ปฏิทินโหราศาสตร์ไทย สุริยยาตร์

พ.ศ./ค.ศ.
ปฏิทินฯ สุริยยาตร์

แนะนำ บริการให้ฤกษ์บุคคลตามหลักโหราศาสตร์ขั้นสูง ฤกษ์แต่งงาน ออกรถ ผ่าคลอด ลาสิกขา ยกเสาเอก เปิดร้าน บ้านใหม่ ฯลฯ ... รายละเอียด
ที่ : วันที่ทางสุริยคติ , วัน ( : อาทิตย์ , : จันทร์ , : อังคาร , : พุธ , : พฤหัสบดี , : ศุกร์ , : เสาร์) , ข-ร : ข้างขึ้นข้างแรมทางจันทรคติ (ข : ข้างขึ้น , ร : ข้างแรม) , : เดือนจันทรคติไทย (1 : เดือนอ้าย(๑) , 2 : เดือนยี่(๒) , 3 : เดือนสาม(๓) , 4 : เดือนสี่(๔) , 5 : เดือนห้า(๕) , 6 : เดือนหก(๖) , 7 : เดือนเจ็ด(๗) , 8 : เดือนแปด(๘) , 88 : เดือนแปดหลัง(๘๘) มีเฉพาะในปีอธิกมาส , 9 : เดือนเก้า(๙) , 10 : เดือนสิบ(๑๐) , 11 : เดือนสิบเอ็ด(๑๑) , 12 : เดือนสิบสอง(๑๒) , : วันจันทรคติจีน/ดิถีจีน , : เดือนจันทรคติจีน , อาทิตย์, จันทร์ , อังคาร - มฤตยู : สมผุสดาว (24:00น. เวลาท้องถิ่นกรุงเทพฯ /กรุงเทพฯ นักษัตร์) แบ่งเป็น 3 ช่อง , ช่องที่ 1 = ราศี (0 : เมษ , 1 : พฤษภ , 2 : มิถุน , 3 : กรกฎ , 4 : สิงห์ , 5 : กันย์ , 6 : ตุล, 7 : พิจิก , 8 : ธนู , 9 : มกร , 10 : กุมภ์ , 11 : มีน) , ช่องที่ 2 = องศา (0 - 30) , ช่องที่ 3 = ลิปดา (0 - 60) , ยก : เวลาจันทร์ย้ายราศี (คำนวณแบบพิชัยสงคราม) , ฤกษ์ (จันทร์) : แบ่งเป็น 2 ช่อง , ช่องที่ 1 = ฤกษ์(1 - 27) , ช่องที่ 2 = นาทีฤกษ์ (0 - 59) , ดิถี (จันทร์) : แบ่งเป็น 2 ช่อง , ช่องที่ 1 = ดิถี (0 - 14) , ช่องที่ 2 = นาทีดิถี (0 - 59)
อ่าน ใช้งาน ปฏิทินโหราศาสตร์ไทย มีนาคม พ.ศ.2306 แล้ว เขียนรีวิว และคลิก Like , Share ให้ด้วยนะครับ :)   4.99 จาก 2,055 รีวิว
หมายเหตุ ปฏิทินโหราศาสตร์ไทย สุริยยาตร์ มีนาคม พ.ศ.2306/ค.ศ.1763
ปฏิทินโหราศาสตร์ไทย สุริยยาตร์ ชุดนี้ คำนวณสมผุสดาวตามคัมภีร์สุริยยาตร์และคัมภีร์มานัตต์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2300 - 2700 และเนื่องจากความแตกต่างกันของปฏิทินโหราศาสตร์ไทย แต่ละชุดหรือแต่ละเล่ม เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน ทราบถึงที่มาที่ไป รูปแบบ กฎเกณฑ์ และข้อกำหนดของปฏิทิน สรุปเป็นข้อ ๆ ดังนี้

[1] ปฏิทินโหราศาสตร์ไทยชุดนี้คำนวณสมผุสพระเคราะห์ ตามคัมภีร์สุริยยาตร์ และคัมภีร์มานัตต์ ตั้งจุดคำนวณ ณ เวลา 24:00น. ตามเวลาท้องถิ่นกรุงเทพฯ (UTC+06:42) ซึ่งเป็นเวลามาตรฐานไทยแบบเดิม ก่อนมีการปรับจุดอ้างอิงเวลา จาก จ.กรุงเทพฯ เป็น จ.อุบลราชธานี ใช้เส้นลองจิจูด 105° ตะวันออก เป็นจุดอ้างอิง เวลามาตรฐานประเทศไทย ปัจจุบัน (UTC+07:00) เริ่มใช้ตั้งแต่ 1 เมษายน พ.ศ.2463

