วันออมสิน
หลายคนคงจะคุ้นหูกับคำว่า "ออมสิน" ซึ่งเป็นธนาคาร ที่อยู่คู่กับคนไทยมานาน รวมถึงการเก็บออมเงิน ซึ่งทำให้คนติดปากเรียก ออมสินมาทุกวันนี้ ซึ่ง หากพูดถึง ออมสิน ก็คงจะนึกถึงกระปุกออมสิน หรือกระปุกหมูตัวอ้วนๆ ที่มีรูกลางหลัง เอาไว้สำหรับหยอดเงินนั่นเอง
ความหมายของวันออมสิน
ออมสิน หมายถึงการออม การประหยัดทรัพย์ ส่วนวันออมสิน ก็คือวันที่ควรระลึกถึงการก่อตั้งธนาคารออมสิน เพื่อให้ชาวไทย ได้มีเงินฝาก หรือเงินออม นั่นเอง
วันออมสินของไทย
เพื่อเป็นการระลึกถึงการก่อกำเนิดขึ้นของธนาคารออมสินในวันที่1 เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็น "วันออมสิน" ทางธนาคารออมสินได้มีการจัดกิจกรรมเป็นประจำทุกปี เพื่อส่งเสริมให้เกิดการรักนิสัยการออมเงินสำหรับเด็ก เยาวชนและประชาชนโดยทั่วไป โดยธนาคารออมสินทั่วประเทศได้จัดให้มีการรับฝากเงิน โดยผู้ที่ฝากเงิน จะได้รับการแจกของขวัญเป็นประจำทุกปี
ในแง่ของแนวคิดและรูปแบบการจัดการ และการจัดวางประวัติของธนาคารออมสินให้สัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลงของสังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมืองของไทยตั้งแต่เมื่อแรกเรื่อยมา จะช่วยเติมเต็มความรู้ทั้งที่เกี่ยวกับสังคมไทยและความเป็นไปของธนาคารออมสินในแต่ละช่วงเวลา ซึ่ง วันที่1 เมษายน พ.ศ.2456 อันเป็นวันแรกของปีตามปฏิทิน ใช้กันอยู่ในเวลา น เป็นวันที่พระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พุทธศักราช 2456 มีผลบังคับใช้ นับแต่วันนั้นมาธนาคารออมสินก็มีพัฒนาการมาในสังคมไทยอย่างยาวนาน
ความเป็นธนาคารที่ส่งเสริมการออม โดย เฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กและเยาวชน ซึ่งจะโยงไปได้ถึงความเป็นสถาบันที่ส่งเสริมการออมในหมู่เด็กและเยาวชน หรืออาจเรียกได้ว่าเป็น ธนาคารเด็ก นั่นคือเมื่อนึกถึงธนาคารออมสิน ก็นึกถึงเด็กไปโดยปริบรรยาย อาจเพราะอย่างนี้เอง ที่สื่อมวลชนบางแขนงจึงเรียกเงินฝากในธนาคารออมสินว่าเงินเด็ก
วันที่ใช้จัดงานวันออมสิน
วันที่ 1 เมษายน ของทุกปี ซึ่งเป็น "วันออมสิน"
ปฏิทินวันออมสิน
วันออมสิน พ.ศ.2558 ตรงกับ วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ.2558 / วันพุธ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีมะแม
วันออมสิน พ.ศ.2559 ตรงกับ วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ.2559 / วันศุกร์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีมะแม
วันออมสิน พ.ศ.2560 ตรงกับ วันเสาร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ.2560 / วันเสาร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีระกา
วันออมสิน พ.ศ.2561 ตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน พ.ศ.2561 / วันอาทิตย์ แรม ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีจอ
วันออมสิน พ.ศ.2562 ตรงกับ วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ.2562 / วันจันทร์ แรม ๑๒ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีจอ
วันออมสิน พ.ศ.2563 ตรงกับ วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ.2563 / วันพุธ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีชวด
วันออมสิน พ.ศ.2564 ตรงกับ วันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน พ.ศ.2564 / วันพฤหัสบดี แรม ๔ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีฉลู
วันออมสิน พ.ศ.2565 ตรงกับ วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ.2565 / วันศุกร์ แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีฉลู
วันออมสิน พ.ศ.2566 ตรงกับ วันเสาร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ.2566 / วันเสาร์ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีเถาะ
วันออมสิน พ.ศ.2567 ตรงกับ วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ.2567 / วันจันทร์ แรม ๘ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีเถาะ
วันออมสิน พ.ศ.2568 ตรงกับ วันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ.2568 / วันอังคาร ขึ้น ๔ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีมะเส็ง
ประวัติวันออมสิน
ในปี พ.ศ.2450 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงศึกษาและสำรวจนิสัยคนไทยในการออมเบื้องต้น พระองค์ทรงเข้าใจในราษฎรของพระองค์และทรงทราบดีว่าควรใช้เหตุผลใดที่จะจูงใจคนไทยให้มองเห็นความสำคัญของการออมและเมื่อพระองค์ทรงเห็นคุณประโยชน์ของการออมทรัพย์ ธนาคารออมสิน จึงกำเนิดขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2456 ตามพระราชประสงค์ของพระองค์ เพื่อให้ประชาชนรู้จักการประหยัด การเก็บออมมีสถานที่เก็บรักษาทรัพย์สินเงินทอง และปกป้องจากโจรผู้ร้าย จึงทรงริเริ่มจัดตั้งคลังออมสินทดลองขึ้น โดยทรงพระราชทานนามแบงค์ว่า "ลีฟอเทีย"
พระราชบัญญัติคลังออมสิน พ.ศ.2456 ถูกประกาศใช้ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2456 ซึ่งพระองค์ ทรงจัดตั้ง "คลังออมสิน" ขึ้นในสังกัด กรมพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และพระราชทานพระบรมราชานุญาติประกาศใช้มาจนถึงทุกวันนี้
นับได้ว่ากิจการคลังออมสินในช่วงระยะนี้เติบโตขึ้นมาก จึงเรียกได้ว่าเป็น "ยุคแห่งความก้าวหน้าของการคลังออมสินแห่งประเทศไทย เพราะในปี พ.ศ.2472 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงมีพระราชดำริจะขยายกิจการคลังออมสินให้กว้างขวางขึ้น จึงโอนกิจการคลังออมสิน จากกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ไปสังกัดกรมไปรษณีย์โทรเลข กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม มีสถานะเป็นแผนกคลังออมสินในกองบัญชี เป็นผลให้กิจการได้เริ่มแพร่หลาย และเป็นที่นิยมของประชาชนอย่างกว้างขวาง
ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2490 ได้เปลี่ยนจาก "คลังออมสิน" เป็น "ธนาคารออมสิน" เพราะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง รัฐบาลได้เห็นถึงประโยชน์ในการออมทรัพย์และความสำคัญของคลังออมสินต่อการพัฒนาประเทศ จึงได้ยกฐานะคลังออมสินเป็นองค์การของรัฐ มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีการบริหารงานโดยอิสระ ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการ ที่แต่งตั้งจาก รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง และดำเนินธุรกิจในรูปแบบธนาคาร
กิจกรรมวันออมสิน
ทุกวันที่ 1 เมษายนของทุกปี ธนาคารออมสิน จะจัดกิจกรรมเพื่อเป็นการสร้างนิสัยรักการออมเงินสำหรับเด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป เพื่อให้ทุกคนรู้จักการออม และการประหยัดเงิน ซึ่งถือเป็นการดีต่อเด็กๆ และประชาชนทั่วไป และคนที่กำลังจะเริ่มเก็บเงินออม
จัดรับฝากเงิน
ในวันออมสิน ทางธนาคารออมสิน แต่ละสาขา อาจจะมีกิจกรรมต่างๆ ที่อาจจะไปรวมคัวกันตามศูนย์ใหญ่ๆ ของแต่ละเขต เพื่อให้ประชาขนได้มีส่วนร่วม ในการทำกิจกรรม รวมไปถึงธนาคารออมสินทั่วประเทศได้มีการจัดรับฝากเงิน และเตรียมของขวัญแจกให้กับลูกค้าที่มาฝากเงินในวันนี้อีกด้วย
แจกของขวัญ
นอกจากจะรับจัดการเรื่องฝากเงิน หรือเปิดบัญชีแล้ว วันออมสิน ทางธนาคารออมสิน ได้เตรียมกระปุกออมสินไว้แจกลูกค้าที่มาฝากเงินตั้งแต่ 200 บาทขึ้นไป ซึ่งจะทำให้ลูกค้ามารอฝากเงินอย่างคึกคัก
มอบเงินขวัญถุง
ในออมสิน ธนาคารออมสินยังได้มอบเงินเปิดบัญชี 500 บาท เป็นขวัญถุงให้แก่เด็กๆที่มีอายุไม่เกิน 7 ปี ที่มีวันเกิดตรงกับวันที่ 1 เมษายน ซึ่งมาฝากเงินอีกด้วย ส่วนกิจกรรมที่ธนาคารออมสิน เตรียมของขวัญไว้แจกลูกค้าในแต่ละปีนั้น จะมีด้วยกันหลักๆ 3ครั้งด้วยกันคือ กิจกรรมในวันเด็กแห่งชาติ , กิจกรรมในวันออมสิน 1 เมษายน , และกิจกรรมในวันออมแห่งชาติ 31 ตุลาคม ลูกค้าธนาคารออมสินสามารถติดตามร่วมกิจกรรมรับของขวัญในวันดังกล่าวได้ทุกปี
ข้อควรระวังในการทำกิจกรรมวันออมสิน
เพราะการรู้จักอดออม และการประหยัดเงิน จะทำให้เด็กๆ เยาวชน และประชาชนทั่วไป ได้รู้จักคุณค่าของเงิน การอดออม และการประหยัด แต่เมื่อรู้จักประหยัดทรัพย์กันแล้ว แต่ก็ยังมีสิ่งที่ควรระวังในเรื่องของการใช้เงินอีกด้วย
ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
เพราะเดี๋ยวนี้มีสิ่งยั่วยุมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ขนม ของเล่น ต่างๆ ที่มักจะออกมาเป็นตัวล่อให้เด็กๆ อยากจะลองซื้อหาไปใช้ ไปกินนั่นเอง ด้วยรูปแบบความน่าสนใจและนำเสนอ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ขนม หรือ ของเล่นนั่นเอง ซึ่งผู้ปกครองควรแนะนำเรื่องนี้อย่างละเอียด และให้เหตุผลเด็ก ถึงสาเหตุที่ไม่จำเป็นกับของพวกนี้
รู้จักประหยัดอดออม
บางคนได้เงินไปโรงเรียนเท่าไหร่ ก็มักจะใช้เงินหมดเท่านั้น แต่บางคน อาจจะใช้เท่าที่จำเป็น ทำให้มีเงินเหลือเก็บกลับมาบ้าน เพื่อหยอดกระปุก ซึ่งเมื่อทำเช่นนี้ทุกวัน จะทำให้มีเงินเก็บมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้สามารถนำไปเปิดบัญชีธนาคารได้
