วันศิลปินแห่งชาติ
ประเทศไทย กำหนดให้มี วันศิลปินแห่งชาติ และจัดให้มีการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ"ศิลปินแห่งชาติ"เป็นประจำทุกๆปี ด้วยคำว่าศิลปะชั้นเลิศ ที่มักจะถูกถ่ายทอดออกมาจากความรู้สึกนึกคิด และความสามารถของผู้ที่เป็น"ศิลปินเอก"ชั้นบรมครู โดยในปัจจุบันมี ศิลปินสาขาต่าง ๆ มากมาย ที่มีการสร้างผลงานอันน่าประทับใจ และเป็นประโยชน์ต่อสังคม
ความหมายของวันศิลปินแห่งชาติ
ศิลปินแห่งชาติ หมายถึง ผู้ได้รับการยกย่องเชิดชู เกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นศิลปินที่ได้อุตสาหะอุทิศตนสร้างสรรค์ผลงานในด้านศิลปะ ไว้มากมายจนเป็นมรดกอันล้ำค่าทางวัฒนธรรมของชาติทั้งในสาขาวรรณศิลป์ ทัศนศิลป์ และศิลปะการแสดง เป็นการแสดงถึงความเป็นปราชญ์ในทางความรู้ความสามารถ ซึ่งพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศิลปินแห่งชาติ เข้ารับพระราชทานเข็มเพื่อความเป็นสิริมงคลยิ่งแก่ตนเองและวงศ์ตระกูล
วันศิลปินแห่งชาติของประเทศไทย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระอัจฉริยภาพในงานศิลปะหลายสาขา ทั้งทางด้านประติมากรรม และได้ทรงร่วมกับช่างประติมากรรมฝีมือเยี่ยมในสมัยนั้นแกะสลักบานประตูไม้พระวิหาร วัดสุทัศน์เทพวรารามเป็นลายเครือเถารูปป่าหิมพานต์ ซึ่งถือเป็นงานฝีมือชั้นเยี่ยม และเพื่อระลึกถึงวันคล้ายพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เอกอัครศิลปินที่ยิ่งใหญ่ (วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2310) จึงได้ถือเอาวันที่ 24 กุมภาพันธ์ เป็นวันศิลปินแห่งชาติ
วันศิลปินแห่ชาติของต่างประเทศ
ในต่างประเทศต่างมีศิลปินที่เก่งมากมาย หลายด้าน แม้อาจจะไม่มีการกำหนดขึ้นเป็นวันศิลปินแห่งชาติขึ้นมา แต่ก็มักจะมีการยกย่อง และเชิดชูเกียรติ บวกกับการนำชื่อของศิลปินที่มีชื่อเสียง เผยแพร่ไว้ให้คนรุ่นหลังได้รู้จัก ซึ่งอาจจะมีแทรกในบทเรียน หรือ ทำเป็นพิพิธภัณฑ์ เพื่อแสดงผลงานที่ได้รับรางวัล หรือที่สร้างชื่อเสียงนั่นเอง
วันที่ใช้จัดกิจกรรมวันศิลปินแห่งชาติ
วันที่ใช้จัดกิจกรรมวันศิลปินแห่งชาติ คือวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปี
ปฏิทินวันศิลปินแห่งชาติ
วันศิลปินแห่งชาติ พ.ศ.2559 ตรงกับ วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 / วันพุธ แรม ๒ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีมะแม
วันศิลปินแห่งชาติ พ.ศ.2560 ตรงกับ วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 / วันศุกร์ แรม ๑๓ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีวอก
วันศิลปินแห่งชาติ พ.ศ.2561 ตรงกับ วันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 / วันเสาร์ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีระกา
วันศิลปินแห่งชาติ พ.ศ.2562 ตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562 / วันอาทิตย์ แรม ๕ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีจอ
วันศิลปินแห่งชาติ พ.ศ.2563 ตรงกับ วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 / วันจันทร์ ขึ้น ๒ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีกุน
วันศิลปินแห่งชาติ พ.ศ.2564 ตรงกับ วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 / วันพุธ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีชวด
วันศิลปินแห่งชาติ พ.ศ.2565 ตรงกับ วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2565 / วันพฤหัสบดี แรม ๘ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีฉลู
วันศิลปินแห่งชาติ พ.ศ.2566 ตรงกับ วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566 / วันศุกร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีขาล
วันศิลปินแห่งชาติ พ.ศ.2567 ตรงกับ วันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 / วันเสาร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีเถาะ
วันศิลปินแห่งชาติ พ.ศ.2568 ตรงกับ วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2568 / วันจันทร์ แรม ๑๒ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีมะโรง
วันศิลปินแห่งชาติ พ.ศ.2569 ตรงกับ วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2569 / วันอังคาร ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีมะเส็ง
ประวัติวันศิลปินแห่งชาติ
พ.ศ.2528 คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติ ประกาศให้ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น "วันศิลปินแห่งชาติ" เนื่องจากตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ผู้ทรงเป็นพระปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยทรงพระปรีชาสามารถในศิลปกรรมด้านต่าง ๆ หลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นด้านกวีนิพนธ์ ด้านด้านดนตรี และประติมากรรม และเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ จึงถือเอาวันพระราชสมภพวันที่ 24 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็น"วันศิลปินแห่งชาติ"
ได้มีการสรรหาส่งเสริมสนับสนุน จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เป็นผู้พิจารณา ซึ่งได้จัดทำโครงการศิลปินแห่งชาติ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2527 โดยมีการช่วยเหลือศิลปินผู้สร้างสรรค์ ผลงาน ศิลปะล้ำค่า อันทรงคุณค่าของแผ่นดิน ยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ
ซึ่ง มีศิลปินสาขาต่าง ๆ ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นศิลปินแห่งชาติแล้วที่ปัจจุบัน ยังมีชีวิตอยู่ และเสียชีวิตไปแล้ว สำหรับผู้ที่ ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ จะได้รับเงินตอบแทน เดือนละ 20,000 บาท และสามารถเบิกเงินสวัสดิการเพื่อการรักษาพยาบาลได้ตามระเบียบราชการ มีค่าช่วยเหลือเมื่อประสบสาธารณภัย และหากเสียชีวิต จะมีส่วนที่เป็นค่าช่วยเหลืองานศพ และ ค่าจัดทำหนังสือที่ระลึกให้ด้วย
ศิลปินแห่งชาติ สามารถถ่ายทอดภูมิปัญญาของบรรพบุรุษในอดีต ให้มีความรุ่งโรจน์สืบไปยังอนาคตข้างหน้า เป็นทรัพยากรบุคคลสำคัญทางด้านศิลปะ ที่ได้สืบสานงานศิลปะของชาติให้เชื่อมโยงจากอดีตมาสู่ปัจจุบัน ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มโครงการ ศิลปินแห่งชาติ มาเมื่อปี พ.ศ.2527 และประกาศผลการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติในปีแรกเมื่อ พ.ศ.2528 จนถึงปัจจุบัน