เหตุเพราะมีการเปลี่ยนแปลงจุดอ้างอิงเวลามาตรฐานใหม่ แต่เกณฑ์และผลการคำนวณตามคัมภีร์สุริยยาตร์ อ้างอิงเวลาตามพิกัดเวลาท้องถิ่นกรุงเทพฯ (UTC+06:42) แบบดั้งเดิม ไม่ได้ปรับเปลี่ยนเกณฑ์หรือสูตรคำนวณในคัมภีร์ฯ ดังนั้นในการใช้งานปฏิทินโหราศาสตร์ไทย สุริยยาตร์ ต้องปรับฐานเวลาก่อน ดังนี้

ปฏิทินก่อน 1 เมษายน พ.ศ.2463 ยังใช้เวลาท้องถิ่นกรุงเทพฯ (UTC+06:42) เวลาจันทร์ยก เวลาฤกษ์ ดิถี หรืออื่น ๆ แสดงเวลา (UTC+06:42) ทั้งหมด , ถ้าปรับเทียบเวลามาตรฐานปัจจุบัน (UTC+07:00) ให้บวกเพิ่มเวลา 18 นาที (เวลา 18 นาที เป็นส่วนต่างเวลา ของ จ.กรุงเทพฯ และ จ.อุบลราชธานี คำนวณตามลองจิจูด) , เวลาทางดาราศาสตร์ เวลาดวงอาทิตย์ขึ้น ดวงจันทร์ฯ แสดงเวลามาตรฐานปัจจุบัน (UTC+07:00) เทียบเวลาท้องถิ่นกรุงเทพฯ (UTC+06:42) ให้ลบออก 18 นาที , การวางลัคนาไม่ต้องปรับเวลา

ปฏิทินหลัง 1 เมษายน พ.ศ.2463 ซึ่งเริ่มใช้เวลามาตรฐานใหม่ เวลาจันทร์ยก เวลาฤกษ์ ดิถี หรืออื่น ๆ แสดงเวลาท้องถิ่นกรุงเทพฯ (UTC+06:42) ทั้งหมด ถ้าปรับเวลามาตรฐานปัจจุบัน (UTC+07:00) ให้บวกเพิ่มเวลา 18 นาที , การวางลัคนาบางแบบต้องปรับฐานเวลาตามคัมภีร์สุริยยาตร์ก่อน โดยตัดส่วนต่างเวลาท้องถิ่นออกจากเวลาเกิด คือ นำเวลาเกิด ลบด้วย 18 นาที ก่อน ผูกดวงชะตา

เวลาที่แสดงในปฏิทิน มีขีดเส้นประใต้เวลา เป็นเวลาท้องถิ่นกรุงเทพฯ (UTC+06:42) , ไม่มีเส้น เป็นเวลาปัจจุบัน (UTC+07:00)

[2] ช่วงเวลาย้ายราศี เวลาย้ายฤกษ์ดิถี ในปฏิทินโหราศาสตร์ไทย สุริยยาตร์ ชุดนี้ คำนวณราศี ฤกษ์ดิถี ทุกนาที ตั้งแต่ 00.00น.-24.00น. (1,440 นาที) ของแต่ละวัน นำสมผุสเปรียบเทียบนาทีต่อนาที เพื่อหาเวลานาที ย้ายราศี ย้ายฤกษ์ดิถี จริง , สอบทานผลคำนวณดาวย้ายราศี ย้ายฤกษ์ดิถี ละเอียดระดับวินาทีได้ใน "จักรราศีวิภาค ลัคนาฤกษ์" ของปฏิทินรายวันนั้น ๆ หรือ ดูดวง โหราศาสตร์ไทย

