วันอนุรักษ์มรดกไทย
มรดกไทย คือ "มรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงออกถึงสัญลักษณ์ของความเป็นชาติ ซึ่งได้แก่ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ โบราณสถาน วรรณกรรม ศิลปหัตถกรรม นาฏศิลป์และดนตรี ตลอดจนถึงการดำเนินชีวิตและคุณค่าประเพณีต่างๆ อันเป็นผลผลิตร่วมกันของผู้คนในผืนแผ่นดินในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา"
ความหมายวันอนุรักษ์มรดกไทย
วันอนุรักษ์มรดกไทย หมายถึง " มรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงออกถึงสัญลักษณ์ของความเป็นชาติ ซึ่งได้แก่ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ โบราณสถาน วรรณกรรม ศิลปหัตถกรรม นาฏศิลป์และดนตรี ตลอดจนถึงการดำเนินชีวิตและคุณค่าประเพณีต่าง ๆ อันเป็นผลผลิตร่วมกันของผู้คนในผืนแผ่นดินในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา และยังเป็น วันเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่พระองค์ทรงเป็นแบบอย่าง ในการบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ ในด้านการอนุรักษ์มรดกของชาติในสาขาต่าง ๆ รวมทั้งได้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคคลบาท ในการสร้างสรรค์และรักษามรดกของชาติให้ยั่งยืนตกทอดถึงลูกหลานไทย
วันอนุรักษ์มรดกไทย
เพื่อเทิดพระเกียรติและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงประกอบพระกรณียกิจทางด้านการอนุรักษ์และสืบสานมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของ ชาติอันเป็นอเนกประการ คณะรัฐมนตรีได้ประกาศให้วันที่ 2 เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็น "วันอนุรักษ์มรดกไทย" รวมถึงเพื่อรณรงค์สร้างความเข้าใจ สำนึกรักและหวงแหนในมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ ให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการรักษามรดกทางวัฒนธรรมอันเป็น เอกลักษณ์ของชาติมากยิ่งขึ้น
กิจกรรมเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย จัดขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นราชสักการะแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในฐานะทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงในงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติตลอดมา ได้มีการจัดตั้งกองทุนอนุรักษ์มรดกไทยขึ้นทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทั้งหลายได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมไทย
วันที่ใช้จัดกิจกรรมวันอนุรักษ์มรดกไทย
วันที่ 2 เมษายน ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และถือเป็น "วันอนุรักษ์มรดกไทย"
ปฏิทินวันอนุรักษ์มรดกไทย
วันอนุรักษ์มรดกไทย พ.ศ.2558 ตรงกับ วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ.2558 / วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีมะแม
วันอนุรักษ์มรดกไทย พ.ศ.2559 ตรงกับ วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ.2559 / วันเสาร์ แรม ๑๑ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีมะแม
วันอนุรักษ์มรดกไทย พ.ศ.2560 ตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน พ.ศ.2560 / วันอาทิตย์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีระกา
วันอนุรักษ์มรดกไทย พ.ศ.2561 ตรงกับ วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ.2561 / วันจันทร์ แรม ๒ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีจอ
วันอนุรักษ์มรดกไทย พ.ศ.2562 ตรงกับ วันอังคารที่ 2 เมษายน พ.ศ.2562 / วันอังคาร แรม ๑๓ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีจอ
วันอนุรักษ์มรดกไทย พ.ศ.2563 ตรงกับ วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ.2563 / วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีชวด
วันอนุรักษ์มรดกไทย พ.ศ.2564 ตรงกับ วันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ.2564 / วันศุกร์ แรม ๕ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีฉลู
วันอนุรักษ์มรดกไทย พ.ศ.2565 ตรงกับ วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ.2565 / วันเสาร์ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีขาล
