วันครอบครัว
ครอบครัว คือบ้านที่มีตั้งแต่สองถึงสามคนขึ้นไป ซึ่งอาจจะเป็นครอบครัวเล็ก หรือครอบครัวใหญ่ๆ ที่มีการอยู่รวมกันหลายๆคน การได้อยู่พร้อมหน้าแบบครอบครัว สิ่งหนึ่งที่ทำให้รู้สึกได้คือ ความสุข และการปฏิบัติตนที่ดีต่อครอบครัว ซึ่งบางครั้งไม่ใช่การทุ่มเทเรื่องเงินเพียงอย่างเดียว หากแต่เป้นความรัก ความเอาใจใส่ และรับผิดชอบในหน้าที่ที่พึงกระทำ ก็จะทำให้ครอบครัวอยู่อย่างสงบสุข
ความหมายของวันครอบครัว
ครอบครัว หมายถึง ผู้ร่วมครัวเรือน คือ สามี ภรรยา และบุตร คือ สถาบันที่ เป็นหน่วยงานขนาดเล็กที่สุดของสังคม เป็นผู้สร้างและกำหนดสถานภาพ สิทธิ หน้าที่ของบุคคลอันพึงปฏิบัติต่อกันในสังคม เป็น สถาบันแห่งแรกในการถ่ายทอดวัฒนธรรมและพัฒนา ผู้ร่วมครัวเรือน คือ สามี ภรรยา และบุตร
วันครอบครัวในประเทศไทย
การที่ทางราชการกำหนดวันครอบครัวขึ้นมานั้น เนื่องจากต้องการให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของครอบครัวให้มากขึ้นเพราะการที่วิถีชีวิตของคนในสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป ย่อมทำให้ครอบครัวมีความขัดแย้ง และห่างเหินกันมากขึ้น ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมาทีหลังได้ โดยกำหนดให้วันที่ 14 เมษายน ของทุกปีเป็น "วันครอบครัว" เพื่อห้มีการฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีแต่ดั้งเดิม และยังเป็นช่วงที่คนไทยส่วนได้เดินทางกลับบ้านในช่วงเทศกาลสงกรานต์
รัฐบาลได้กำหนดให้เป็นวันครอบครัว เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่า ของสถาบันครอบครัว และใช้เวลาว่างในวันหยุดสุดสัปดาห์ร่วมกันอีกทั้งยังส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวได้อยู่พร้อมหน้าและ ทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันเพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์ ระหว่างสมาชิกในครอบครัวและสร้างความรักความอบอุ่นในครอบครัวจะส่งผลให้สังคมไทยเป็นสังคม ที่มีครอบครัวแข็งแรง ซึ่งจะช่วยลดปัญหาสังคมไทยในด้านต่าง ๆ ซึ่งวันครอบครัว ยังอยู่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์จึงได้ถือเป็นโอกาสในการ รวมญาติ รวมครอบครัว เพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบุพการี รดน้ำดำหัว ขอพร ผู้เฒ่าผู้แก่ เพื่อเสริมสร้างความเป็นสิริมงคล และเพื่อความอบอุ่น และความสุขของครอบครัว ตามประเพณีไทย
ประวัติวันครอบครัว
วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2532 คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นผู้เสนอ คณะรัฐมนตรี ซึ่งมีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี ให้ วันที่ 14 เมษายน ของทุกปี เป็นวันแห่งครอบครัว ซึ่งทางคณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วยและทำการอนุมัติ นอกจากเป็นวันครอบครัวแล้วยังตรงกับวันสงกรานต์ของไทยอีด้วย เพราะส่วนใหญ่ในวันนี้เป็นวันที่สมาชิกในครอบครัวมีโอกาสพบปะกันได้โดย สะดวก
ปัญหาครอบครัวเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ตามมาเป็นอันมาก ไม่ว่าจะเป็นปัญหายาเสพติดอาชญากรรม และปัญหาต่าง ๆ อีกมากมาย การที่ทางราชการกำหนดวันครอบครัวขึ้นมานั้น เนื่องจากคณะกรรมาธิการกิจการสตรีและเยาวชน สภาผู้แทนราษฎร ได้สรุปผลจากการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่วนหนึ่ง เกิดจากครอบครัว ที่ไม่มีความอบอุ่น ขัดแย้ง ความไม่เข้าใจกันระหว่างคนในครอบครัว สมาชิกในครอบครัวต่างต้องดิ้นรนทำมาหาเลี้ยงชีพ หนุ่มสาวที่อยู่ต่างจังหวัดก็เข้ามาในเมืองเพื่อหางานทำ และทิ้งพ่อแม่ที่ชราภาพไว้ตามลำพัง พ่อแม่หลายครอบครัวที่ต้องทำงานหนักเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับลูก ประกอบกับครอบครัว ไม่มีเวลาสั่งสอนอบรมลูก สิ่งเหล่านี้ล้วน แต่จะสร้างปัญหาให้กับสังคมทั้งสิ้น
คนไทยสมัยก่อนจะอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ ประกอบด้วย พ่อ แม่ พี่ น้อง ญาติ รวมกันอยู่ในบริเวณบ้านเดียวกันถึงเทศกาลก็ทำข้าวของอาหารไปทำบุญที่วัดใกล้บ้านญาติพี่น้องจะเข้ามาร่วมมือช่วยเหลือกัน แต่ด้วยวิถีชีวิตของครอบครัวในสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก สมาชิกในครอบครัวต่างต้องดิ้นรนทำมาหาเลี้ยงชีพ
ด้วยเหตุนี้ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบและอนุมัติ ให้วันที่ 14 เมษายน ของทุกปี เป็น "วันครอบครัว" ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์ของไทย เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวมีโอกาสพบปะกันถือเป็นวันแห่งการรวมญาติ รวมครอบครัว ซึ่งจะไม่ทำให้ประเพณีดีงามของไทยได้สูญหายไป
ปฏิทินวันครอบครัว
วันครอบครัว พ.ศ.2559 ตรงกับ วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน พ.ศ.2559 / วันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีวอก
วันครอบครัว พ.ศ.2560 ตรงกับ วันศุกร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ.2560 / วันศุกร์ แรม ๓ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีระกา
วันครอบครัว พ.ศ.2561 ตรงกับ วันเสาร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ.2561 / วันเสาร์ แรม ๑๔ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีจอ
วันครอบครัว พ.ศ.2562 ตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ.2562 / วันอาทิตย์ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีกุน
วันครอบครัว พ.ศ.2563 ตรงกับ วันอังคารที่ 14 เมษายน พ.ศ.2563 / วันอังคาร แรม ๗ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีชวด
วันครอบครัว พ.ศ.2564 ตรงกับ วันพุธที่ 14 เมษายน พ.ศ.2564 / วันพุธ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีฉลู
วันครอบครัว พ.ศ.2565 ตรงกับ วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน พ.ศ.2565 / วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีขาล
วันครอบครัว พ.ศ.2566 ตรงกับ วันศุกร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ.2566 / วันศุกร์ แรม ๙ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีเถาะ
วันครอบครัว พ.ศ.2567 ตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ.2567 / วันอาทิตย์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีมะโรง
วันครอบครัว พ.ศ.2568 ตรงกับ วันจันทร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ.2568 / วันจันทร์ แรม ๒ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีมะเส็ง
วันครอบครัว พ.ศ.2569 ตรงกับ วันอังคารที่ 14 เมษายน พ.ศ.2569 / วันอังคาร แรม ๑๒ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีมะเมีย
กิจกรรมวันครอบครัว
วันครอบครัว ถือเป็นวันที่มีความสำคัญวันหนึ่งที่ทุกคนควรให้ความสำคัญเพราะเป็นวัน ที่รวมความรักความอบอุ่นในครอบครัวเพื่อมอบแก่สมาชิกทุกคน ซึ่งการทำกิจกรรมในวันครอบครัว อาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องปฏิบัติในวันนี้วันเดียวเท่านั้น หากแต่ ยังสามารถปฏิบัติต่อครอบครัว ทุกวันที่มีโอกาสด้วย
กิจกรรมส่วนของราชการ
การจัดนิทรรศการเพื่อให้ประชาชนเกิดความรู้ ความเข้าใจในบทบาท หน้าที่ ของสมาชิกในครอบครัว ซึ่งจะทำให้ทราบถึง หน้าที่ และข้อปฏิบัติ ที่จะต้องทำหน้าที่ต่อ ครอบครัว รวมถึงสังคมไทย รวมถึงจัดมอบรางวัลให้สำหรับครอบครัวดีเด่น เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติครอบครัวที่ทำคุณประโยชน์แก่สังคม และประเทศชาติ
ทำบุญตักบาตร
เนื่องจากยังอยู่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ทำให้ครอบครัวสามารถเดินทางมาทำบุญ ที่วัด เพื่อฟังเทศน์ หรืออุทิศส่วนกุศลให้กับญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะมาวัดเพื่อทำบุญกันทั้งครอบครัวแบบพร้อมหน้าพร้อมตา
กิจกรรมครอบครัว
เพราะเป็นวันสงกรานต์อีกหนึ่งวัน กิจกรรมที่ทำร่วมกันในบ้านก็คือ การสรงน้ำพระพุทธรูป การรดน้ำดำหัว ขอพร ญาติผู้ใหญ่ และ การให้เวลากับครอบครัวซึ่งอาจจะทำอาหารไปทานกันตามสถานที่ต่าง ๆ หรือไปทานอาหารนอกบ้าน พาครอบครัวไปเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นการพักผ่อนหย่อนและเปลี่ยนบรรยากาศนั่นเอง
สำหรับครอบครัวที่ไม่มีโปรแกรมออกข้างนอก ก็สามารถสร้างกิจกรรมในบ้านได้หลากหลาย เช่น การช่วยกันทำอาหารทานที่บ้าน หรือจัดแต่งสวน ตกแต่งบ้าน ซึ่งการได้ทำกิจกรรมแบบพร้อมหน้า แม้จะเป็นเพียงแค่วันเดียวก็ทำให้มีความสุขได้แล้ว
บทบาทหน้าที่ของพ่อที่มีต่อครอบครัว
ครอบครัวเป็นรากฐานที่สำคัญของสังคม ถ้าครอบครัวเข้มแข็งอยู่ได้อย่างมีความพอดี มีความสุข พออยู่พอกินและมีอยู่มีกิน ครอบครัวก็จะสร้างสมาชิกของครอบครัวที่ดีและมีคุณภาพต่อสังคมได้ หน้าที่สำคัญของครอบครัว ที่จะปฏิบัติต่อกัน ซึ่งจะนำมาเพื่อความสุขของครอบครัวและสังคม โดยทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกัน และมาจากรากฐานของครอบครัวที่ดี
ปกป้องครอบครัว
ผู้ชายถูกสร้างมาให้เข้มแข็งทางด้านร่างกายมากกว่าผู้หญิงผู้เป็นพ่อ ซึ่งเป็นเสาหลักของครอบครัวจึงต้องทำหน้าที่เป็นเสาเอกที่ค้ำชูบ้านให้เกิดความมั่นคง และเป็นโครงบ้านที่มีความแข็งแรง ครอบครัวที่มีพ่อบ้านเข้มแข็งจึงมีความมั่นคงปลอดภัยจากอันตรายภายนอก
หน้าที่หลักที่มีต่อครอบครัว
รายได้หลักของครอบครัวมักมาจากพ่อบ้าน แม้ว่าบางครอบครัวแม่บ้านจะมีรายได้มากกว่า แต่ก็ไม่ควรเป็นข้ออ้างให้พ่อบ้านไม่ต้องหาเงินช่วยเหลือครอบครัว เพราะการทำหน้าเป็นหัวหน้าครอบครัวจะช่วยให้เกิดความภาคภูมิใจในตัวพ่อบ้านเอง และสร้างทัศนคติที่ดีของคนในครอบครัวต่อผู้เป็นพ่อด้วย
ช่วยเหลือกิจกรรมครอบครัว
ผู้ที่เป็นเสาหลักของครอบครัว ต้องสามารถเป็นที่พึ่ง ที่ปรึกษาในยามต้องการให้ความช่วยเหลือคนในครอบครัวในกิจการต่างๆ ที่มีความจำเป็น เช่น ความสนใจฟังทุกข์สุขต่างๆ เป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ หรือไปรับไปส่ง การพาไปหาหมอเมื่อยามเจ็บไข้ได้ป่วย ฯลฯ
ให้ความรักแก่ครอบครัว
