ปฏิทินพฤษภาคม พ.ศ.2386 / May 1843

พ.ศ./ค.ศ.
เนื่องจากการหาฤกษ์มงคลในการสำคัญมีกฎเกณฑ์วิธี มีข้ออนุโลมข้อยกเว้น ข้อพิจารณาอีกมากมาย บางฤกษ์ใช้การหนึ่งได้แต่ใช้กับอีกการหนึ่งไม่ได้ บางฤกษ์อาจต้องผูกรวมชะตาผู้ใช้ฤกษ์รวมกัน ดังนั้นฤกษ์ในการสำคัญท่านควรปรึกษา และให้ฤกษ์โดยโหรจารย์ผู้เชี่ยวชาญในการให้ฤกษ์ ทั้งนี้รายละเอียดฤกษ์ด้านล่าง แสดงเป็นเบื้องต้นเท่านั้น  ...  รายละเอียดฤกษ์
แนะนำ บริการให้ฤกษ์บุคคลตามหลักโหราศาสตร์ขั้นสูง ฤกษ์แต่งงาน ออกรถ ผ่าคลอด ลาสิกขา ยกเสาเอก เปิดร้าน บ้านใหม่ ฯลฯ ... รายละเอียด
เดือนจันทรคติไทย : เดือนอ้าย(๑) , เดือนยี่(๒) , เดือนสาม(๓), เดือนสี่(๔) , เดือนห้า(๕) , เดือนหก(๖) , เดือนเจ็ด(๗) , เดือนแปด(๘) , เดือนแปดหลัง(๘๘) , เดือนเก้า(๙) , เดือนสิบ(๑๐) , เดือนสิบเอ็ด(๑๑) , เดือนสิบสอง(๑๒) และในปีอธิกมาส มีเดือนแปดหลัง(๘๘) , ปกติมาส ปกติวาร : เป็นปีปกติ เดือนคู่ (๒, ๔, ๖, ๘, ๘๘, ๑๐, ๑๒) มีข้างขึ้นและข้างแรม 15 วัน เดือนคี่ (๑, ๓, ๕, ๗, ๙, ๑๑) มีข้างขึ้น 15 วัน ส่วนข้างแรมมี 14 วัน (รอบปีจันทรคติรวม 354 วัน), ปกติมาส อธิกวาร : เป็นปีปกติ แต่เดือนเจ็ด(๗) มีข้างแรม 15 วัน (รอบปีจันทรคติรวม 355 วัน) , อธิกมาส ปกติวาร : เป็นปีปกติ แต่เพิ่มเดือนแปดสองหน(๘๘) เพิ่มวัน 30 วัน (รอบปีจันทรคติรวม 384 วัน) , ปกติสุรทิน รอบปีปฏิทินสุริยคติ 1 ปี มี 365 วัน (เดือนกุมภาพันธ์มี 28 วัน) , อธิกสุรทิน รอบปีปฏิทินสุริยคติ 1 ปี มี 366 วัน (เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน) , วันพระ : ขึ้น ๘ ค่ำ , ขึ้น ๑๕ ค่ำ (วันเพ็ญ) , แรม ๘ ค่ำ , แรม ๑๕ ค่ำ หากเดือนใดเป็นเดือนขาดหรือเดือนคี่ (๑, ๓, ๕, ๗, ๙, ๑๑) ให้ถือเอาแรม ๑๔ ค่ำ เป็นวันพระ , รอบวันทางจันทรคติไทย นับตามเวลาดวงอาทิตย์ขึ้นจริง หรือประมาณ เวลา 06:00น. ถึง 05:59น. (วันรุ่งขึ้น)

ฤกษ์ล่าง: ฤกษ์ล่าง ทั้งหมด พฤษภาคม พ.ศ.2386 ดิถีมหาโชค ดิถีไม่ดี ดิถีมหาสูญ ดิถีอายกรรมพลาย ดิถีพิฆาต กระทิงวัน วันทรทึก วันลอยฟูจม ดิถีเรียงหมอน อัคนิโรธ
อ่าน ใช้งาน แล้ว เขียนรีวิว และคลิก Like , Share ให้ด้วยนะครับ :)   N/A จาก N/A รีวิว
หมายเหตุ ปฏิทินจันทรคติไทย พฤษภาคม พ.ศ.2386/ค.ศ.1843
ปฏิทินในปัจจุบันนำเสนอผ่านสื่อหลายรูปแบบ ทั้งสื่อพิมพ์ด้วยกระดาษแบบดั้งเดิม หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบใหม่ เช่น นาฬิกา โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปฏิทินสุริยคติแบบกริกอเรียน การใช้งานก็คุ้นเคยกันดี อาจมีปีศักราช พ.ศ. และ ค.ศ. ที่ใช้ต่างกันเท่านั้น , เรื่องปฏิทินจันทรคติไทยนี้หากย้อนไป 100 กว่าปี ก่อนปี พ.ศ.2456 ประเทศไทยยังใช้ปฏิทินจันทรคติเป็นหลัก ชื่อเดือน มกราคม-ธันวาคม ยังไม่มีใช้ ผู้คนยุคนั้นรู้จักปฏิทินวันแรมค่ำ เดือนอ้ายยี่ ปีชวด ฉลูฯ หรือจดจำวันเดือนปีตามปฏิทินจันทรคติเท่านั้น

หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงเริ่มใช้วันเดือนปีสุริยคติตามสากล ปฏิทินจันทรคติไทยก็ลดบทบาทลงจนเกือบหายไป แต่ยังคงมีใช้เฉพาะกลุ่ม เช่น ทางศาสนา วัฒนธรรม พิธีกรรม โหราศาสตร์ ส่วนอื่น ๆ หรือทางราชการ ใช้ปฏิทินสุริยคติแบบสากลเกือบทั้งหมด ปฏิทินจันทรคติไทยแตกต่างจากปฏิทินสุริยคติ มีกฎเกณฑ์เงื่อนไขเฉพาะ ในการใช้งานก็ควรเข้าใจกฏเกณฑ์เบื้องต้นก่อน

หมายเหตุปฏิทินจันทรคติไทยนี้ ได้สรุป แนะนำการใช้งาน รูปแบบ กฎเกณฑ์ และข้อกำหนดเบื้องต้นของปฏิทินฯ ที่ควรทราบ เป็นข้อ ๆ ดังนี้

[1] ปีนักษัตร ปฏิทินชุดนี้เปลี่ยนปีนักษัตร (ชวด, ฉลู ... กุน) ตามคติพราหมณ์เกณฑ์ปฏิทินจันทรคติไทย เปลี่ยนปีนักษัตรใน วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) โดยปี พ.ศ.2386 ปีเถาะ เริ่มตั้งแต่ วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2386 เวลา 06:15น. เป็นต้นไป [5] , ปฏิทินชุดนี้ครอบคลุมช่วงปี พ.ศ.2300 - พ.ศ.2584 หรือ 284 ปีเท่านั้น , รอบวันทางจันทรคติ เริ่มเวลาดวงอาทิตย์ขึ้นจริง หรือประมาณ เวลา 06:00น.

[2] ปีศักราช , จุลศักราช (จ.ศ.) ปฏิทินชุดนี้เปลี่ยนปีจุลศักราชในวันเถลิงศก คำนวณตามคัมภีร์สุริยาตร์ โดยในปี พ.ศ.2386/จ.ศ.1205 วันเถลิงศกตรงกับ วันศุกร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ.2386 เวลา 06:14:24น. วันเดียวกันอาจคาบเกี่ยวจุลศักราชได้ เพราะมีช่วงเวลามาเกี่ยวข้อง , วันกาลโยคเริ่มใช้หลังจากวันเถลิงศกนี้เช่นกัน ดู ประกาศสงกรานต์ พ.ศ.2386

รัตนโกสินทรศก (ร.ศ.) เริ่มใช้จริงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2432 (ปีเดียวกันที่เริ่มใช้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่) และยกเลิกใช้งานเมื่อ พ.ศ.2455 , ปฏิทินชุดนี้แสดงปีรัตนโกสินทรศก 1 ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2325 ช่วงเวลาก่อน เมษายน พ.ศ.2325 แสดงรัตนโกสินทรศก 0 ทั้งหมด ทั้งนี้แม้ยกเลิกการใช้งานไปแล้ว ปีปัจจุบันยังแสดงปีรัตนโกสินทรศก , มหาศักราช (ม.ศ.) ปฏิทินชุดนี้เปลี่ยนปีมหาศักราชในวันที่ 22 มีนาคมของทุกปี หรือ 23 มีนาคมในปีอธิกสุรทิน

[3] วันสำคัญทางพุทธศาสนา กำหนดตามเงื่อนไขปฏิทินจันทรคติไทย ตรวจสอบความถูกต้องล่วงหน้าปีต่อปี ตามประกาศกรมการศาสนา หรือ ประกาศสำนักพระราชวัง , วันสำคัญอื่น ๆ เงื่อนไขกำหนดตามเกณฑ์ปฏิทิน ทั้งนี้บางวันสำคัญเริ่มแสดงผลตามปีที่ประกาศใช้วันสำคัญนั้น ๆ เช่น วันรัฐธรรมนูญ เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ.2475 ก่อนหน้านั้นยังไม่มีวันรัฐธรรมนูญ เป็นต้น ในส่วนวันหยุดพิเศษ และวันหยุดอื่น ๆ ที่มีกำหนดการไม่แน่นอน เช่น วันพืชมงคล ตามประกาศสำนักพระราชวัง วันหยุดพิเศษ ตามประกาศ ครม. ข้อมูลย้อนหลังถึงปี พ.ศ.2540 ส่วนปีปัจจุบันมีปรับปรุงตามประกาศ ครม. เป็นครั้ง ๆ ไป