วันอนุรักษ์มรดกไทย พ.ศ.2566 ตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน พ.ศ.2566 / วันอาทิตย์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีเถาะ
วันอนุรักษ์มรดกไทย พ.ศ.2567 ตรงกับ วันอังคารที่ 2 เมษายน พ.ศ.2567 / วันอังคาร แรม ๙ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีเถาะ
วันอนุรักษ์มรดกไทย พ.ศ.2568 ตรงกับ วันพุธที่ 2 เมษายน พ.ศ.2568 / วันพุธ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีมะเส็ง
ประวัติวันอนุรักษ์มรดกไทย
พระเกียรติคุณและพระราชภารกิจอันยิ่งใหญ่ ที่ได้ทรงบำเพ็ญและจารึกอยู่ในประวัติศาสตร์ของชาติไทยในด้านการอนุรักษ์มรดกของชาติมีมากมายนานัปการ เมื่อถึงวันอันเป็นมหามงคลคล้ายวันราชสมภพทุกปี พสกนิกรชาวไทยจึงได้รำลึกแบบอย่างที่ทรงมีพระวิริยะอุตสาหะบำเพ็ญ พระราชกรณียกิจและพระราชจริยวัตรในด้านการอนุรักษ์มรดกของชาติ และได้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคคลบาท ในการสร้างสรรค์และธำรงมรดกของชาติ ให้ยั่งยืนตกทอดถึงลูกหลานไทย ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจ ทั้งปวงด้วยพระปรีชาสามารถด้วยพระวิริยะอุตสาหะล้ำเลิศ พระองค์ทรงอำนวยประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนนานาประการ ในการที่จะอนุรักษ์ไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรม อันเป็นมรดกอันล้ำค่าของชาติ
วันอนุรักษ์มรดกไทย ตรงกับวันที่ 2 เมษายนของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงในงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ
สมัยนั้น คณะรัฐมนตรีซึ่งมี ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2528 ประกาศให้วันที่ 2 เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็น "วันอนุรักษ์มรดกไทย" ทั้งนี้ เพื่อรณรงค์สร้างความเข้าใจ ความสำนึกรัก และหวงแหนในมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ รวมทั้งได้จัดกิจกรรมเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นราชสักการะแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในฐานะมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงในงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติตลอดมา
กิจกรรมวันอนุรักษ์มรดกไทย
กิจกรรมวันอนุรักษ์มรดกไทย 2 เมษายนใน กระทรวงวัฒนธรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันจัดงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทยขึ้น ซึ่งแต่ละปีจะมีหัวข้อการจัดงานที่แตกต่างกันไป
จัดการแสดงและนิทรรศการ
แต่ละปีวันอนุรักษ์มรดกไทย จะจัดงานขึ้น ซึ่งการจัดนิทรรศการ หรือการแสดงส่วนใหญ่จะเน้น เกี่ยวกับ งานพื้นบ้านกับการสืบสานมรดกศิลปวัฒนธรรมไทย ภายในมีการสาธิตงานช่างพื้นบ้าน การแสดงพื้นบ้าน การเสวนาการตอบปัญหา-รับรางวัล ฯลฯ
เปิดพิพิธภัณฑ์โบราณสถาน
ซึ่งในวันอนุรักษ์มรดกไทย ยังมีการเปิดพิพิธภัณฑ์โบราณสถาน-อุทยานประวัติศาสตร์ให้เข้าชมฟรี ในส่วนภูมิภาค อาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษาศิลปวัฒนธรรม (อส.มศ)
ให้ความรู้แก่ประชาชน
การจัดกิจกรรมอื่นๆ จากหน่วยงานราชการ ที่ร่วมกันจัดกิจกรรมที่เสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม เช่น การจัดนิทรรศการการจัดการแสดง การฉายภาพยนตร์ และทัศนะศึกษาโบราณสถาน รวมถึงรณรงค์ให้มีการพัฒนา บูรณะและทำความสะอาดโบราณสถาน และศาสนสถาน และกิจกรรมส่งเสริมอื่น ๆ ที่มีการส่งเสริมการอนุรักษ์มรดกไทย
ด้วยเหตุนี้จึงได้จัดให้มีวันอนุรักษ์มรดกไทย เพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้รำลึกถึงความสำคัญ และความจำเป็นของการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของชาติยิ่งขึ้น
สิ่งที่ควรทำเพื่อเป็นการอนุรักษ์วันอนุรักษ์มรดกไทย
เพราะมรดกเป็นสิ่งที่แสดงออกถึงสัญลักษณ์ของความเป็นชาติ และความเป็นไทยไม่ว่าจะเป็น โบราณวัตถุ โบราณสถาน วรรณกรรม ศิลปหัตถกรรม ฯลฯ รวมถึงการดำเนินชีวิตและคุณค่าประเพณีต่างๆ อันเป็นผลผลิตร่วมกันของผู้คนในผืนแผ่นดิน เพื่อเป็นการอนุรักษ์มรดกของไทยอีกด้วย
ศึกษาวัฒนธรรมไทยอย่างถ่องแท้
