วันลอยกระทง
วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำก็นองเต็มตลิ่ง ... ขึ้นเพลงนี้มา ทำให้ชาวไทย ต่างพากันนึกถึงกระทง ที่ลอยอยู่ท่ากลางแม่น้ำ ที่มีแสงไฟจากเปลวเทียน และธูปลอยละล่อง ไปตามกระแสน้ำ ซึ่ง ถือเป็นวันสำคัญ ซึ่งถือเป็นประเพณีไทยๆ ที่ได้มีการถ่ายทอดสืบต่อกันมาสู่ยุคปัจจุบัน จากใบตองกล้วย สู่กระทงขนมปัง ที่แม้รูปแบบหรือวัสดุกระทงจะเปลี่ยนแปลงไป แต่ก็ยังคงไว้อนุรักษ์ซึ่งประเพณีไทยๆ
ความหมายของวันลอยกระทง
ลอย หมายถึง ไม่จม อยู่บน ผิวน้ำ หรือ ปล่อยให้ไปตามน้ำ และ กระทง หมายถึง ภาชนะเย็บด้วยใบตอง ลอยกระทงหมายถึง ภาชนะที่เย็บด้วยใบตอง ลอยไปบนผิวน้ำและไม่จม
ที่มาของวันลอยกระทง
การลอยกระทง เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์และ เป็นการบูชา ขอขมาพระแม่คงคาด้วย ซึ่งผู้คนจะพากันทำ "กระทง" จากวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ในวันลอยกระทง ซึ่งจะมีการตกแต่งกระทงเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทงจากนั้นนำไปลอยในสายน้ำ หรือริมฝั่งทะเล
วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย โดยประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไป ซึ่งประเพณีลอยกระทงนั้นมีมาแต่โบราณ โดยมีคติความเชื่อหลายอย่าง
ลอยกระทงในต่างประเทศ
ประเพณีลอยกระทง นี้มิได้มีแต่ในประเทศไทยเท่านั้น ในประเทศจีน ลาว อินเดีย เขมร และพม่า ต่างก็มีพิธีลอยกระทงเช่นกัน อาจจะแตกต่างกันในเรื่องรายละเอียด พิธีกรรม และความเชื่อในแต่ละท้องถิ่น
วันที่ใช้จัดกิจกรรมวันลอยกระทง
วันที่ใช้จัดกิจกรรมวันลอยกระทง คือวันเพ็ญ เดือนสิบสอง(๑๒)หรือวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือนสิบสอง(๑๒)อันเป็นวันพระจันทร์เต็มดวง
ปฏิทินวันลอยกระทง
วันลอยกระทง พ.ศ.2558 ตรงกับ วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2558 / วันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีมะแม
วันลอยกระทง พ.ศ.2559 ตรงกับ วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 / วันจันทร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีวอก
วันลอยกระทง พ.ศ.2560 ตรงกับ วันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 / วันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีระกา
วันลอยกระทง พ.ศ.2561 ตรงกับ วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2561 / วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีจอ
วันลอยกระทง พ.ศ.2562 ตรงกับ วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2562 / วันจันทร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีกุน
วันลอยกระทง พ.ศ.2563 ตรงกับ วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2563 / วันเสาร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีชวด
วันลอยกระทง พ.ศ.2564 ตรงกับ วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2564 / วันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีฉลู
วันลอยกระทง พ.ศ.2565 ตรงกับ วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 / วันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีขาล
วันลอยกระทง พ.ศ.2566 ตรงกับ วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2566 / วันจันทร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีเถาะ
วันลอยกระทง พ.ศ.2567 ตรงกับ วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2567 / วันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีมะโรง
วันลอยกระทง พ.ศ.2568 ตรงกับ วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2568 / วันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีมะเส็ง
ประวัติวันลอยกระทง
