บทความ ตั้งชื่อ ทักษา
กด Like , Share ให้ด้วยนะครับ
ดูดวงส่วนตัวทางโทรศัพท์
โหราพยากรณ์
ทักษา
ทักษา ทักษาปกรณ์ เป็นหลักการตั้งชื่อพื้นฐานตามโหราศาสตร์ที่สำคัญ คนไทยทั่วไปนิยมยึดถือปฏิบัติกันมากที่สุด ตามที่โบราณาจารย์ท่านได้กำหนด คำว่าทักษา ในทางโหราศาสตร์มีใช้หลายตำรา ทักษาหมายถึงดาวอัฏฐเคราะห์ ทั้ง 8 ที่มีลำดับการจัดเรียงเฉพาะ คือ พระอาทิตย์ (1) พระจันทร์ (2) พระอังคาร (3) พระพุธ (4) พระเสาร์ (7) พระพฤหัสบดี (5) พระราหู (8) และพระศุกร์ (6) ในการใช้ทักษาจะแทนด้วยวันเกิดซึ่งจะมีเพิ่ม พระราหู (8) หรือวันพุธกลางคืนเข้ามาด้วย เพื่อการอธิบายขอแยกเป็น 2 ส่วน คือ ภูมิ และ ทักษา
ภูมิ หรือตำแหน่งจะมี 8 ภูมิ แต่ละภูมิหรือตำแหน่ง จะมีเรื่องราว ชื่อความหมายความเป็นมงคล อยู่ โดยจัดเรียงลำดับ ได้แก่
บริวาร
ส่งเสริม แก้ไขเรื่อง บุตร สามี ภรรยา ลูกน้อง คนในปกครอง คนในบ้าน รวมไปจนถึงเพื่อนและมิตรสหาย สัตว์เลี้ยง การเกื้อหนุนจุนเจือไม่ขาด บารมี ผู้ใต้บังคับบัญชาให้ความเคารพ น่าเชื่อถือ มีดีมีเด่นในคนหมู่มาก
อายุ
ส่งเสริม แก้ไขเรื่อง วิถีความเป็นอยู่ สุขภาพดี แข็งแรง อายุยืนยาว ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บร้ายแรงเบียดเบียน ไม่เครียด กายเป็นสุข ใจเป็นสุข
เดช
ส่งเสริม แก้ไขเรื่อง บารมี เกียรติยศ ชื่อเสียง อำนาจ ให้คนเคารพยำเกรง การควบคุมบังคับบัญชาคนได้ ผู้ใต้บังคับบัญชาเชื่อฟัง กล้าหาญ เด็ดเดี่ยวจริงจังหนักแน่น เข้มแข็ง
ศรี
ส่งเสริม แก้ไขเรื่อง สิ่งที่เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต หลักทรัพย์สิน บ้าน เรือกสวนไร่นา อสังหาริมทรัพย์ โชคลาภ เสน่ห์ที่ทำให้คนรักใคร่เมตตา มีสิริมงคล
มูละ
ส่งเสริม แก้ไขเรื่อง ทรัพย์ ทรัพย์สินเงินทอง ทุนทรัพย์ผล ประโยชน์ หรือมรดก หลักฐานความมั่นคง ทำมาค้าขึ้น มีกำไร ประสบความสำเร็จในเรื่องเงิน ๆทอง ๆ
อุตสาหะ
ส่งเสริม แก้ไขเรื่อง ความขยันหมั่นเพียร ให้เกิดผลสำเร็จ มีมานะอุตสาหะ หนักเอาเบาสู้ ไม่ท้อถอย มีความพยายามของตนเอง มีความรับผิดชอบ หัวคิดริเริ่มพยายาม แรงจูงใจ ทิฐิมานะ การประกอบกิจการค้า การเกษตรกรรม
มนตรี
