วันปิยมหาราช
วันปิยะมหาราช ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งวันหยุดของราชการ ซึ่งจะทำให้ชาวไทย ได้มีโอกาสน้อมรำลึกและร่วมกันไปถวายบังคมหรือวางพวงมาลาแด่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ณ ลานพระบรมรูปทรงม้าที่พระลานหน้าพระราชวังดุสิต ซึ่งพระองค์ทรงมีพระเมตตา เป็นล้นพ้น และทรงทำสิ่งที่ทำให้ชาวไทยได้เป็นอิสระ ด้วยการสั่งให้มีการเลิกทาส ทำให้พระองค์ทรงได้รับพระสมัญญาว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช"
ความหมายของวันปิยะมหาราช
วันปิยมหาราช หมายถึง วันที่ปวงชนชาวไทย ได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ทรงพระราชทานชีวิตใหม่ ให้อิสรภาพแด่ปวงชน โดยทรงประกาศเลิกทาส ทรงปรับปรุง และพัฒนาระบบการบริหาร ราชการแผ่นดินและอื่น ๆ เพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชนชาวไทย และเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระองค์ผู้ทรงมี พระมหากรุณาธิคุณ เป็นอเนกประการ หรือที่ชาวไทยเรียกกันว่า "เสด็จพ่อ ร.5"
วันปิยะมหาราชของประเทศไทย
วันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม เป็น "วันปิยมหาราช" ซึ่งพระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ต่อประเทศไทยหลายด้าน แต่สิ่งที่โดดเด่นที่สุด และทำให้ชาวไทยได้ปลดปล่อยอิสระแรงงาน ซึ่งถือเป็นการให้ชีวิตใหม่ต่อประชาราษฎร์ คือ การประกาศเลิกทาสนั่นเอง ทำให้พระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ จึงทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช" ซึ่งมีความหมายว่า "พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน"
วันที่ใช้จัดงาน วันปิยะมหาราช
วันปิยะมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม เป็นวันสำคัญและวันหยุดราชการวันหนึ่งของไทย ซึ่งจะมีการจัดงานวันนี้ทุกปี โดย หน่วยงานต่างๆ จะมาวางพวงมาลาดอกไม้สักการะ และถวายบังคมที่พระบรมรูปทรงม้า ของทุกปี
ปฏิทินวันปิยมหาราช
วันปิยมหาราช พ.ศ.2559 ตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2559 / วันอาทิตย์ แรม ๗ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีวอก
วันปิยมหาราช พ.ศ.2560 ตรงกับ วันจันทร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2560 / วันจันทร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีระกา
วันปิยมหาราช พ.ศ.2561 ตรงกับ วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2561 / วันอังคาร ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีจอ
วันปิยมหาราช พ.ศ.2562 ตรงกับ วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2562 / วันพุธ แรม ๑๐ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีกุน
วันปิยมหาราช พ.ศ.2563 ตรงกับ วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2563 / วันศุกร์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีชวด
วันปิยมหาราช พ.ศ.2564 ตรงกับ วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2564 / วันเสาร์ แรม ๒ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีฉลู
วันปิยมหาราช พ.ศ.2565 ตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2565 / วันอาทิตย์ แรม ๑๓ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีขาล
วันปิยมหาราช พ.ศ.2566 ตรงกับ วันจันทร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2566 / วันจันทร์ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีเถาะ
วันปิยมหาราช พ.ศ.2567 ตรงกับ วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2567 / วันพุธ แรม ๖ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีมะโรง
วันปิยมหาราช พ.ศ.2568 ตรงกับ วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2568 / วันพฤหัสบดี ขึ้น ๒ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีมะเส็ง
วันปิยมหาราช พ.ศ.2569 ตรงกับ วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2569 / วันศุกร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีมะเมีย
ประวัติวันปิยะมหาราช
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประเทศสยามได้มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการพัฒนาให้กับชาติเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การไฟฟ้า การไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ ฯลฯประกอบกับพระราชกรณียกิจที่ทำให้เกิดความผาสุข แก่ประชาชนซึ่งพระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ต่อประเทศไทยหลายด้าน แต่สิ่งที่โดดเด่นที่สุด และทำให้ชาวไทยได้ปลดปล่อยอิสระแรงงาน ซึ่งถือเป็นการให้ชีวิตใหม่ต่อประชาราษฎร์ คือ การประกาศเลิกทาส ทำให้พระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ จึงทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช" ซึ่งมีความหมายว่า "พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน"