นางนพมาศ ผู้เป็นพระสนมเอก ได้เห็นดอกโคทมซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะในวันเพ็ญเดือนสิบสอง จึงได้เกิดความคิดที่จะประดิษฐ์กระทงขึ้นเพื่อถวายแด่พระร่วงเจ้า เมื่อประมาณ 800ปีกว่ามาแล้วซึ่งถือเป็นประเพณีลอยกระทงที่เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย และอยู่ในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ต่อมาเมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย ได้ เสด็จฯทางชลมารค และทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย
พระร่วงตรัสว่า "แต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือนสิบสอง(๑๒)ให้ทำโคมลอย เป็นรูปดอกบัวอุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมฆทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน"
จึงมีพระราชโองการฯให้จัดพิธีลอยกระทงเป็นประจำทุกปี ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง พระราชพิธีนี้จึงได้ถือปฏิบัติเป็นประจำจนกระทั่งปัจจุบัน
ประเพณีลอยกระทง เป็นการบูชาและขอขมาแม่พระคงคา และเป็นการสะเดาะเคราะห์ เป็นการบูชาพระเจ้าในศาสนาพราหมณ์ หรือเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท นอกจากนั้นในศิลาจารึกหลักที่ 1 ยังได้กล่าวถึง งานเผาเทียน เล่นไฟ ของกรุงสุโขทัยไว้ด้วยว่า เป็นงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย
กิจกรรมส่งเสริมคุณค่าประเพณีลอยกระทง
เพราะประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีสำคัญของคนไทย ซึ่งแต่ละจังหวัดแต่ละภาค ต่างก็มีการปฏิบัติแตกต่างไป ขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละท้องถิ่นเพื่อเป็นการรำลึกถึงพระคุณ และเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อ ประเพณีลอยกระทงจึงเน้นในเรื่องของความกตัญญูรู้คุณของแม่น้ำ และเป็นประเพณีที่มีคุณค่าต่อครอบครัว สังคม และชุมชนที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกันทำให้เกิดความสามัคคีอีกด้วย
กิจกรรมวันลอยกระทง
เนื่องจากวันลอยกระทงเป็นสำคัญทางพระพุทธศาสนา ซึ่งประชาชนชาวพุทธส่วนใหญ่ จะไปทำบุญ ตักบาตร ตอนเช้า รวมถึงการฟังธรรมเทศนา การบำรุงศาสนาด้วยการทำบุญ และปฏิบัติธรรมอีกด้วยการจัดงานลอยกระทงจึงมีกิจกรรมต่าง ๆ ที่เบี่ยงเบนไป ไม่เน้นสาระ คุณค่าของประเพณี แต่กลับเน้นความรื่นเริงเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว
ประกวดนางนพมาศ
ปัจจุบันประเพณีลอยกระทง ได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป การจัดกิจกรรมลอยกระทง ตามแหล่งสถานที่ท่องเที่ยวใหญ่ๆ จะมีการประกวดนางนพมาศ หนูน้อยนพมาศ เพื่อชิงเงินรางวัล มีการการเล่นประทัด พลุและดอกไม้ไฟ
ประกวดกระทง
เพราะการประดิษฐ์กระทง ในสมัยก่อนจะใช้วัสดุธรรมชาติเป็นหลัก แต่ปัจจุบันกลับนิยมใช้ โฟม ที่ทำให้เกิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อม และเกิดมลภาวะเป็นพิษ และต่อมาก็มีการรณรงค์ให้ใช้วัสดุในการย่อยสลาย ทำให้มีกระทงจากขนมปัง และกรวยไอศกรีม กระทงจากผัก และวัสดุจากธรรมชาติ หลากสไตล์มากขึ้น
ส่งเสริมวัฒนธรรม
การกิจกรรมเนื่องในงานประเพณีลอยกระทง เพื่อเผยแพร่คุณค่า สาระ ซึ่งเป็นแก่นแท้ของประเพณีลอยกระทง ก่อให้เกิดจิตสำนึกต่อการปฏิบัติประเพณีลอยกระทงที่ถูกต้องงดงามปลอดภัยและควรค่าแก่การสืบสานต่อไป มีการจัดงานประเพณีลอยกระทงได้อย่างถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละท้องถิ่น โดยอาจมีการเผยแพร่องค์ความรู้ให้แก่สังคม ให้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติการจัดงานลอยกระทงที่ถูกต้อง
สิ่งที่ควรอนุรักษ์ฟื้นฟูวันลอยกระทง
เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีลอยกระทงที่ถูกต้อง และเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่อนุชนรุ่นหลังต่อไปในอนาคต การส่งเสริมการประดิษฐ์กระทงจากวัสดุธรรมชาติที่สามารถย่อยสลายได้ง่าย และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมของแม่น้ำลำคลอง พร้อมทั้งงดจุดพลุ ปะทัด และดอกไม้ไฟ ที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น ซึ่งประเพณีลอยกระทง มีกิจกรรมที่ควรอนุรักษ์ฟื้นฟูและส่งเสริมให้มีการถือปฏิบัติและสืบทอดต่อไป