[4] วันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ กำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) ตามคติพราหมณ์ - ฮินดู และใช้จนถึงวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) พ.ศ.2432 ซึ่งตรงพอดีกับวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2432 (รัตนโกสินทร์ศก. 108) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็น วันที่ 1 เมษายน แทน และใช้จนถึง พ.ศ.2483 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ทรงมีการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ไทยตามสากลประเทศ จากวันที่ 1 เมษายน เป็น วันที่ 1 มกราคม โดยเริ่มใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2484 เป็นต้นมา , ในปี พ.ศ.2483 ถ้านับถึงเปลี่ยนปีใหม่ เลือนวันจาก 1 เมษายน เป็นวันที่ 1 มกราคม ปรับปีใหม่เร็วขึ้น จำนวนเดือนในปีปฏิทินไทยจึงหายไป 3 เดือน ดังนั้นในปี พ.ศ.2483 หากนับช่วงเวลา มี 9 เดือน โดยวันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม พ.ศ.2483 ไม่มีอยู่ในปีปฏิทินไทยที่ใช้จริง แต่ตามปฏิทินสากล ซึ่งตรงกับปี ค.ศ.1940 ช่วงเวลาในปฏิทินดังกล่าวใช้ตามปรกติ

ช่วงก่อนปี พ.ศ.2483 ปฏิทินชุดนี้ แสดงปีที่คาบเกี่ยวกัน เพราะยังนับวันเปลี่ยนปีใหม่วันที่ 1 เมษายน เช่น 2482(2481) ซึ่งค่าแรก 2482 เป็นปี พ.ศ. ที่ได้จากปี ค.ศ.+543 คือนับ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ส่วนค่าในวงเล็บ(2481) เป็นปี พ.ศ. ไทยที่ใช้จริงหรือที่เรียกปี พ.ศ. ในช่วงเวลานั้น ๆ ซึ่งนับ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ หากใช้ปฏิทินในช่วงเวลาข้างต้น โปรดศึกษากฎเกณฑ์ รวมถึงข้อกำหนดต่าง ๆ ของปฏิทินโดยละเอียด , นอกจากนี้ยังมีช่วง ก่อนปี พ.ศ.2432 ใช้นับวันขึ้นปีใหม่เปลี่ยน ปี พ.ศ. ในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕)

[5] การเปลี่ยนปีนักษัตรตามคติพราหมณ์เกณฑ์ปฏิทินจันทรคติไทย (โหราศาสตร์แบบไทยได้รับอิทธิพลมาจากพราหมณ์ - ฮินดู) เปลี่ยนปีนักษัตรในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) โดยในปี พ.ศ. เปลี่ยนปีนักษัตรจาก ปีขาล เป็น ปีเถาะ ใน วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2386 เวลา 06:15น. เป็นต้นไป ปีนักษัตรไทย การเปลี่ยนปีนักษัตรไทยมีหลายแบบ เช่น เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ตามปฏิทินหลวง เป็นแบบที่ใช้ในการบันทึกสูติบัตรปัจจุบัน (แนวทางปฏิบัติตาม หนังสือเวียนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0310.1/ว4 ออกเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2539) , เปลี่ยนปีนักษัตรในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) ตามคติพราหมณ์ - ฮินดู , เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ในวันเถลิงศก ช่วงวันที่ 15-17 เมษายน , เปลี่ยนปีนักษัตรใน วันสังขารล่อง หรือ วันสงกรานต์ ตามแบบทางภาคเหนือ , เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ในวันที่ 1 มกราคม ตามปฏิทินของ อ.ทองเจือ อ่างแก้ว , เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ในวันที่ 1 เมษายน ตามปฏิทินของ อ.เทพย์ สาริกบุตร , ปีนักษัตรจีน โหราศาสตร์จีนเปลี่ยนปีนักษัตรในวันสารทลิบชุน (立春) ซึ่งเป็นสารทแรกของปี เริ่มต้นนักษัตรใหม่ ขวบปีใหม่ ตามกฎเกณฑ์ปฏิทินจีนโบราณ ก่อนที่คณะปฏิวัติปกครองสถาปนาสาธารณรัฐจีน (พ.ศ.2455) มีประกาศเปลี่ยนแปลงปฏิทินใหม่ ดู ปฏิทินจีน และบางตำราใช้วันตรุษจีนเป็นวันเปลี่ยนปีนักษัตร

เลือกใช้ปีนักษัตรแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับว่าใช้ทำอะไร เช่น บันทึกสูติบัตร ใช้ปีนักษัตรตามปฏิทินหลวง เปลี่ยนปีนักษัตรในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) , พยากรณ์ทางโหราศาสตร์ต่าง ๆ ของไทย ใช้ปีนักษัตรตามคติพราหมณ์ - ฮินดู เปลี่ยนปีนักษัตรในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) , พยากรณ์โหราศาสตร์จีน ดูดวงจีนโป๊ยหยี่สี่เถี่ยว (八字四柱) ดูหลักปี ปีชง ปีฮะ ใช้ปีนักษัตรจีนตามปฏิทินจีน เป็นต้น