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 คนไทยทั้งประเทศต้องพบกับความเศร้าโศกครั้งยิ่งใหญ่ เมื่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 หรือพระพุทธเจ้าหลวง ที่ทรงประชวรได้เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต เพราะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกษัตริย์ที่เป็นที่เคารพรักของทวยราษฎร์ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอเนกประการ ทั้งในการปกครองบ้านเมืองและพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชนทุกหมู่เหล่า ทำให้พสกนิกรชาวไทยต่าง เสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ต่อมาทางราชการได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวันที่ระลึกสำคัญของชาติเรียกว่า "วันปิยมหาราช" และกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ ซึ่งอยู่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยซึ่งต่อมาเป็น "กรุงเทพมหานคร" ร่วมด้วยกระทรวงวัง ซึ่งต่อมาเป็น "สำนักพระราชวัง" ได้จัดตกแต่งพระบรมราชานุสาวรีย์ ตั้งราชวัติฉัตร 5 ชั้น พร้อมประดับโคมไฟ ทอดเครื่องราชสักการะที่หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานถวายแล้วเสด็จฯ ไปถวายพวงมาลา ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะที่พระบรมราชานุสาวรีย์ ซึ่งเป็นพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วันปิยมหาราช ครั้งแรก โดยเกิดขึ้นถัดจากปีที่ได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเหตุนี้เองทำให้คนที่เคารพนับถือ สมเด็จพระปิยมหาราช ต่างพากับไปถวายเครื่องสักการะ เพื่อขอพรให้ท่านคุ้มครอง ซึ่งนิยมไปกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้าของวันปิยะมหาราชหรือวันที่ 23 ตุลาคมของทุกๆปี
กิจกรรมใน วันปิยมหาราช
เพราะวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี วันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ พระองค์จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช" ซึ่งได้มีการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ได้ทรงมอบให้แก่ชาวไทย
พิธีวางพวงมาลา
ในตามสถาบันศึกษาหรือมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้จัดให้มีการใส่ชุดพิธีการไปสักการะและถวายบังคมพระบรมราชานุสรณ์รัชกาลที่ 5 ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีวงโยธวาทิตจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้นำวงโยธวาทิตของโรงเรียนอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีหน่วยราชการ พ่อค้า ประชาชน จากทั่วประเทศ ได้นำพวงมาลา หรือพุ่มดอกไม้ไปถวายสักการะ
ทำบุญตักบาตร
ในวัน ปิยะมหาราช แม้จะไม่ตรงกับวันพระ แต่เมื่อเป็นวันหยุดราชการ ทำให้ชาวไทยทุกคนได้มีโอกาสทำบุญ ตักบาตร เพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศล และเพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งตามหน่วยงานราชการต่างๆ อาจจะจัดให้มีพิธีสงฆ์หรือการทำบุญ เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมนี้
จัดนิทรรศการ
นอกจากนี้ ตามสถานศึกษา หรือหน่วยงานราชการ จะมีการจัดบอร์ด หรือจัดนิทรรศการวิชาการเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจและเผยแพร่เกี่ยวกับพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็นการประกาศเกียรติคุณให้ไพศาลสืบไป
เพราะพระองค์ได้ทรงทำประโยชน์และพระราชกรณียกิจมากมายให้กับประเทศสยามและปวงชนชาวไทย ทั้งยังนำเทคโนโลยี และการพัฒนาต่างๆ เช่นการไฟฟ้า การไปรษณีย์ โทรเลข และโทรศัพท์ ฯลฯ มาให้ประชาชนได้ใช้ เพื่อให้ความทันสมัยและก้าวทันต่างชาติ ซึ่งยังความเจริญให้กับประเทศชาติสืบต่อมา
แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมวันปิยะมหาราช
ในวันปิยมหาราช 23 ตุลาคม ของทุกปี หน่วยงานต่างๆ ทั้งราชการและภาคเอกชน นักเรียน นิสิตนักศึกษา รวมทั้งประชาชนจะมาวางพวงมาลาดอกไม้สักการะ และถวายบังคมที่พระบรมรูปทรงม้า เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งถือเป็นประเพณีและธรรมเนียมที่ทำสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้
กระตุ้นและปลูกฝัง
การสนับสนุนให้กับเยาวชนได้มีการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ด้วยการ ปลูกฝังและถ่ายทอดประวัติ และเรื่องราวต่างๆ ที่ รัชกาลที่ 5 ทรงได้พระราชทานให้แก่ปวงชนชาวไทย การให้เด็กๆ ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของวันสำคัญ จะช่วยปลุกจิตสำนึกของความเป็นไทย และเห็นความสำคัญของวันปิยะมหาราช ทำให้เด็กจดจำและจะทำอย่างต่อเนื่องหรืออาจจะทำตลอดไป
มีส่วนร่วมกิจกรรม
เพราะวัน ปิยะมหาราช จะมีพิธีการต่างๆ ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และมีการวางพวงมาลาดอกไม้สักการะ และถวายบังคม
ซึ่งแนวทางสนับสนุนการส่งเสริมกิจกรรมวันปิยะมหาราช ที่จะให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมก็คือ การจัดให้มีการไปร่วมในพิธี วางพวงมาลา และถวายบังคมยัง ลานพระรูปฯ ซึ่งเป็นสถานที่จริง และบอกเล่าเรื่องราว ว่าเหตุใดจะต้องมาทำพิธีที่นี่
สืบทอดสานต่อกิจกรรมวันปิยะมหาราชต่อไป
เพื่อให้เด็ก เยาวชน ประชาชนในชุมชน ได้ร่วมกันสืบสานและอนุรักษ์พิธีและกิจกรรมของวันปิยะมหาราชให้คงอยู่ต่อไปเกิดความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างหน่วยงาน ต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคประชาชน เกิดความจงรักภักดี และ ความสามัคคีระหว่างหน่วยงานและประชาชนในท้องถิ่นให้ยืนยาวต่อไป
การส่งเสริมกิจกรรมวันปิยะมหาราช ในวันที่ 23 ตุลาคมของทุกปี จัดขึ้นเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของรัชกาลที่ 5 ที่เหล่าข้าราชการ นักเรียน พ่อค้า และประชาชน เข้าร่วมกิจกรรม พร้อมทั้งเผยแพร่พระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็นการประกาศเกียรติคุณให้ไพศาลสืบต่อไป