ส่งเสริม แก้ไขเรื่อง การอุปถัมภ์ค้ำชู ส่งเสริม อุปการะ สงเคราะห์เกื้อหนุนจากผู้ใหญ่ ครูอาจารย์ เจ้านาย และมีผู้ให้การช่วยเหลือ การดำเนินชีวิตและหน้าที่การงาน ครอบครัว ชอบไฝ่รู้
กาลกิณี
โชคร้าย อัปมงคล ศัตรูคู่แข่ง คู่อาฆาต อุปสรรค ความยุ่งยาก ติดขัด เสียหาย วุ่นวายในการดำเนินชีวิต ความเหน็ดเหนื่อย ไม่มีโชคลาภห้ามนำอักษรในวรรคกาลกิณี นี้มาตั้งชื่อ
ทักษา แทนด้วยดาวอัฏฐเคราะห์ หรือพระเคราะห์ทั้ง 8 ตามวันเกิด (การนับวันในทางโหราศาสตร์ซึ่งมีเพิ่ม พระราหู หรือพุธกลางคืน)
ดาวอัฏฐเคราะห์ หรือทักษามีการจัดเรียงลำดับแบบเฉพาะสลับตำแหน่งกันไม่ได้ คือ พระอาทิตย์ (1) พระจันทร์ (2) พระอังคาร (3) พระพุธ (4) พระเสาร์ (7) พระพฤหัสบดี (5) พระราหู (8) และพระศุกร์ (6) ตามลำดับ แตกต่างจากการจัดลำดับวันตามปรกติ ซึ่งเรียง วันอาทิตย์ - วันเสาร์ หรือ ราหู โดยแต่ละวันหรือดาวพระเคราะห์แต่ละดวง จะมีอักขระ และชื่อนามประจำตำแหน่ง ดังนี้
อาทิตย์ (1) |
ครุฑนาม |
อ และ สระต่าง ๆ |
จันทร์ (2) |
พยัคนาม |
ก ,ข ,ค ,ฆ ,ง |
อังคาร (3) |
ราชสีนาม |
จ ,ฉ ,ช ,ซ ,ฌ ,ญ |
พุธ (4) |
โสณนาม |
ฎ ,ฏ ,ฐ ,ฑ ,ฒ ,ณ |
เสาร์ (7) |
นาคนาม |
ด ,ต ,ถ ,ท ,ธ ,น |
พฤหัสบดี (5) |
มุสิกนาม |
บ ,ป ,ผ ,ฝ ,พ ,ฟ ,ภ ,ม |
ราหู (8) |
คชนาม |
ย ,ร ,ล ,ว |
ศุกร์ (6) |
อัชชนาม |
ศ ,ษ ,ส ,ห ,ฬ ,ฮ |
อักขระอาทิตย์ (1) อนุโลมให้ใช้ ไม้หันอากาศ และเครื่องหมายทัณฑฆาต (การันต์) ได้
โดยเริ่มแรกในการตั้งชื่อหรือวิเคราะห์ทำนายชื่อตามหลักทักษา ต้องทราบวันเกิดก่อน ซึ่งเป็นวันทางโหราศาสตร์ จันทรคติเท่านั้น จะแตกต่างตามหลักสากลหรือวันเกิดตามสูติบัตร กล่าวคือ
การนับรอบวันจันทรคติจะใช้แบบนั้นทั้งหมด จะมีวันพุธที่แยกย่อยคือ เกิดวันพุธ ช่วงเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น ถึง ดวงอาทิย์ตก ประมาณเวลา 06.00 - 17.59 น. จะเรียกว่าวันพุธกลางวัน หากเกิดช่วงเวลาหลังดวงอาทิย์ตกในวันพุธ ถึง ก่อนอาทิตย์ขึ้นวันรุ่งขึ้น(พฤหัสบดี) ประมาณเวลา 18.00 - 05.59น. จะเรียกว่าวันพุธกลางคืนหรือวันราหู
