วันการประมง
พูดถึงการประมง หลายคนก็คงจะนึกถึงการจับปลา และสัตว์น้ำ หรือสัตว์น้ำเพื่อการยังชีพ หรือนำมาจำหน่าย ซึ่งในแต่ละวัน จะมีการทำประมงในจังหวัดที่ติดกับแม่น้ำ หรือทะเล มีทั้งแบบถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย รวมถึงการเพาะปลูกในน้ำในสภาพแวดล้อมที่ควบคุมไว้ การเพาะปลูกในน้ำจืด น้ำกร่อย ในทะเลอย่าง ฟาร์มปลา ฟาร์มกุ้ง ฟาร์มหอย ฟาร์มหอยมุก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัวชาวประมงนั่นเอง
ความหมายของวันประมง
การประมง หรือ ประมง หมายถึง มนุษย์ผู้กระทำกับปลาหรือสัตว์น้ำอื่นๆ รวมถึงการดูแลรักษาปลาสวยงามและการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ประมง
วันประมงในประเทศไทย
รัฐบาลเล็งเห็นโครงการบำรุงพันธุ์ปลา แบบประชาอาสา สามารถสนับสนุนวัตถุประสงค์ของวันประมงแห่งชาติ ซึ่งทา
กรมประมงได้ประสานงานกับกองทัพเรือ และมีความเห็นร่วมกันให้ วันที่ 13 เมษายน (ต่อมาเปลี่ยนเป็นวันที่ 21 กันยายน) ซึ่งเป็นวันสงกรานต์ ซึ่งเป็นวันที่หยุดปฏิบัติภารกิจประจำวัน คืองดการทำประมงหนึ่งวัน เพื่อไปทำบุญตักบาตร ปล่อยนก ปล่อยปลา เพื่อความเป็นสิริมงคล แก่ตัวเองและครอบครัว
วันที่จัดกิจกรรมวันประมงแห่งชาติ
วันประมงแห่งชาติตรงกับวันที่ 21 กันยายน ของทุกปี เพื่อเป็นการสนับสนุนในการทำอาชีพประมงและเป็นที่ระลึก สร้างขวัญกำลังใจในการประกอบอาชีพของชาวประมงไทย
ปฏิทินวันการประมง
วันการประมง พ.ศ.2558 ตรงกับ วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ.2558 / วันจันทร์ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีมะแม
วันการประมง พ.ศ.2559 ตรงกับ วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ.2559 / วันพุธ แรม ๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีวอก
วันการประมง พ.ศ.2560 ตรงกับ วันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน พ.ศ.2560 / วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีระกา
วันการประมง พ.ศ.2561 ตรงกับ วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ.2561 / วันศุกร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีจอ
วันการประมง พ.ศ.2562 ตรงกับ วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ.2562 / วันเสาร์ แรม ๘ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีกุน
วันการประมง พ.ศ.2563 ตรงกับ วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ.2563 / วันจันทร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีชวด
วันการประมง พ.ศ.2564 ตรงกับ วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ.2564 / วันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีฉลู
วันการประมง พ.ศ.2565 ตรงกับ วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ.2565 / วันพุธ แรม ๑๑ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีขาล
วันการประมง พ.ศ.2566 ตรงกับ วันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน พ.ศ.2566 / วันพฤหัสบดี ขึ้น ๗ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีเถาะ
วันการประมง พ.ศ.2567 ตรงกับ วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ.2567 / วันเสาร์ แรม ๔ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีมะโรง
วันการประมง พ.ศ.2568 ตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ.2568 / วันอาทิตย์ แรม ๑๔ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีมะเส็ง
