วันออกพรรษา
เนื่องจากเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาจำพรรษา 3 เดือนของพระสงฆ์เถรวาท วันออกพรรษา หรือ วันปวารณาออกพรรษา เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาวันหนึ่งในประเทศไทย โดยเป็นวันที่พระสงฆ์จะทำสังฆกรรมปวารณาออกพรรษา ออกพรรษาตามปกติ (ออกปุริมพรรษา)
ความหมายของวันออกพรรษา
วันออกพรรษา เข้าพรรษา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันมหาปวารณา" คือ วันที่สิ้นสุดระยะการจำพรรษาของพระเป็นเวลา 3 เดือน หรือพูดง่ายๆ ว่า วันสุดท้ายที่ต้องอยู่จำพรรษาในแต่ละปี และพระสงฆ์จะต้องอยู่ให้ครบอีกหนึ่งราตรีจึงจะครบถ้วนบริบูรณ์ ในวันออกพรรษานี้พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรมใหญ่ เรียกว่า มหาปวารณา ถือเป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันด้วยจิตที่เมตตา เพราะในช่วงระหว่างเข้าพรรษา พระสงฆ์บางรูปอาจมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข และยังเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยซึ่งกันและกันด้วย
วันเข้าพรรษาของประเทศไทย
ถือเป็นโอกาสอันดีที่พุทธศาสนิกชนจะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้งใจจำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันออกพรรษา และวันถัดจากวันออกพรรษา 1 วัน ก็ได้มีการทำบุญตักบาตรครั้งใหญ่ เรียกว่า ตักบาตรเทโว หรือ ตักบาตรเทโวโรหณะ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติ นอกจากนี้ ช่วงเวลาออกพรรษายังถือเป็นเวลากฐินกาลตามพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นช่วงเวลาที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยจะเข้าร่วมบำเพ็ญกุศลเนื่องในงานกฐินประจำปีในวัดต่าง ๆ ด้วย โดยถือว่าเป็นงานบำเพ็ญกุศลที่ได้บุญกุศลมาก
วันที่ใช้จัดกิจกรรมในวันออกพรรษา
วันที่ใช้จัดกิจกรรมในวันออกพรรษา จะตรงกับวันขึ้น๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑)หลังวันเข้าพรรษา 3 เดือน
ปฏิทินวันออกพรรษา
วันออกพรรษา พ.ศ.2558 ตรงกับ วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2558 / วันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีมะแม
วันออกพรรษา พ.ศ.2559 ตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2559 / วันอาทิตย์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีวอก
วันออกพรรษา พ.ศ.2560 ตรงกับ วันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2560 / วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีระกา
วันออกพรรษา พ.ศ.2561 ตรงกับ วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2561 / วันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีจอ
วันออกพรรษา พ.ศ.2563 ตรงกับ วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2563 / วันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีชวด
วันออกพรรษา พ.ศ.2564 ตรงกับ วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2564 / วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีฉลู
วันออกพรรษา พ.ศ.2565 ตรงกับ วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2565 / วันจันทร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีขาล
วันออกพรรษา พ.ศ.2566 ตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2566 / วันอาทิตย์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีเถาะ
วันออกพรรษา พ.ศ.2567 ตรงกับ วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.2567 / วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีมะโรง
วันออกพรรษา พ.ศ.2568 ตรงกับ วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ.2568 / วันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีมะเส็ง
ประวัติวันออกพรรษา
ในวันออกพรรษาในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่า เป็นวันที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มายังโลกมนุษย์ หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จไปจำพรรษา และแสดงพระธรรมเทศนาโปรดเทพบุตรพุทธมารดา ซึ่งอยู่สวรรค์ชั้นดุสิต แต่ลงมาฟังพระธรรมเทศนาที่ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งวันออกพรรษาตรงกับวันขึ้น๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑)ถือเป็นวันสิ้นสุดการจำพรรษา หรือออกจากพรรษาที่ได้อธิษฐานเข้าจำพรรษาตลอดระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งเป็นสำคัญวันหนึ่งของพระภิกษุสงฆ์
วันออกพรรษา หมายถึงวันที่พ้นจากข้อกำหนดทางพระวินัยที่ต้องอยู่ประจำที่หรือในวัดแห่งเดียวตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน กล่าวคือ เมื่อพระภิกษุได้อธิษฐานอยู่จำพรรษาในวันแรม ๑ ค่ำ เดือนแปด (๘) แล้วอยู่ประจำที่หรือวัดนั้นเรื่อยไป จนสิ้นสุดในวันขึ้น๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑)หลังจากวันออกพรรษาแล้วก็สามารถจาริกไปค้างแรมที่อื่นได้ และวันออกพรรษา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันปวารณา" คือวันที่พระสงฆ์ทำปวารณากรรม โดยเปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันด้วยเมตตาจิตได้ เมื่อได้เห็นได้ทั้งหรือสงสัยในพฤติกรรมของกันและกัน
วันออกพรรษาหรือวันพระพุทธเจ้าเปิดโลกในวัน แรม ๑ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑)ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ เรียก "วันเทโวโรหณะ" และ วันพระพุทธเจ้าเปิดโลก เพราะวันนั้นโลกทั้ง 3 คือ สวรรค์ มนุษย์ และ บาดาล (นรก) ต่างสามารถแลเห็นกันได้ตลอดทั้ง 3โลก
ชาวพุทธจึงยึดถือปรากฎการณ์นี้ ต่างมารอรับตักบาตรภัตตาหารกันอย่างเนืองแน่น เพราะเมื่อถึงวันปวารณาออกพรรษา ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑)นี้พระพุทธองค์เสด็จลงสู่โลกมนุษย์ทางบันไดทิพย์ ทั้ง 3 ได้แก่ บันไดเงิน และ บันไดทอง และ บันไดแก้ว ซึ่งสักเทวราช (พระอินทร์) ให้พระวิษณุกรรมเนรมิตทอดจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์สู่โลกมนุษย์ ที่ ประตูเมืองสังกัสนคร หลังจากเทศนาพระอภิธรรมปิฎกโปรดพระพุทธมารดาอยู่หนึ่งพรรษา (3 เดือน) ซึ่งก่อนหน้านั้น พุทธองค์ได้จำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ นับแต่ปีที่ตรัสรู้ ในพรรษาที่ 7