หากทำการศึกษา ค้นคว้า และวิจัย วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ได้มีการรวบรวมไว้แล้วและที่ยังไม่ได้ศึกษา แต่มีกระจัดกระจายอยู่ทั่วทุกแห่ง จะทำให้ผู้ศึกษาค้นคว้าจะได้ทราบความหมายและความสำคัญของมรดกวัฒนธรรมอย่างถ่องแท้ ความรู้ดังกล่าวจะเป็นรากฐานของการดำเนินชีวิตเมื่อได้เห็นคุณค่าจะยอมรับและนำไปใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมและแพร่หลาย
ส่งเสริมให้ชนทุกหมู่เหล่าเห็นคุณค่า
เพื่อสร้างความเข้าใจและมั่นใจแก่ประชาชนในการปรับเปลี่ยน และตอบสนองกระแสวัฒนธรรมอื่นๆ และวัฒนธรรมภายนอกอย่างเหมาะสม ควรทำการส่งเสริมให้ชนทุกหมู่เหล่าเห็นคุณค่า และร่วมกันรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติและท้องถิ่น
ให้ประชาชนมีส่วนร่วม
เป็นเรื่องของทุกคนที่จะต้องรับผิดชอบร่วมมือกันส่งเสริม สนับสนุน ประสานงาน การบริการด้านความรู้ วิชาการ และทุนทรัพย์จัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมซึ่งการขยายขอบเขตการมีส่วนร่วมในวัฒนธรรม รณรงค์ให้ประชาชนและเอกชนตลอดจนหน่วยงานของรัฐเห็นความสำคัญและตระหนักว่าวัฒนธรรม
สร้างทัศนคติที่ดี
สร้างทัศนคติ ความรู้ และความเข้าใจ ว่าสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมเป็นสมบัติของทุกคน ดังนั้น ทุกคนจึงมีหน้าที่ในการเสริมสร้าง ฟื้นฟู และดูแลรักษา ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรม ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศโดยใช้ศิลปวัฒนธรรมเป็นสื่อกลางสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน
การได้ส่งเสริมให้ประชาชนคนไทยรู้จักอนุรักษ์และฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และของชาติ ถือเป็นการอนุรักษ์มรดกไทยให้สืบนานไปชั่วลูกหลานนั่นเอง
แนวทางการส่งเสริมวันอนุรักษ์มรดกไทย
เมื่อเทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทำให้มรดกไทย วัฒนธรรมไทยบางอย่างได้เปลี่ยนไป และลูกหลานไทยก็ไม่มีการรักษาไว้ซึ่งมรดกไทยอันล้ำค่าเหล่านี้ไว้ แม้จะมีหน่วยงานภาครัฐรับผิดชอบในการดูแล แต่เนื่องจากมรดกไทยมีมากมาย และอาจไม่ทันการณ์กับการเปลี่ยนไปของโลก จึงทำให้มรดกอันทรงคุณค่าของไทยบางส่วนได้ถูกทำลายไป
การจัดงานวันอนุรักษ์มรดกไทย
เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญและเห็นคุณค่ามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ และเพื่อรณรงค์ให้มีการสงวนรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติอย่างถูกวิธี รวมถึงการส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนและภาคเอกชนได้มีความรู้สึกร่วมในความเป็นเจ้าของโบราณสถาน โบราณวัตถุและร่วมรับผิดชอบดูแลทะนุบำรุงรักษาได้เป็นมรดกไทยประจำถิ่น และเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในท้องถิ่น
เพื่อลดอัตราการสูญเสีย
การจัดงานวันอนุรักษ์มรดกไทย เพื่อลดอัตราการสูญเสีย และการถูกทำลายของโบราณสถานโบราณวัตถุให้น้อยลงเพื่อสกัดกั้นอิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติ ซึ่งมีผลให้วัฒนธรรมไทยเบี่ยงเบนเปลี่ยนทิศทางไป
วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันอนุรักษ์มรดกไทย
เพื่อสกัดกั้นอิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติ
การจัดงานวันอนุรักษ์มรดกไทย เพื่อสกัดกั้นอิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติ ซึ่งมีผลให้วัฒนธรรมไทยเบี่ยงเบนเปลี่ยนทิศทางไปในทางที่ดีขึ้น เพราะปัจจุบัน คนไทยส่วนใหญ่มักจะรับเอาอิทธิพลของต่างชาติเข้ามามากมาย ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมต่างๆ เช่นการแต่งตัว การกินอาหาร หรือ แนวเพลง ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องแฟชั่น จนทำให้เยาวชนสมัยนี้ แทบจะลืมความเป็นไทยไปแล้ว
เพราะเมืองไทยของเราเป็นเมืองที่มีเอกลักษณ์อันโดดเด่นทางด้าน ศิลปวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์เอาไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ โบราณสถาน วรรณกรรม ศิลปหัตถกรรม นาฏศิลป์ ดนตรี ตลอดจนการดำเนินชีวิต และประเพณีต่าง ๆ ที่สืบทอดต่อ ๆ กันมายาวนาน จนกลายเป็นมรดกไทยอันทรงคุณค่าและเป็นจุดเด่นของประเทศไทย อยากให้ลูกหลานได้รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามนี้ไว้ให้ยืนยาวตลอดไป