พ่อบ้านควรดูแลเอาใจใส่บุคคลในครอบครัวด้วยความรักและความจริงใจ มีความเสียสละ สามารถร่วมทุกข์ร่วมสุขได้ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม สามารถตอบสนองความต้องการคนในครอบครัวได้อย่างเหมาะสม
เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูก
พ่อบ้านที่ดีย่อมสร้างศรัทธาให้แก่ลูก เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูก ทำให้เกิดการเลียนแบบที่ดี การมีคุณธรรมต่างๆ ไว้ในบุคลิกภาพ เป็นรากฐานของพัฒนาการที่ดีของลูกตั้งแต่ต้น ทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีกับคนอื่น มองโลกในแง่ดี มีความมั่นคงในจิตใจ
พ่อบ้านควรให้เกียรติและยกย่องแม่บ้านทั้งต่อหน้าและลับหลัง ควรให้เกียรติแม่บ้านในการเลือกที่จะไปด้วย ให้สิทธิเสรีภาพในการตัดสินใจและเลือกทางเดินชีวิตในแนวที่เห็นว่าเหมาะสม หันหน้าเข้าหากันและยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกันช่วยเหลือ ดูแล ซึ่งกันและกัน เอาใจใส่และให้เวลากับครอบครัวมากขึ้น รู้จักให้อภัยซึ่งกันและกันรู้จักวางแผนการใช้จ่ายอย่างประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย
แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมวันครอบครัว
การปฏิบัติกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวรวมกันการสร้างให้ครอบครัวอบอุ่น และมีความสุข ไม่ใช่เรื่องที่ยาก แต่ก็ไม่ง่ายเกินไป หากรู้จักดูแล และเอาใจใส่ความรู้สึกของคนในครอบครัว โดยอาจจะใช้หลักในการปฏิบัติในชีวิตประจำวันที่ง่าย ๆ สำหรับครอบครัว
รู้จักให้อภัย
การรู้จักให้อภัยแก่กัน เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำผิดพลาดไป ให้นึกถึงคำว่าอภัยเสมอ และจะไม่ควรที่จะนำเอาสิ่งที่ผิดพลาดนั้นมาพูดซ้ำเติมอีก
รู้จักเอื้อเฟื้อ
ความเอื้อเฟื้อต้องมาจากสมาชิกทุกคนในครอบครัว ที่จะต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อย่าพยายามคิดว่าไม่ใช่เรื่องของเรา หรือไม่ใช่หน้าที่เรา ใครทำงานบ้านอย่างไร พ่อล้างรถ แม่ล้างจาน ทำกับข้าว แม้เราเป็นลูก ก็ต้องรู้จักช่วยมนระดับที่เราสามารถช่วยได้ อย่าคิดว่าเป็นงานของใครคนใดคนหนึ่ง
รู้จักอารมณ์ดี
การทำให้มีอารมณ์ขัน หัวเราะ ร่าเริง มีการกระเซ้าเย้าแหย่กันบ้างในบางโอกาสอาจ พ่อแม่สามารถเป็นได้ทั้งพ่อทั้งแม่ เพื่อนและพี่สำหรับลูกก็ได้ เพื่อที่จะให้ลูกรู้สึกผ่อนคลาย และไม่กลัวผู้เป็นพ่อในบางเวลา แต่ก็ต้องดูสถานการณ์ด้วย ว่าสิ่งไหนที่ควรจะต้องทำให้ลูกรู้ว่านี่คือการดุและการทำโทษจากพ่อหรือแม่ แต่ทุกอย่างต้องมีเหตุผล
รู้จักอดทน
การอดทนต่อความยากลำบากต่าง ๆ ในครอบครัว การอดกลั้นต่อสิ่งที่มากระทบจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือกิเลสที่มา กระตุ้นเราให้รุ่มหลง และให้รู้จักอดออมเงินทองที่หามาได้แบ่งไว้ใช้เป็นสัดส่วน ซึ่งจะต้องแบ่งส่วนที่ใช้จ่ายในครอบครัว และส่วนที่ เป็นทุนการศึกษาของบุตร และค่ารักษาพยาบาลเมื่อยามเจ็บป่วย และรู้จักแบ่งบริจาคทานทำบุญสร้างกุศลเมื่อยามจากโลกนี้ไป และ เก็บออมไว้ใช้เมื่อยามแก่เฒ่า
สร้างความอบอุ่นให้กับครอบครัว
เมื่อสมาชิก ทุกคนรู้หน้าที่และบทบาทของตัวเองแล้ว ชีวิตของครอบครัวก็จะมีความสุข ซึ่งการให้ความรัก ความอบอุ่น เป็นพื้นฐานที่ดีของครอบครัว ที่จะทำให้ลูกๆ ได้เป็นคนดีต่อไปในสังคม