ตัวอย่าง เกิดวันอาทิตย์ก็ จะเริ่มนับจากเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น หรือ 06.00น. ของเช้าวันอาทิตย์ไปจนถึง เวลา เวลาก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นของอีกวันหนึ่ง หรือ เวลาประมาณ 05.59 น.ของวันจันทร์ ยังคงนับเป็นวันอาทิตย์อยู่ เมื่อเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น หรือ เวลา 06.00น. ของเช้าวันจันทร์เมื่อใด ถือเป็นวันจันทร์
เช่น ตามสูติบัตร บอกว่าท่านเกิดอาทิตย์เวลา 04.13น. แต่เมือนับตามปฏิทินจันทรคติไทยจะถือว่าเป็นวันเสาร์อยู่ เพราะยังไม่เลยเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น หรือ 06.00น. ซึ่งเป็นช่วงย่างเข้าวันอาทิตย์จริงๆ ตามจันทรคติ , ตามสูติบัตร บอกว่าท่านเกิดพฤหัสบดีเวลา 05.13น. แต่เมือคิดตามหลักปฏิทินจันทรคติถือว่าเป็นวันพุธอยู่ เพราะยังไม่เลยเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น หรือ 06.00น. และเป็นวันพุธกลางคืน เพราะอยู่ช่วงเวลาหลังดวงอาทิย์ตกในวันพุธ ถึง ก่อนอาทิตย์ขึ้นวันรุ่งขึ้น(พฤหัสบดี) 18.00 - 05.59น.ดูการนับวันทางโหราศาสตร์
ในเรื่องวันเกิดนี้หากท่านไม่แน่ใจแนะนำให้ตรวจสอบก่อน ตรวจสอบวันเดือนปีเกิด (โหราศาสตร์/จันทรคติ)คลิ๊กที่นี่
เมื่อทราบวันเกิด และรู้จัก ภูมิ และ ทักษา ตั้งต้นแล้ว แล้วต่อไปผมขออธิบายต่อในเรื่องวิธีการใช้งาน หรือการพิจารณาชื่อตามหลักทักษา
การวางหรือหมุนทักษามีวิธีการคือ ตั้งภูมิตำแหน่งคงที่แล้วหมุนทักษา หรือ ให้ทักษาคงที่แล้วหมุนภูมิก็ได้ โดยให้ทักษาวันเกิด อยู่ที่ตำแหน่งบริวารเสมอ จะได้อักขระภูมิทักษาทั้งหมด โดยอัขระต่าง ๆจะหมุนตามตำแหน่ง ย้ายไปอยู่ภูมิต่าง ๆ เช่นเกิดวันอาทิตย์ ให้หมุนอาทิตย์มาอยู่ที่ภูมิบริวาร เป็นต้น
เกิดวันอาทิตย์
ให้หมุนดาวอาทิตย์ตั้งต้นที่บริวาร ดาวอื่น ๆถัดไป (เรียงตามดาวอัฏฐเคราะห์ ) รวมทั้งอักขระประจำดาวนั้น ๆ จะหมุนตามและอยู่ประจำตำแหน่ง บริวาร ,อายุ ,เดช ,ศรี ,มูละ ,อุตสาหะ และ กาลกิณี ตามลำดับ จะได้อักษรตามภูมิทักษาดังนี้
บริวาร |
อาทิตย์ (1) |
ครุฑนาม |
อ และ สระต่าง ๆ |
อายุ |
จันทร์ (2) |
พยัคนาม |
ก ,ข ,ค ,ฆ ,ง |
เดช |
อังคาร (3) |
ราชสีนาม |
จ ,ฉ ,ช ,ซ ,ฌ ,ญ |
ศรี |
พุธ (4) |
โสณนาม |
ฎ ,ฏ ,ฐ ,ฑ ,ฒ ,ณ |
มูละ |
เสาร์ (7) |
นาคนาม |
ด ,ต ,ถ ,ท ,ธ ,น |
อุตสาหะ |
พฤหัสบดี (5) |
มุสิกนาม |
บ ,ป ,ผ ,ฝ ,พ ,ฟ ,ภ ,ม |
มนตรี |
ราหู (8) |
คชนาม |