ฝากเงินไปแล้วพยายามไม่ถอน
การที่มีธนาคารโรงเรียน ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะทำให้นักเรียนได้รู้จักอดออม และเก็บเงิน เพราะเด็กบางคนมีเท่าไหร่ก็ใช้หมด เด็กบางคนอาจจะไม่มีโอกาสกลับไปหยอดกระปุกที่บ้าน การได้ฝากเงินที่ธนาคารโรงเรียนจึงถือเป็นการออมอย่างหนึ่ง และเมื่อฝากไปแล้ว พยายามอย่าถอนตังค์ จะได้มีเงินเก็บเยอะๆ
ก่อนจะซื้อคิดให้รอบคอบ
การที่จะตัดสินใจซื้อของอะไรนั้น ควรจะคิดให้รอบคอบก่อนว่า มีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน เพราะหากเผลอไปซื้อของไม่มีประโยชน์ อย่างทอฟฟี่มา นอกจากจะทำให้เสียเงินแล้ว ยังทำให้ฟันผุอีกด้วย
แนวทางการส่งเสริมวันออมสิน
ภาพการออมและเด็ก ของออมสินหรือธนาคารเด็กเป็นที่รู้จักในสังคมไทย เป็นเพราะที่ผ่านมา ธนาคารออมสินประสบความสำเร็จด้านการส่งเสริมการออมในเด็ก ประกอบกับธนาคารออมสินได้ดำเนินกิจกรรม ส่งเสริมการออมในหลายรูปแบบเพื่อสร้างแรงจูงใจให้เด็กรู้จักออมทรัพย์กับธนาคารออมสิน และมีการเพิ่มรูปแบบใหม่ซึ่งประสบผลสำเร็จวัดจากจำนวนผู้เปิดบัญชีใหม่ ส่วนใหญ่เป็นเด็กมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมากโดยรูปแบบสำคัญที่ธนาคารใช้ในการส่งเสริมการออมได้แก่
รับฝากเงินนอกสถานที่
ปัจจุบันมีบริการรับฝากเงินตามโรงเรียนโดยใช้ ตู้สะสมทุน คือ "ตั้งตู้เหล็กเพื่อให้กับเหรียญ หยอดซองใส่เงินในตู้นั้น" ซองที่ใส่เงินนั้นได้รับจากครู ที่หน้าซองเขียนชื่อ ลงลายมือชื่อ จำนวนที่ฝากและเลขที่บัญชี วัตถุประสงค์ ของการดำเนินการเช่นนั้นคือ "เพื่อฝึกหัดอบรมนิสัยกุลบุตรธิดาให้รู้จักการออมทรัพย์ และประโยชน์ ของการฝากเงินไว้กับคลังออมสิน" เช่นเดียวกับที่เคยมีความมุ่งหมายเช่นน้ันเมื่อแรกตั้งคลังออมสิน
ขายหรือแจกกระปุกออมสิน
ธนาคารออมสินก็มีกิจกรรมส่งเสริมการออมในหมู่เด็กและเยาวชน ด้วยการ จัดทำกระป๋องออมสินจำหน่ายในราคากระป๋องละ 1 บาท และแจกให้กับเด็กและเยาวชนสำหรับ ให้เด็กและเยาวชนเก็บออมทรัพย์แล้วนำมาฝากธนาคารออมสิน เป็นสิ่งที่ทำนอกจากจัดพนักงานออกไป รับฝากเงินตามโรงเรียน โดยที่ผ่านมาวันแรกจำหน่ายกระป๋องออมสิน คือ 11 พฤษภาคมพ.ศ.2478 และปัจจุบันธนาคารยังคงจัดทำกระปุกออมสินเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสสำคัญต่างๆ เช่นเคย
ธนาคารโรงเรียน
หลายโรงเรียนได้ทำการจัดโครงการธนาคารโรงเรียนขึ้น เป็นการจำลองการทำธุรกิจธนาคารมาไว้ในโรงเรียนโดยให้นักเรียนเป็นผู้ดำเนินการมีครู-อาจารย์ และพนักงานธนาคารออมสินเป็นที่ปรึกษาโดยธนาคารโรงเรียนจะให้บริการฝากเงินในบัญชีประเภทเผื่อเรียกเงินฝากขั้นต่ำ 1 บาทและให้บริการถอนเงินฝากด้วยผู้ฝากคือนักเรียนในโรงเรียนนั้นๆ
การอดออม และการประหยัด เพื่อเป็นแนวทางสู่การเรียนรู้สำหรับการรู้จักใช้เงินในอนาคต ซึ่งหากรู้จักประหยัดตั้งแต่เด็ก ก็จะถือว่าเป็นการฝึกนิสัยการออมได้ดี เมื่อโตขึ้นจะได้ไม่ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย เพรารู้จักค่าของเงิน ล้าจักเก็บเงินออมนั่นเอง