ประวัติวันประมงแห่งชาติ
เพื่อเป็นการสนับสนุนในการทำอาชีพประมง และเป็นที่ระลึก สร้างขวัญกำลังใจในการประกอบอาชีพของชาวประมงไทย จึงได้จัดให้มีวันประมงแห่งชาติซึ่งจะตรงกับวันที่ 21 กันยายนของทุกปี โดยวันประมงแห่งชาตินี้มีที่มาจากสหกรณ์ประมงจังหวัดสมุทรสาคร ที่ได้ทำหนังสือ ถึงนายกรัฐมนตรี คือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เสนอให้รัฐบาลกำหนดวันประมงแห่งชาติขึ้น เพื่อให้เป็นกำลังใจในการประกอบอาชีพ และอาสาปกป้องประเทศทางด้านทะเล เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2525
กรมประมงพิจารณาว่า อาชีพการประมงทางทะเลเป็นอาชีพที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศปีละมากมาย อีกทั้งยังต้องเสี่ยงภัยจากอันตรายในน่านน้ำ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ช่วยแจ้งข่าวสารทางทะเลที่อาจเป็นภัยอันตรายต่อประเทศให้แก่หน่วยงานราชการทราบทันแก่เหตุการณ์ จึงจัดให้มีวันสำคัญ คือ วันประมงแห่งชาติขึ้น โดยก่อนหน้านั้นได้มีการพิจารณาร่วมกันระหว่างกรมประมง , ราชบัณฑิตยสถานและกรมศิลปากรที่ร่วมกันพิจารณาความเหมาะสม โดยได้รับมอบจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งได้รับมอบต่อจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยมีคำสั่งจาก นายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ทั้งนี้ เพื่อเป็นที่ระลึกและเป็นขวัญกำลังใจในการประกอบอาชีพ อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนอาชีพประมง โดยจัดตั้งวันประมงขึ้น ตรงกับวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี
ต่อมาคณะรัฐมนตรีเห็นชอบการเปลี่ยนแปลงวันประมงแห่งชาติ จากเดิมวันที่ 13 เมษายนของทุกปี เป็นวันที่ 21 กันยายนของทุกปี ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ เหตุเพราะปัจจุบันสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยโดยรวมในช่วงเดือนเมษายนแล้งมากในทุกจังหวัด แหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำต่าง ๆ มีปริมาณน้ำค่อนข้างน้อย สภาพอากาศที่ร้อนทำให้พันธุ์สัตว์น้ำที่กรมประมงเตรียมมาให้ ประชาชนปล่อยในวันที่ 13 เมษายนมีอัตราการตายสูง ประกอบกับในช่วงวันที่ 13 -15 เมษายนของทุกปีตรงกับเทศกาลสงกรานต์เป็นวันหยุดราชการประจำปี โดยเน้นให้เป็นวันครอบครัว ประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนา ทำให้แต่ละปีมีผู้เข้าร่วมงานวันประมงแห่งชาติไม่มากเท่าที่ควร ผลที่ได้รับจากการจัดงานไม่คุ้มค่ากับค่าใช้จ่าย
ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการจัดงานวันประมงแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เห็นควรเปลี่ยนแปลงวันประมงแห่งชาติ จากเดิมวันที่ 13 เมษายนของ ทุกปีเป็นวันที่ 21 กันยายนของทุกปี เพราะเดือนกันยายนเป็นช่วงฤดูฝน แหล่งน้ำต่าง ๆ มีปริมาณน้ำมาก สภาพทางธรรมชาติของแหล่งน้ำเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำวัยอ่อน ซึ่งได้จัดให้วันที่ 21 กันยายน เป็นวันสถาปนากรมประมง ดังนั้น เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีพระบรมราชโองการเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2469 ให้ตั้งกรมรักษาสัตว์น้ำขึ้น ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นกรมการประมงและกรมประมงตามลำดับ และเพื่อเป็นการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ที่สนพระทัยในกิจการด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนการศึกษาให้แก่ข้าราชการหรือนักเรียนไปศึกษาวิชาเพาะพันธุ์ปลาในต่างประเทศ นอกจากนี้ทางราชการยังถือว่าเป็น "วันขยายพันธุ์ปลาแห่งชาติ" อีกด้วย