ย ,ร ,ล ,ว |
กาลกิณี |
ศุกร์ (6) |
อัชชนาม |
ศ ,ษ ,ส ,ห ,ฬ ,ฮ |
เกิดวันจันทร์
ให้หมุนดาวจันทร์ตั้งต้นที่บริวาร ดาวอื่น ๆถัดไป (เรียงตามดาวอัฏฐเคราะห์ ) รวมทั้งอักขระประจำดาวนั้น ๆ จะหมุนตามและอยู่ประจำตำแหน่ง บริวาร ,อายุ ,เดช ,ศรี ,มูละ ,อุตสาหะ และ กาลกิณี ตามลำดับ จะได้อักษรตามภูมิทักษาดังนี้
บริวาร |
จันทร์ (2) |
พยัคนาม |
ก ,ข ,ค ,ฆ ,ง |
อายุ |
อังคาร (3) |
ราชสีนาม |
จ ,ฉ ,ช ,ซ ,ฌ ,ญ |
เดช |
พุธ (4) |
โสณนาม |
ฎ ,ฏ ,ฐ ,ฑ ,ฒ ,ณ |
ศรี |
เสาร์ (7) |
นาคนาม |
ด ,ต ,ถ ,ท ,ธ ,น |
มูละ |
พฤหัสบดี (5) |
มุสิกนาม |
บ ,ป ,ผ ,ฝ ,พ ,ฟ ,ภ ,ม |
อุตสาหะ |
ราหู (8) |
คชนาม |
ย ,ร ,ล ,ว |
มนตรี |
ศุกร์ (6) |
อัชชนาม |
ศ ,ษ ,ส ,ห ,ฬ ,ฮ |
กาลกิณี |
อาทิตย์ (1) |
ครุฑนาม |
อ และ สระต่าง ๆ |
เกิดวันอังคาร
ให้หมุนดาวอังคารตั้งต้นที่บริวาร ดาวอื่น ๆถัดไป (เรียงตามดาวอัฏฐเคราะห์ ) รวมทั้งอักขระประจำดาวนั้น ๆ จะหมุนตามและอยู่ประจำตำแหน่ง บริวาร ,อายุ ,เดช ,ศรี ,มูละ ,อุตสาหะ และ กาลกิณี ตามลำดับ จะได้อักษรตามภูมิทักษาดังนี้
บริวาร |
อังคาร (3) |
ราชสีนาม |
จ ,ฉ ,ช ,ซ ,ฌ ,ญ |
อายุ |
พุธ (4) |
โสณนาม |
ฎ ,ฏ ,ฐ ,ฑ ,ฒ ,ณ |
เดช |
เสาร์ (7) |
นาคนาม |
ด ,ต ,ถ ,ท ,ธ ,น |
ศรี |
พฤหัสบดี (5) |
มุสิกนาม |
บ ,ป ,ผ ,ฝ ,พ ,ฟ ,ภ ,ม |
มูละ |
ราหู (8) |
คชนาม |
ย ,ร ,ล ,ว |
อุตสาหะ |
ศุกร์ (6) |
อัชชนาม |
ศ ,ษ ,ส ,ห ,ฬ ,ฮ |
มนตรี |
อาทิตย์ (1) |
ครุฑนาม |
อ และ สระต่าง ๆ |
กาลกิณี |
จันทร์ (2) |
พยัคนาม |
ก ,ข ,ค ,ฆ ,ง |
เกิดวันพุธ (พุธกลางวัน)
ให้หมุนดาวพุธตั้งต้นที่บริวาร ดาวอื่น ๆถัดไป (เรียงตามดาวอัฏฐเคราะห์ ) รวมทั้งอักขระประจำดาวนั้น ๆ จะหมุนตามและอยู่ประจำตำแหน่ง บริวาร ,อายุ ,เดช ,ศรี ,มูละ ,อุตสาหะ และ กาลกิณี ตามลำดับ จะได้อักษรตามภูมิทักษาดังนี้
บริวาร |
พุธ (4) |
โสณนาม |
ฎ ,ฏ ,ฐ ,ฑ ,ฒ ,ณ |
อายุ |
เสาร์ (7) |
นาคนาม |
ด ,ต ,ถ ,ท ,ธ ,น |
เดช |
พฤหัสบดี (5) |
มุสิกนาม |
บ ,ป ,ผ ,ฝ ,พ ,ฟ ,ภ ,ม |
ศรี |
ราหู (8) |
คชนาม |
ย ,ร ,ล ,ว |
มูละ |
ศุกร์ (6) |
อัชชนาม |
ศ ,ษ ,ส ,ห ,ฬ ,ฮ |
อุตสาหะ |
อาทิตย์ (1) |
ครุฑนาม |
อ และ สระต่าง ๆ |
มนตรี |
จันทร์ (2) |
พยัคนาม |