วันออกพรรษา เป็นวันสำคัญของพุทธศาสนา และหลังจากวันออกพรรษาพระสงฆ์ได้รับพระบรมพุทธานุญาตให้จาริกไปค้างแรมที่อื่นได้ เมื่อออกพรรษาแล้วพระสงฆ์จะได้นำความรู้จากหลักธรรมและประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างพรรษาไปเผยแผ่แก่ประชาชน ซึ่งในวันออกพรรษาพระสงฆ์ได้ทำปวารณา เปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือนเรื่องความประพฤติของตนเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ ความเคารพนับถือและความสามัคคีกัน ทำให้พุทธศาสนิกชนได้นำแบบอย่างไปทำปวารณาเปิดโอกาสให้ผู้อื่นว่ากล่าว ตักเตือนตนเองเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาตนและสร้างสรรค์สังคมต่อไป
กิจกรรมในวันออกพรรษา
เพราะเป็นประเพณีที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน ในวันออกพรรษา เหล่าพุทธศาสนิกชน ต่างพากันร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ส่วนพระภิกษุที่จำพรรษามาตลอดสามเดือน อาจจะมีบางรูปที่บวชต่อ เพราะติดใจในรสพระธรรม หรือ มีบางรูปที่สึกออกไป เพื่อประกอบอาชีพ หรือทำงานต่อ ส่วนกิจกรรมในครองครัวของพุทธศาสนิกชนนั้นก็มีแตกต่างกันไป
ทำความสะอาด
วันออกพรรษา แต่ละครอบครัวก็ช่วย ทำความสะอาดบ้าน ประดับธงธรรมจักร ทำความสะอาดบริเวณโรงเรียน ประดับธงชาติและธงธรรมจักร จัดแต่งโต๊ะหมู่บูชา สมาชิกในครอบครัว ปรึกษา หารือ หาแนวทางในการป้องกันการแก้ปัญหา โดยใช้หลักธรรม คือ ปวารณา ศึกษาเอกสารและสนทนาเกี่ยวกับความสำคัญของวันออกพรรษา รวมทั้งหลักธรรม การปวารณาและแนวทางปฏิบัติในครอบครัว และร่วมกันบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ปลูกต้นไม้ บริจาคโลหิต
เข้าวัด ทำบุญ
วันออกพรรษา นำครอบครัวไปบำเพ็ญกุศล ทำบุญตักบาตร บริจาคทาน ปฏิบัติธรรมที่วัด รักษาศีล ไหว้พระสวดมนต์ ฟังธรรมเจริญภาวนา ในกรณีที่เป็นวันหยุดเนื่องในวันออกพรรษา ครูพานักเรียนไปร่วมกิจกรรมกับชุมชนที่วัด บำเพ็ญกุศลทำบุญตักบาตร บริจาคทาน รักษาศีล ฟังธรรม สนทนาธรรม เจริญภาวนา ในกรณีที่เป็นวันหยุด และกิจกรรมอื่นที่เหมาะสม
จัดนิทรรศการ
ครูและนักเรียนร่วมกันศึกษาถึงความสำคัญของวันออกพรรษา รวมทั้งหลักธรรม เรื่องปวารณาและแนวทางปฏิบัติในสถานศึกษา และให้นักเรียนจัดทำป้ายนิเทศ หรือจัดนิทรรศการ ประกวดเรียงความ ทำสมุดภาพ ตอบปัญหาธรรม บรรยายธรรม อภิปรายธรรม หรือจัดทำรายงานเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ดีกับพฤติกรรมที่ไม่ดี และวางแผนพัฒนาพฤติกรรมไม่ดีให้น้อยลงและประกาศเกียรติคุณนักเรียนที่ประพฤติตัวเป็นแบบอย่างที่ดี ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความสำคัญของวันออกพรรษา รวมทั้งหลักธรรมเรื่อง ปวารณาและแนวทางปฏิบัติ และจัดให้มีการบรรยายธรรมและสนทนาธรรม
นอกจากนี้ยังมีประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ การเทศน์มหาชาติเทศน์มหาชาติ คือ เทศนาเวสสันดรชาดก เป็นบุญพิธีที่นิยมจัดให้มีกันมาแต่โบราณ ส่วนมากจัดให้มีในวัดเป็นหน้าที่ของชาวบ้านและวัดนั้น ๆ และประเพณีถวายผ้ากฐินทาน
งดเหล้าในระหว่างช่วงเข้าพรรษา
เป็นที่นิยมกันอย่างมาก สำหรับกิจกรรม งดเหล่าเข้าพรรษา ซึ่งถือเป็นการรณรงค์งดเหล้าตลอดเข้าพรรษา และยังเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนเริ่มลดละเลิก ซึ่งหลังจากออกพรรษาแล้วก็สามารถลด ละ เลิกต่อได้ ถือเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งคนที่อยากเลิกอย่างต่อเนื่องให้สำเร็จนั้น คือกลุ่มคนที่ดื่มเป็นประจำจนติด หลายคนที่ดื่มถึงขั้นติดไม่สามารถหยุดดื่มได้ง่ายๆ เพราะสารเคมีในสมองมีความผิดปกติไป เลิกดื่มแล้วมีอาการข้างเคียงตามมา หากสามารถงดการดื่มในช่วง 3 เดือนเข้าพรรษาได้ ถือว่าเป็นโอกาสที่จะลดการดื่มอย่างต่อเนื่องได้ มีเทคนิควิธีการเลิกดื่มเหล้าอย่างต่อเนื่องไปถึงช่วงออกพรรษา คือ