[3] ดาวโคจรวิปริต/วิกลคติ มี 3 แบบ คือ พักร์ (พ.) ดาวโคจรถอยหลัง , มณฑ์ (ม.) ดาวโคจรช้ากว่าปรกติ เกิดช่วงก่อนและหลังพักร์ และ เสริต (ส.) ดาวโคจรเร็วกว่าปรกติ , ผลดาวโคจรวิปริตในปฏิทินโหรฯ ชุดนี้ การโคจรวิปริตพักร์ พิจารณาองศา ความเร็ว ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับวันก่อนหน้า ส่วน มณฑ์ และ เสริต พิจารณาเปรียบเทียบความเร็วการโคจรกับค่าความเร็วเฉลี่ยต่อวัน และเนื่องจากเกณฑ์คำนวณด้วยคัมภีร์สุริยยาตร์และคัมภีร์มานัตต์ ผลการโคจรวิปริตอาจไม่ต่อเนื่องในบางช่วงเวลา อาจพักร์ชั่วขณะ (อนุวักระ) อาจขาดช่วงในบางวันเวลา ซึ่งเป็นข้อจำกัดของคัมภีร์ฯ จึงปรับปรุงการแสดงผลใหม่ ให้แสดงการโคจรวิปริตแบบต่อเนื่องเพื่อเห็นภาพรวมการโคจร , ดวงอาทิตย์ และ ดวงจันทร์ โคจรปรกติเดินหน้าเสมอ ส่วน ราหูและเกตุ โคจรถอยหลัง (พักร์) เสมอ , หากใช้การโคจรวิปริต ดู ดาวโคจรวิปริต หรือ กราฟดาว ประกอบ ว่าการโคจรวิปริตรอบนั้น ๆ อยู่ช่วงเริ่มต้นหรือใกล้สิ้นสุด เพื่อพิจารณาเลือกใช้ได้เหมาะสม

[4] กฎเกณฑ์การคำนวณตามคัมภีร์สุริยยาตร์ และคัมภีร์มานัตต์ จากตำราดังนี้ (1.) ประติทิน โหราศาสตร์ พ.ศ.2417-2479. หลวงอรรถวาทีธรรมประวรรต (อ.วิเชียร จันทร์หอม) , (2.) คัมภีร์โหราศาสตร์ไทยมาตรฐาน ฉบับสมบูรณ์. หลวงวิศาลดรุณกร (อ.อั้น สาริกบุตร) , (3.) คัมภีร์สุริยยาตรแลมานัตต์ ฉบับเฉลิมพระเกียรติพระจอมเกล้า อ.วรพล ไม้สน , (4.) ปฏิทินโหราศาสตร์ไทย พ.ศ.2504-2553. อ.ทองเจือ อ่างแก้ว ใช้สอบทานข้อมูลที่ได้จากการประมวลผล ซึ่งผลการคำนวณสมผุสตรงกัน อาจมีต่างกันเพราะตัดเศษลิปดาตอนท้าย , ปฏิทินโหรฯ ชุดนี้ในบางปีได้วางตากลไว้เพื่อตรวจสอบการละเมิดฯ , เกณฑ์คำนวณคัมภีร์สุริยยาตร์ฯ , ประกาศสงกรานต์ พ.ศ.2306

[5] การคำนวณตำแหน่งหรือสมผุสดาว ในระบบโหราศาสตร์แบ่งเป็น 2 ระบบหลัก คือ "นิรายนะ" (Sideral Zodiac / Fixed Zodiac) และ "สายนะ" (Tropical Zodiac / Movable Zodiac) ทั้ง 2 ระบบแตกต่างตรงจุดเริ่มราศีเมษ , เดิมทั้ง 2 ระบบใช้กลุ่มดาวแกะ เป็นจุดเริ่มต้นราศีเมษ 0° เหตุเนื่องจากแกนโลกที่หมุนเอียงและเหวี่ยง (Precession) ส่งผลให้จุดเมษหรือจุดวสันตวิษุวัต (Vernal Equinox) ซึ่งเดิมเคยอยู่ตรงกลุ่มดาวแกะ เคลื่อนที่ออกห่าง ส่งผลให้การสังเกตการณ์ ตำแหน่งดาวเทียบกับดาวฤกษ์ท้องฟ้าเปลี่ยนไป , แนวคิดระบบนิรายนะ นั้นอ้างอิงตำแหน่งดาวฤกษ์หรือกลุ่มดาวแกะแบบเดิม เป็นจุดเริ่มต้นราศีเมษ อาทิตย์ยกเข้าราศีประมาณวันที่ 13 - 17 ของแต่ละเดือน , ส่วนระบบสายนะ ใช้จุดเริ่มต้นราศีเมษ ตามจุดวสันตวิษุวัตที่เปลี่ยนไป ระบบสายนะ อาทิตย์ยกเข้าราศีประมาณวันที่ 21 - 22 ของแต่ละเดือน , ดังนั้นดาวดวงเดียวกันตำแหน่งเดียวกันบนฟ้า การอ่าน องศา ราศี ทั้ง 2 ระบบผลต่างกัน โดยองศาระยะห่างเท่ากับค่าอายนางศะ (Precession) ซึ่งปัจจุบันอายนางศะ (ลาหิรี) ประมาณ 24° และค่อยเพิ่มประมาณ 1 องศาทุก ๆ 72 ปี (ปีละประมาณ 50 พิลิปดา) , ปฏิทินโหราศาสตร์ นิรายนะวิธี ใช้ใน โหราศาสตร์ไทย โหราศาสตร์ตะวันออก พระเวท อินเดียส่วนระบบสายนะ ใช้ใน ระบบดาราศาสตร์ (Astronomy) โหราศาสตร์สากล (Traditional Astrology) โหราศาสตร์ตะวันตก โหราศาสตร์ยูเรเนียน (Uranian Astrology) เป็นต้น

