หมุนวันเวลาตามข้อ [2] (กรณีวันเวลาเดียวกันกับขั้วฟ้าเหนือให้ "พลิกแผนที่" อีกด้าน) หันหน้าไปทางทิศใต้ ยกแผนที่ดาวไว้ตรงหน้า ให้ทิศใต้ (180°) ในแผนที่ตรงกับ ทิศใต้ตามสถานที่สังเกตุการณ์ หาตำแหน่งดาวแบบเดียวกับดูดาวขั้วฟ้าเหนือ , เรียกแผนที่ดาวซีกฟ้าใต้ (Southern Hemisphere) เพราะละติจูดที่สังเกตุการณ์เหนือเส้นศูนย์โลก จึงไม่สามารถมองเห็นขั้วฟ้าใต้ (South Celestial Pole)
: หมุนซ้าย/ขวา ช้า ...  
❯❯❯❯❯
: หมุนซ้าย/ขวา เร็ว ,
: หมุนซ้าย/ขวา (หมุนต่อเนื่อง คลิกค้าง) ,
: เริ่มต้น
Ephemeris is based upon the DE431 ephemerides from NASA's Jet Propulsion Laboratory (JPL).
อ่าน ใช้งาน แล้ว เขียนรีวิว และคลิก Like , Share ให้ด้วยนะครับ :)   5.00 จาก 1 รีวิว