กิจกรรมวันประมง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมประมง) ได้ดำเนินการ โดยจัดงานวันประมงแห่งชาติขึ้นเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี 2527 จนถึงปัจจุบัน หมุนเวียนจัดงานระดับประเทศตามจังหวัดต่าง ๆ
ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ
เนื่องในวันประมง มีการจัดกิจกรรมด้านการประมงโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านนี้ เช่น กรมประมง กิจกรรมที่สำคัญเช่น การปล่อยพันธุ์ปลาหายากหรือขยายพันธุ์ได้ยากลงสู่แหล่งน้ำ และวันนี้ยังเป็นที่รู้กันว่าจะมีการหยุดการทำประมง หยุดการหาปลา ทำร้ายและฆ่าปลาหนึ่งวัน และส่งเสริมให้มีการปล่อยปลาในแหล่งน้ำต่าง ๆ รวมทั้งในทะเล เพื่อเป็นการชดเชยสำหรับการที่ได้ทำการประมงมาตลอดปี
จัดนิทรรศการและกิจกรรมต่างๆ
มีการนิทรรศการความรู้ด้านการประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีการจำหน่ายการแปรรูปสัตว์น้ำ การจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ประมง
กิจกรรมประกวดวาดภาพ
การประกวดวาดภาพ ประกวดคำขวัญ เรียงความ รวมทั้งการแข่งขันต่าง ๆ ที่จะทำให้เด็กๆ เยาวชน ได้รู้จักสัตว์ประมง และการอนุรักษ์สัตว์น้ำ
ทำบุญตักบาตร
ชาวประมงจะไปทำบุญตักบาตร ปล่อยนก ปล่อยปลา เพื่อความเป็นสิริมงคล ซึ่งหลังจากที่มีการทำประมงมาตลอด วันประมงแห่งชาติ จะมีการหยุดหาปลาและจับสัตว์น้ำหนึ่งวัน
ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็มีการจัดกิจกรรมที่แตกต่างกันออกไป โดยส่วนใหญ่จะเน้นความสำคัญ การพัฒนาอาชีพด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของกรมประมง การดูแล และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และการอนุรักษ์สัตว์น้ำ เป็นต้น
แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมวันประมง
การพัฒนาอาชีพด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของกรมประมง อาทิ การเลี้ยงปลาในกระชัง การเลี้ยงปลาในนาข้าว การเลี้ยงปลาในบ่อพลาสติก การปรับเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่พิจารณาดำเนินกิจกรรมให้ตอบสนองความต้องการของผู้เลี้ยง ตามศักยภาพของพื้นที่
ส่งเสริมแนวทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
เพื่อส่งเสริมให้ชาวประมงมีความรู้ด้านการประมงพัฒนาอาชีพของเกษตรกรด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและ สามารถผลิตสัตว์น้ำเพื่อบริโภคในครัวเรือน
ถ่ายทอดความรู้
การถ่ายทอดความรู้ เป็นวิธีที่ให้ความรู้ความเข้าใจได้ง่ายที่สุด คือการถ่ายทอดความรู้ระหว่างเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการประมงกับชาวบ้าน เกษตรกร ชาวประมง เพราะได้เข้าถึงปัญหาของเกษตรกรอย่างแท้จริง แต่มีข้อเสียคืออาจจะใช้เวลาและงบประมาณมาก จึงทำการส่งเสริมได้น้อย
จัดเจ้าหน้าที่ให้ความรู้แก่กลุ่มประมง
การจัดเจ้าหน้าที่ส่งเสริมเข้าไปให้คำแนะนำซึ่งอาจจะทำให้เกิดการรวมตัวกันยากสักหน่อย เพราะการจัดกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาหรือความสนใจในการประมงที่เหมือนกันหรือคล้ายกันให้อยู่กลุ่มเดียวกัน มีมาก แต่กว่าจะทำให้เกิดการรวมตัวกันนั้น แต่ละคนมักจะไม่ค่อยมีเวลา
การส่งเสริมโดยการผ่านสื่อต่างๆ