ก ,ข ,ค ,ฆ ,ง |
กาลกิณี |
อังคาร (3) |
ราชสีนาม |
จ ,ฉ ,ช ,ซ ,ฌ ,ญ |
เกิดวันเสาร์
ให้หมุนดาวเสาร์ตั้งต้นที่บริวาร ดาวอื่น ๆถัดไป (เรียงตามดาวอัฏฐเคราะห์ ) รวมทั้งอักขระประจำดาวนั้น ๆ จะหมุนตามและอยู่ประจำตำแหน่ง บริวาร ,อายุ ,เดช ,ศรี ,มูละ ,อุตสาหะ และ กาลกิณี ตามลำดับ จะได้อักษรตามภูมิทักษาดังนี้
บริวาร |
เสาร์ (7) |
นาคนาม |
ด ,ต ,ถ ,ท ,ธ ,น |
อายุ |
พฤหัสบดี (5) |
มุสิกนาม |
บ ,ป ,ผ ,ฝ ,พ ,ฟ ,ภ ,ม |
เดช |
ราหู (8) |
คชนาม |
ย ,ร ,ล ,ว |
ศรี |
ศุกร์ (6) |
อัชชนาม |
ศ ,ษ ,ส ,ห ,ฬ ,ฮ |
มูละ |
อาทิตย์ (1) |
ครุฑนาม |
อ และ สระต่าง ๆ |
อุตสาหะ |
จันทร์ (2) |
พยัคนาม |
ก ,ข ,ค ,ฆ ,ง |
มนตรี |
อังคาร (3) |
ราชสีนาม |
จ ,ฉ ,ช ,ซ ,ฌ ,ญ |
กาลกิณี |
พุธ (4) |
โสณนาม |
ฎ ,ฏ ,ฐ ,ฑ ,ฒ ,ณ |
เกิดวันพฤหัสบดี
ให้หมุนดาวพฤหัสบดีตั้งต้นที่บริวาร ดาวอื่น ๆถัดไป (เรียงตามดาวอัฏฐเคราะห์ ) รวมทั้งอักขระประจำดาวนั้น ๆ จะหมุนตามและอยู่ประจำตำแหน่ง บริวาร ,อายุ ,เดช ,ศรี ,มูละ ,อุตสาหะ และ กาลกิณี ตามลำดับ จะได้อักษรตามภูมิทักษาดังนี้
บริวาร |
พฤหัสบดี (5) |
มุสิกนาม |
บ ,ป ,ผ ,ฝ ,พ ,ฟ ,ภ ,ม |
อายุ |
ราหู (8) |
คชนาม |
ย ,ร ,ล ,ว |
เดช |
ศุกร์ (6) |
อัชชนาม |
ศ ,ษ ,ส ,ห ,ฬ ,ฮ |
ศรี |
อาทิตย์ (1) |
ครุฑนาม |
อ และ สระต่าง ๆ |
มูละ |
จันทร์ (2) |
พยัคนาม |
ก ,ข ,ค ,ฆ ,ง |
อุตสาหะ |
อังคาร (3) |
ราชสีนาม |
จ ,ฉ ,ช ,ซ ,ฌ ,ญ |
มนตรี |
พุธ (4) |
โสณนาม |
ฎ ,ฏ ,ฐ ,ฑ ,ฒ ,ณ |
กาลกิณี |
เสาร์ (7) |
นาคนาม |
ด ,ต ,ถ ,ท ,ธ ,น |
เกิดวันราหู (วันพุธกลางคืน)
ให้หมุนดาวราหูตั้งต้นที่บริวาร ดาวอื่น ๆถัดไป (เรียงตามดาวอัฏฐเคราะห์ ) รวมทั้งอักขระประจำดาวนั้น ๆ จะหมุนตามและอยู่ประจำตำแหน่ง บริวาร ,อายุ ,เดช ,ศรี ,มูละ ,อุตสาหะ และ กาลกิณี ตามลำดับ จะได้อักษรตามภูมิทักษาดังนี้
บริวาร |
ราหู (8) |
คชนาม |
ย ,ร ,ล ,ว |
อายุ |
ศุกร์ (6) |
อัชชนาม |
ศ ,ษ ,ส ,ห ,ฬ ,ฮ |
เดช |
อาทิตย์ (1) |
ครุฑนาม |
อ และ สระต่าง ๆ |
ศรี |
จันทร์ (2) |
พยัคนาม |
ก ,ข ,ค ,ฆ ,ง |
มูละ |
อังคาร (3) |
ราชสีนาม |
จ ,ฉ ,ช ,ซ ,ฌ ,ญ |
อุตสาหะ |
พุธ (4) |
โสณนาม |
ฎ ,ฏ ,ฐ ,ฑ ,ฒ ,ณ |
มนตรี |
เสาร์ (7) |