ทางราชการยังจัดงานนิทรรศการเกี่ยวกับศิลปินแห่งชาติและศิลปะพื้นบ้านขึ้นทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในจังหวัดที่มีศิลปินแห่งชาติสังกัดอยู่
คุณสมบัติของศิลปินแห่งชาติ
การมีวันศิลปินแห่งชาตินั้น ชาวต่างชาติยกย่องและยอมรับว่าประเทศไทยมีอารยธรรมสูงส่ง มีวัฒนธรรมอันดีงาม และมีศิลปินแห่งชาติที่มีคุณค่า จึงจัดโครงการศิลปินแห่งชาติขึ้น ซึ่งผู้ที่จะเป็นศิลปินแห่งชาติได้นั้น จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
เป็นผู้มีสัญชาติไทยและยังมีชีวิตอยู่ในวันตัดสิน
เพราะถือเป็นการอนุรักษณ์และสืบสานความเป็นศิลปะไทยๆ และผลงานอันน่ายกย่อง การที่จะมอบให้ใครเป็นศิลปินแห่งชาติได้นั้น จะต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย และยังมีลมหายใจในวันที่ตัดสิน
เป็นผู้ที่มีความสามารถ
ศิลปินแห่งชาติจะต้องเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญ และความสามารถ รวมถึงมีผลงานดีเด่น เป็นที่ยอมรับของวงการศิลปินแขนงนั้นรวมถึงเป็นผู้สร้างสรรค์และพัฒนาศิลปะแขนงนั้นจนถึงปัจจุบัน
เป็นผู้ถ่ายทอดศิลปะแขนงนั้น
ศิลปินแห่งชาติจะต้องเป็นผู้ผดุงและถ่ายทอดศิลปะแขนงนั้นให้สืบต่อไปและยังคงเป็นผู้ปฏิบัติงานศิลปะแขนงนั้นอยู่ในปัจจุบัน
เป็นผู้มีคุณธรรม
ศิลปินแห่งชาติ จะต้องมีความรักในวิชาชีพของตน เป็นผู้มีคุณธรรม และเป็นผู้มีผลงานที่ยังประโยชน์ต่อสังคมและมนุษยชาติ ทั้งก่อนและหลังได้รับรางวัลการประกาศเกียรติคุณ
การจัดงานวันศิลปินแห่งชาติ
การจัดงานวันศิลปินแห่งชาตินั้น มีวัตถุประสงค์ที่ว่า ต้องยกย่อง เชิดชู สนับสนุน ส่งเสริม รวมถึงช่วยเหลือศิลปินผู้สร้างสรรค์งานศิลปะอันทรงคุณค่า โดยได้กำหนดรางวัลรวมถึงคุณสมบัติต่าง ๆ ของศิลปินแห่งชาติไว้ดังนี้ ศิลปินแห่งชาติได้กำหนดไว้ 3 สาขา ได้แก่
1. สาขาทิศนศิลป์ (Visual Art) หมายถึง ศิลปะที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา ไม่ว่าจะเป็นแบบสองมิติ หรือสามมิติก็ได้
2. สาขาศิลปะการแสดง (Performing Art) หมายถึง ศิลปะที่ใช้การแสดงทั้งทางด้านวิจิตรศิลป์ และประยุกต์ศิลป์ ได้แก่ การแสดง ดนตรี และการแสดงพื้นบ้าน
3. สาขาวรรณศิลป์ (Literature) หมายถึง ศิลปะที่เกี่ยวกับงานประพันธ์ต่าง ๆ ได้แก่ กวีนิพนธ์ บทละคร เรื่องสั้น และนวนิยาย
กิจกรรมในวันศิลปินแห่งชาติ
ซึ่งทางคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติได้คัดเลือกผู้ที่มีผลงานศิลปะชั้นเยี่ยมตามเกณฑ์การพิจารณาของโครงการศิลปินแห่งชาติ เพื่อประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ โดยดำเนินการ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ของทุกปีซึ่งเป็นวันศิลปินแห่งชาติ และเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงและแสดงถึงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของรัชกาลที่ 2
การประกาศและมอบผลงาน
แต่ละปีจะมีการประกาศรายชื่อศิลปินแห่งชาติ ซึ่งเป็นศิลปินที่ได้อุตสาหะอุทิศตนสร้างสรรค์ผลงานในด้านศิลปะ ไว้มากมายจนเป็นมรดกอันล้ำค่าทางวัฒนธรรมของชาติทั้งในสาขาวรรณศิลป์ ทัศนศิลป์ และศิลปะการแสดง และประกาศมอบผลงานศิลปะเป็นสมบัติของชาติ