ซึ่งการส่งเสริมทางโทรทัศน์จะได้ผลมากที่สุดเพราะบ้านส่วนใหญ่มีโทรทัศน์ทำให้ได้รับข่าวสารง่ายที่สุด เพราะการส่งเสริมการประมงผ่านสื่อ อย่างเป็นโทรทัศน์จะมีรายการเกี่ยวกับเกษตรกร ส่วนวิทยุจะมีคลื่นวิทยุให้คำแนะนำเกี่ยวกับการประมง หนังสือพิมพ์ก็จะมีคอลัมน์เกี่ยวกับเกษตรกร นิตยสารการเกษตร การจัดนิทรรศการส่งเสริมการประมง การจัดการประกวดต่างๆเกี่ยวกับผลผลิตทางการประมง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการให้ข้อมูล และความรู้แก่เกษตรกร และชาวประมงได้ในระดับหนึ่ง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการจัดการทรัพยากรการประมง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงว่าประชาชนในชนบทยังขาดสารอาหารโปรตีนซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ปลาน้ำจืดเป็นแหล่งอาหารราคาถูกที่ให้สารอาหารโปรตีน หาได้ในท้องถิ่นแต่แหล่งน้ำธรรมชาติมีความเสื่อมโทรม ทำให้ปริมาณการผลิตปลาจากแหล่งน้ำ ไม่เพียงพอกับความต้องการ จึงได้เกิดแนวพระราชดำริและพระราชกรณียกิจในด้านการจัดการทรัพยากรประมง
พระราชทานพันธุ์ปลาไปทั่วประเทศ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพันธุ์ปลาไปทั่วประเทศ บ่อยครั้งที่ทรงปล่อยปลาลงตามแหล่งน้ำต่างๆ ด้วยพระองค์เองเพื่อให้มีทรัพยากรสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้น เพราะที่ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดามีบ่อเพาะเลี้ยงปลานิล และมีพันธุ์ปลาพระราชทาน มีบ่อเพาะพันธุ์จำนวน 6 บ่อ
ทรงศึกษาและทำการทดลองการจัดทรัพยากรการประมง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงห่วงใยถึงการทำประมงของราษฎรและทรงตระหนักถึงความจำเป็นในการจัดการทรัพยากรประมง จึงโปรดให้มีกิจกรรมการทดลองวิจัยทางด้านการจัดการทรัพยากรประมง ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ อันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้ง 6 แห่ง โดยทรงเน้นให้ทำการศึกษาการพัฒนาด้านการประมง ศึกษาในด้านวิชาการที่จะนำผลมาใช้ในท้องที่และสามารถปฏิบัติได้จริง นำความรู้ที่ค้นพบมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการประกอบอาชีพของประชาชนโดยให้จัดระเบียบในด้านการบริหารการจับปลา และไม่ทำลายพันธุ์ปลา ทำให้ประชาชนได้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
ฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรประมง
พระองค์ทรงมุ่งมั่นในงานด้านการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรประมงควบคู่ไปกับโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริซึ่งกระจายครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ การสงวนพันธุ์และเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ พร้อมเร่งรัดปล่อยพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาโตเร็วที่เหมาะสมในแต่ละท้องที่ลงในแหล่งน้ำต่างๆ เพื่อให้มีสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆไว้บริโภค รวมถึงพันธุ์ปลาที่หายาก และทรงให้กำลังใจแก่ผู้ค้นคว้า จนในที่สุดก็สามารถผสมเทียมพันธุ์ปลาชนิดนี้ได้สำเร็จ
นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงมีพระราชดำริในการจัดการทรัพยากรชายฝั่งเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ เพื่อให้มีการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำโดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาด้วยการกำหนดเขตการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำให้เป็นสัดส่วน