นาคนาม |
ด ,ต ,ถ ,ท ,ธ ,น |
กาลกิณี |
พฤหัสบดี (5) |
มุสิกนาม |
บ ,ป ,ผ ,ฝ ,พ ,ฟ ,ภ ,ม |
เกิดวันศุกร์
ให้หมุนดาวศุกร์ตั้งต้นที่บริวาร ดาวอื่น ๆถัดไป (เรียงตามดาวอัฏฐเคราะห์ ) รวมทั้งอักขระประจำดาวนั้น ๆ จะหมุนตามและอยู่ประจำตำแหน่ง บริวาร ,อายุ ,เดช ,ศรี ,มูละ ,อุตสาหะ และ กาลกิณี ตามลำดับ จะได้อักษรตามภูมิทักษาดังนี้
บริวาร |
ศุกร์ (6) |
อัชชนาม |
ศ ,ษ ,ส ,ห ,ฬ ,ฮ |
อายุ |
อาทิตย์ (1) |
ครุฑนาม |
อ และ สระต่าง ๆ |
เดช |
จันทร์ (2) |
พยัคนาม |
ก ,ข ,ค ,ฆ ,ง |
ศรี |
อังคาร (3) |
ราชสีนาม |
จ ,ฉ ,ช ,ซ ,ฌ ,ญ |
มูละ |
พุธ (4) |
โสณนาม |
ฎ ,ฏ ,ฐ ,ฑ ,ฒ ,ณ |
อุตสาหะ |
เสาร์ (7) |
นาคนาม |
ด ,ต ,ถ ,ท ,ธ ,น |
มนตรี |
พฤหัสบดี (5) |
มุสิกนาม |
บ ,ป ,ผ ,ฝ ,พ ,ฟ ,ภ ,ม |
กาลกิณี |
ราหู (8) |
คชนาม |
ย ,ร ,ล ,ว |
ใจความหลักของหลักทักษาในการตั้งชื่อ คือ หากเกิดวันใด ห้ามใช้หรือมีอักขระกาลกิณี ของทักษาวันเกิดนั้น ๆ เป็นส่วนประกอบในชื่อโดยเด็ดขาด และภูมิทักษานี้จะใช้ในการวิเคราะห์ตั้งชื่อเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่รวมนามสกุล ทั้งนี้ชื่อตามหลักทักษา จะเน้นหรือให้ความสำคัญเรื่องใดภูมิใดก็ให้เลือกใช้อักษรภูมินั้น ๆ ในชื่ออย่างน้อย 1 ตัว โดยทั่วไปเพศชายมักใช้ วรรคเดช นำหน้าหรือตามหลัง หรือเป็นส่วนประกอบ เพศหญิงมักจะใช้ วรรคศรี นำหน้าหรือตามหลังหรือเป็นส่วนประกอบ
ตัวอย่าง
ชื่อ คนไทย ใจดี เกิด วันเสาร์
คนไทย |
ค + น + ไ + ท + ย |
อุตสาหะ (ค) + บริวาร (น) + มูลละ (ไ) + บริวาร (ท) + เดช (ย) |
ชื่อไม่มีอักขระกาลกิณี ของคนเกิดวันเสาร์ ( ย ,ร ,ล ,ว) ถือเป็นชื่อที่ดีตามตำราทักษา |
อ่านต่อ ... ศาสตร์การตั้งชื่อ เลขศาสตร์ อายตน 6
วิเคราะห์ชื่อ ตามหลัก ทักษา ... วิเคราะห์ ทำนายชื่อ
ที่มา/อ้างอิง/ผู้เขียน : จักรกฤษณ์ แร่ทอง - มายโหรา.คอม
หมายเหตุ : เนื้อหาข้างต้นเผยแพร่แก่สาธารณะเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา/วิทยาทานเท่านั้น
บันทึก/เผยแพร่ : วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2554
อ่าน ใช้งาน บทความตั้งชื่อ ทักษา 034 แล้ว
เขียนรีวิว และคลิก Like , Share ให้ด้วยนะครับ :)
4.94
★ จาก
94 รีวิว