- ปรับสิ่งแวดล้อมในช่วงแรกๆ ควรปรับสิ่งแวดล้อม ที่ดี และไม่ควรอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดความอยากดื่ม คือไม่พยายามไปหาเพื่อนฝูงที่มีการตั้งวงดื่มเหล้าประจำ เพราะจะทำให้อดใจไม่ได้
- ปรับร่างกายการพักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และออกกำลังกาย ถือเป็นการปรับร่างกาย และเป็นการฟื้นฟูร่างกายได้เป็นอย่างดี เพราะการดื่มเหล้าอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานจะส่งผลต่อสุขภาพได้
- ปรับสภาพจิตใจ บอกให้คนรอบข้างทราบว่าคุณกำลังเลิกดื่ม เพื่อช่วยกันให้กำลังใจด้วยการฝึกจิตใจให้มีความเข้มแข็ง สามารถทำได้ทั้งขอกำลังใจจากครอบครัว คนรัก โดยเฉพาะเมื่อเกิดปัญหาชีวิตหรือปัญหาที่กระทบต่อจิตใจ คนที่เคยดื่มจะมีโอกาสกลับไปดื่มซ้ำ จึงต้องหาคนที่คอยเตือนและให้กำลังใจ หรือ เป็นที่ปรึกษา
- หาแรงจูงใจตั้งเป้าหมายในการเก็บเงิน และหาแรงจูงใจในการเลิกดื่ม การนำค่าใช้จ่ายระหว่างดื่ม และไม่ดื่ม มาเปรียบเทียบกันเพื่อให้เห็นความสิ้นเปลือง สามารถปรึกษาสายด่วนศูนย์ปรึกษาปัญหาสุรา 1413 เพื่อขอความช่วยเหลือในการเลิกดื่มได้อีกทางด้วย สำหรับคนที่ต้องการเลิกดื่มหากไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร
แนวทางการส่งเสริม กิจกรรมวันออกพรรษา
เพื่อให้พุทธศาสนิกชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของวันออกพรรษารวมทั้งหลักธรรม เรื่อง ปวารณาและแนวทางปฏิบัติ การส่งเสริมกิจกรรมวันออกพรรษา จึงเป็นส่วนหนึ่ง ที่จะทำให้พุทธศาสนิกชน ได้ยึดถือประเพณีนี้สืบต่อกันมา เช่น
ให้มีแนวคิด
เพื่อให้พุทธศาสนิกชนสามารถเลือกสรรหลักธรรม คือปวารณา ไปใช้ในการดำเนินชีวิตเพื่อพัฒนาตนและสังคม และมีทักษะในการคิดและการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องในวันออกพรรษา และเกิดเจตคติที่ดีต่อวันออกพรรษา และเห็นคุณค่าของการดำเนินชีวิตตามหลักธรรมคือ ปวารณา
ให้เกิดความศรัทธา
อาจเชิญชวนให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมกิจกรรม ปฏิบัติธรรม เพื่อให้พุทธศาสนิกชนเกิดศรัทธา ซาบซึ้งและตระหนักถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนา และเพื่อให้ปฏิบัติตนตามหน้าที่ของพุทธศาสนิกชนได้อย่างถูกต้องรวมถึงเข้าร่วมพิธีกรรมศาสนา เช่น ทำบุญตักบาตร ฟังธรรม รักษาศีล สวดมนต์
แจกเอกสาร
อาจมีการรณรงค์ทางสื่อมวลชนต่างๆ ให้ลด ละ เลิก อบายมุข และให้งดจำหน่ายสิ่งเสพติดทุกชนิด และจัดพิมพ์เอกสารเกี่ยวกับความสำคัญของวันออกพรรษารวมทั้งหลักธรรมเรื่อง ปวารณา และแนวทางปฏิบัติเพื่อเผยแผ่ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น และตามสถานที่ชุมชน เช่น สนามบิน สถานีรถไฟ สถานีขนส่ง โรงธรรม ศูนย์การค้า รวมทั้งบนยานพาหนะต่างๆ
เพื่อสังคมที่ดี
การรณรงค์ให้มีการรักษาสภาพแวดล้อม ปลูกต้นไม้ ทำความสะอาดที่สาธารณะ มีการประกาศเกียรติคุณสถาบันหรือบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อสังคม รวมถึงจัดประกวด สวดสรภัญญะ บรรยายธรรม คำขวัญ บทร้อยกรอง บทความเกี่ยวกับวันออกพรรษา และกิจกรรมอื่นที่เหมาะสม