จัดนิทรรศการ
การจัดนิทรรศการ ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนินหรือที่ศูนย์วัฒนธรรม หรือตามส่วนราชการ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบถึง ประวัติและผลงานของศิลปินแห่งชาติ รวมถึงการจัดนิทรรศการ ที่เกี่ยวกับพระราชประวัติและผลงาน คุณค่างานศิลปะของ รัชการที่ 2 และของไทย ในอดีตอันเป็นศิลปะอันล้ำค่าของประเทศ และคู่ควรแก่การได้รางวัล ศิงปินแห่งชาตินี้
จัดการแข่งขัน
นอกจากนี้ยังจัดให้มีการจัดการประกวดแข่งขัน เกี่ยวกับกับด้านภาษา กิจกรรมการแข่งด้านศิลปะ แขนงต่างๆ ซึ่งเกี่ยวกับการแสดง การวาด และงานฝีมือ อันส่งผลให้เห็นถึงการปลูกฝังให้เยาวชนรักในงานศิลปะ ซึ่งอาจจะทำให้กลายเป็นศิลปินในอนาคต
แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมวันศิลปินแห่งชาติ
บุคคลผู้สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะด้วยความอุตสาหะ และมีผลงานปรากฏต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่องและยาวนาน แล้วยกย่องเกียรติคุณให้เป็นศิลปินแห่งชาติ ซึ่งเหตุผลที่มีมีวันศิลปินแห่งชาตินั้น เนื่องจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติต้องการให้ต่างชาติยกย่องว่าประเทศไทยมีอารยธรรมสูงส่ง จึงจัดโครงการศิลปินแห่งชาติขึ้น เพื่อจัดทำเนียบศิลปินทุกแขนงทั่วประเทศ โดยมีแนวทางสนับสนุนและส่งเสริมศิลปินแห่งชาติขึ้นในทุกๆปี
ค่าตอบแทน และการเบิกค่ารักษา
ค่าตอบแทนสำหรับผู้ที่ได้เป็นศิลปินแห่งชาติ ได้รับรายเดือนๆละ 20,000 บาท ตลอดระยะเวลาที่มีชีวิตอยู่ และยามที่เจ็บป่วย ศิลปินแห่งชาติสามารถ เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามระเบียบกองทุนส่งเสริมงามวัฒนธรรม แต่ไม่เกินจำนวนเงินหนึ่งแสนบาทต่อปี รวมถึงค่าของเยี่ยมในยามเจ็บป่วยหรือในโอกาสสำคัญเท่าที่จ่ายจริง รายละไม่เกินสามพันบาทถ้วนต่อครั้ง
ช่วยเหลือเรื่องภัยธรรมชาติ
ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม ไฟไหม้ ศิลปินแห่งชาติจะได้รับเงินช่วยเหลือประสบสาธารณภัยเท่าที่เสียหายจริง รายละไม่เกินห้าหมื่นบาทต่อครั้ง
ช่วยเหลือจนวันสุดท้าย
วันที่ศิลปินแห่งชาติเสียชีวิตจะได้รับ เงินช่วยเหลือ เพื่อร่วมบำเพ็ญกุศลศพ รายละสองหมื่นบาท รวมถึงค่าเครื่องเคารพศพตามประเพณีที่เหมาะสมเท่าที่จ่ายจริง รายละไม่เกินสามพันบาท และเงินช่วยเหลือค่าจัดทำหนังสือเผยแพร่ผลงานเมื่อเสียชีวิต เท่าที่จ่ายจริง รายละไม่เกินหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท
นอกจากนี้ ยังมีการจัดทำโครงการศิลปินแห่งชาติ ได้มีการกำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดทำโครงการเพื่เป็นอนุสรณ์และที่ระลึก ของศิลปินแห่งชาติ โดยการจัดทำทำเนียบศิลปินทุกแขนงทั่วประเทศ การสรรหาศิลปินเพื่อประกาศยกย่องเกียรติคุณขึ้นเป็นศิลปินแห่งชาติ มีการจัดตั้งกองทุน (มูลนิธิ) สวัสดิการเพื่อศิลปิน รวมถึง สนับสนุนให้ศิลปินได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานและการร่วมกันอนุรักษ์และส่งเสริมให้มีการสืบทอดความรู้ ความสามารถของศิลปินสืบต่อไป