ปฏิทินโหราศาสตร์ไทยที่นิยมใช้กัน มี 2 แบบ คือ (1) ปฏิทินโหราศาสตร์ไทย สุริยยาตร์ เป็นปฏิทินโหราศาสตร์ไทยแบบดั้งเดิม คำนวณตามคัมภีร์สุริยยาตร์และคัมภีร์มานัตต์ (2) ปฏิทินโหราศาสตร์ไทย นิรายนะวิธี ลาหิรี เป็นปฏิทินโหราศาสตร์ไทย คำนวณตามระบบดาราศาสตร์สากล นิรายนะวิธี (Fixed Zodiac) ตัดอายนางศะ แบบลาหิรี , ทั้งนี้ชื่อเรียกวิธีคำนวณต่างกัน แต่โดยหลักการ ปฏิทินโหราศาสตร์ไทยสุริยยาตร์ จัดเป็นระบบนิรายนะ ใช้กลุ่มดาวแกะ เป็นจุดเริ่มต้นราศีเมษแบบเดียวกัน แต่หากดูตามชื่อเรียกอาจเข้าใจว่าเป็นคนละแบบ

[6] ปฏิทินช่วงก่อนปี พ.ศ.2432 แสดงปี พ.ศ. ที่คาบเกี่ยวกัน เพราะในช่วงเวลานั้นการบันทึกวันเวลาของไทย ยังคงนับวันขึ้นปีใหม่ เปลี่ยนปี พ.ศ. ใน วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) ซึ่งในปี พ.ศ.2306 วันขึ้นปีใหม่ตรงกับ วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2306 เวลา 06:27น. ดังนั้นปีตามปฏิทินชุดนี้ พ.ศ.2306(2305) ค่าแรก 2306 เป็นปี พ.ศ. ที่ได้จากปี ค.ศ.+543 คือนับวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) เป็นวันขึ้นปีใหม่ ส่วนค่าในวงเล็บ (2305) เป็นปี พ.ศ. ของไทยที่ใช้บันทึกเวลาในช่วงนั้น ๆ หากใช้ปฏิทินในช่วงเวลาข้างต้น โปรดศึกษากฎเกณฑ์ รวมถึงข้อกำหนดต่าง ๆ ของปฏิทินโดยละเอียด

[6] การเปลี่ยนปีนักษัตรตามคติพราหมณ์เกณฑ์ปฏิทินจันทรคติไทย (โหราศาสตร์แบบไทยได้รับอิทธิพลมาจากพราหมณ์ - ฮินดู) เปลี่ยนปีนักษัตรในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) โดยในปี พ.ศ. เปลี่ยนปีนักษัตรจาก ปีมะเมีย เป็น ปีมะแม ใน วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2306 เวลา 06:27น. เป็นต้นไป , กฎเกณฑ์ปฏิทินจันทรคติไทย การนับปีนักษัตร ข้อกำหนดต่าง ๆ ดู หมายเหตุปฏิทินจันทรคติ พ.ศ.2306

ปี พ.ศ.2306 ปฏิทินจันทรคติเป็น ปีอธิกมาศ (เดือนแปดสองหน) วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ปีอธิกมาศนี้จึงเลื่อนไป 1 เดือน กล่าวคือ วันมาฆบูชา เลือนเป็น วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือนสี่(๔) , วันวิสาขบูชา เลือนเป็น วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือนเจ็ด(๗) , วันอาสฬหบูชา เลือนเป็น วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนแปดหลัง(๘๘) , วันเข้าพรรษา เลือนเป็น วันแรม ๑ ค่ำ เดือนแปดหลัง(๘๘) ส่วนวันออกพรรษาใช้เหมือนเดิมคือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ... หากไม่เลื่อนเดือน ระยะเวลาจำพรรษาคลาดเคลื่อน เพราะนับวันเข้าพรรษาจาก วันแรม ๑ ค่ำเดือนแปด(๘) รวมเดือนแปดหลังอีก 1 เดือน จนถึงวันออกพรรษา วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ได้ระยะเวลารวม 4 เดือน ซึ่งไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย(วัสสูปนายิกาขันธกะ) ที่พระสงฆ์ต้องจำพรรษา 3 เดือน