ทำความสะอาดแม่น้ำลำคลอง
แม้จะไม่ใช่วันลอยกระทง แต่ก็ควรมีการอนุรักษ์และทำความสะอาดแม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั้งก่อนและหลังงานลอยกระทง ไม่ว่าจะเป็นการขุดลอกคูคลอง เก็บขยะหรือสิ่งปฏิกูลในแหล่งน้ำ ซึ่งเมื่อถึงวันลอยกระทงการนำกระทงไปลอยในแม่น้ำลำคลอง และทำพิธีระลึกบูชาคุณค่า ของน้ำ อาจตั้งคำปฏิญาณที่จะรักษาแหล่งน้ำต่อไป รวมถึงการรณรงค์ไม่ปล่อยน้ำเสียหรือสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงในแหล่งน้ำ การลอยกระทง ถือเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคา เพื่อแสดงความสำนึกถึงบุญคุณของแม่น้ำที่ให้เราได้อาศัยน้ำกิน น้ำใช้
การรณรงค์ประดิษฐ์กระทง
การรณรงค์ประดิษฐ์กระทงโดยใช้วัสดุธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ง่าย หรือเป็นวัสดุที่ใช้เป็นอาหารสำหรับ สัตว์น้ำ เช่น ปลา ได้ รวมถึงการประดิษฐ์กระทง โดยนำวัสดุต่าง ๆ ทั้งหยวกกล้วย ใบตอง เปลือกมะพร้าว ฯ เลิกใช้กระทงโฟมเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และหันมาทำกระทงด้วย กระทงขนมปัง กระทงกระดาษ เพื่อให้ย่อยสลายง่าย เพื่อส่งเสริมงานฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ เพราะเมื่อมีเทศกาลลอยกระทง ส่วนใหญ่จะมีการประกวดกระทงแข่งกัน ทำให้ผู้เข้าร่วมได้เกิดความคิดแปลกใหม่ และยังรักษาภูมิปัญญาพื้นบ้านไว้อีกด้วย
ให้ความสำคัญต่อกระทงและการอนุรักษ์แม่น้ำ
เพราะหากต้องการเน้นการอนุรักษ์ประเพณีไทยควรจัดขบวนแห่กระทง และการจัดกิจกรรมประกวดกระทง โคมลอย ซึ่งไม่ควรให้ความสำคัญกับการประกวด นางนพมาศ มากเกินไป เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมของไทยไว้มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา และยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
นอกจากนี้ การทำบุญให้ทาน ฟังเทศน์และถือศีลปฏิบัติธรรม ตามประเพณีของแต่ละท้องถิ่น รวมถึงการละเล่นรื่นเริงตามความเหมาะสมตามประเพณีท้องถิ่นนั้น ๆ ก็ยังเป็นการอนุรักษ์ประเพณีไทยอย่างวันลอยกระทงให้สืบทอดต่อไป
แนวทางการส่งเสริมการจัดกิจกรรมลอยกระทง
ที่จัดกิจกรรมวันลอยกระทงขึ้นมาก็เพื่อขอขมาแม่คงคา เพราะได้อาศัยนำท่านกินและใช้ และอีกประการหนึ่งมนุษย์มักจะทิ้งและถ่ายสิ่งปฏิกูลลงไปในนำด้วย ในปัจจุบันมีการจัดงานลอยกระทงทุก ๆ จังหวัด ซึ่งจะมีกิจกรรมแตกต่างกันไป แต่กิจกรรมที่มีเหมือน ๆ กันก็คือ การประดิษฐ์กระทงและการลอยกระทง รวมถึงการอนุรักษ์ประเพณี ไทยๆ และกิจกรรมที่อยู่ในงานลอยกระทง เพื่อให้ลูกหลานได้สืบทอดต่อกันมา และเพื่อเป็นแนวทางการส่งเสริมวัฒนธรรมที่ดีงาม
การประดิษฐ์กระทง
การประดิษฐ์กระทง โดยนำวัสดุต่าง ๆ ทั้งหยวกกล้วย ใบตองหรือจะเป็นกาบพลับพลึง เปลือกมะพร้าว ฯลฯ มาประดับตกแต่งด้วยดอกไม้ ธูป เทียน เครื่องสักการบูชา ให้เป็นกระทงที่สวยงาม ต่อมามีการรณรงค์ให้เลิกใช้กระทงโฟมเพื่อพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ด้วยการทำกระทงให้หลากหลายขึ้น เช่น กระทงขนมปัง กระทงกระดาษ เพื่อให้ย่อยสลายง่ายและไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม
เพื่อลอยทุกข์โศกโรคภัย
การลอยกระทง ที่หลายคนเชื่อว่า เป็นการลอยทุกข์โศกโรคภัย และสิ่งไม่ดี คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์ ให้ลอยบนผืนน้ำออกไปไกลๆ และเพื่อบูชาพระอุปคุต ชาวไทยภาคเหนือให้ความเคารพแกพระอุปคุตอย่างสูง ซึ่งตามตำนานเล่าว่าเป็นพระมหาเถระรูปหนึ่งที่มีอิทธิฤทธิ์มากสามารถปราบพญามารได้
การลอยกระทงไม่มีพิธีรีตอง เพียงแต่ขอให้มีกระทงจะทำด้วยอะไรก็ได้ จานั้น จุดธูปเทียนปักที่กระทงแล้วอธิษฐานตามที่ตนปรารถนา เสร็จแล้วจึงลอยไปที่แม่นำลำคลอง เป็นอีกหนึ่งประเพณีไทยๆ ที่ควรอนุรักษ์ และสืบทอดต่อลูกหลานต่อไป