ปฏิทินไอแคลเลนเดอร์ (iCalendar) พ.ศ.2564/ค.ศ.2021

ปฏิทินไอแคลเลนเดอร์ (iCalendar)
ไอแคลเลนเดอร์ (iCalendar) เป็นมาตรฐานรูปแบบไฟล์คอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับจัดเก็บและแลกเปลี่ยนข้อมูลปฏิทิน เช่น ปฏิทินตารางเวลางาน กำหนดการ นัดหมาย กิจกรรม การแจ้งเตือน ๆ โดยปรกติไฟล์ไอแคลเลนเดอร์ ใช้นามสกุล (Extension) ".ics" , ".ical" , ".ifb" , ".icalendar" , ".csv" และใช้มาตรฐานไฟล์ (MIME Type) "text/calendar" ภายในไฟล์มีลักษณะโครงสร้างรูปแบบเฉพาะตามมาตรฐานเปิด RFC5545 , RFC2445 โดย Internet Engineering Task Force (IETF) แยกประเภทข้อมูลเพื่อจัดเก็บ เช่น วัน เวลาเริ่มต้น-สิ้นสุด สถานที่ รายละเอียดกิจกรรม การแจ้งเตือน สถานะ ทริกเกอร์ ไทม์โซน ฯลฯ

ไฟล์ไอแคลเลนเดอร์ (iCalendar) สามารถใช้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค แมค แท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือ โดยใช้ร่วมกับซอฟต์แวร์ หรือ แอปพลิเคชันปฏิทินที่สนับสนุนไฟล์ไอแคลเลนเดอร์ ตัวอย่าง เวบแอปฯ เช่น Google Calendar , Outlook , Yahoo! โมบายแอปฯ เช่น Google Calendar (Android) , Calendar (iOS) ซอฟต์แวร์ (พีซี/แมค) เช่น Outlook , Thunderbird (Windows) , Apple Calendar (iCal) , Thunderbird (macOS) , Thunderbird , Kontact (Linux) การใช้งานสามารถนำเข้าข้อมูลไอแคลเลนเดอร์ ได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับตัวเลือกซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชันนั้น ๆ เช่น ดาวน์โหลดไฟล์ ICS และ นำเข้าข้อมูล (Import/Add Calendar) หรือ รับข้อมูล (Subscribe) ผ่าน URL

แนะนำ ให้รับข้อมูล (Subscribe) ผ่าน URL เพราะหากมีการอัปเดทจะประมวลผลข้อมูลปฏิทินใหม่โดยอัตโนมัติ หรือ ถ้าเลือกข้อมูลปีปัจจุบัน กดรับข้อมูล ผ่าน URL เพียงครั้งเดียว ปฏิทินอัปเดทข้อมูลให้อัตโนมัติ ตามปีปัจจุบันที่เปลี่ยนไป

มายโหรา.คอม ได้จัดทำไฟล์ปฏิทินไอแคลเลนเดอร์ แบบต่าง ๆ เผยแพร่สาธารณะ เช่น ปฏิทินวันหยุด, ปฏิทินวันพระ, ปฏิทินจันทรคติไทย, ปฏิทินวันพระจีน และ ปฏิทินจันทรคติจีน สามารถกดรับข้อมูล (Subscribe) ผ่าน URL หรือ ดาวน์โหลดไฟล์นำไป Import ได้ดังรายละเอียดด้านล่าง

ปฏิทินวันหยุด

วันหยุดราชการ วันสำคัญ วันหยุดชดเชยฯ พ.ศ.2564/ค.ศ.2021
File  :
URL :

ปฏิทินวันพระ

วันพระ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันอุโบสถ พ.ศ.2564/ค.ศ.2021
File  :
URL :

ปฏิทินจันทรคติไทย

วันจันทรคติไทย ขึ้นแรมค่ำ เดือนปีนักษัตร พ.ศ.2564/ค.ศ.2021
File  :
URL :

ปฏิทินวันพระจีน วันไหว้ สารทจีน

วันพระจีน วันไหว้จีน เทศกาลจีน สารทจีน 24 สารท พ.ศ.2564/ค.ศ.2021
File  :
URL :

ปฏิทินจันทรคติจีน

วันทางจันทรคติจีน เดือนจีน ปีนักษัตรจีน พ.ศ.2564/ค.ศ.2021
File  :
URL :

วิธีการรับ/ยกเลิกข้อมูลปฏิทิน (Subscribe/Unsubscribe)

Apple iPhone/iPad

รับข้อมูลปฏิทิน (Subscribe)

แตะปุ่ม [iPhone/iPad/Mac, Outlook] ปฏิทินไอแคลเลนเดอร์ (iCalendar) ที่ต้องการรับข้อมูล
แตะ ตกลง (Yes) > แตะ ดูกิจกรรม (View Event)

ยกเลิกข้อมูลปฏิทิน (Unsubscribe)

ไปที่การตั้งค่า (Setting) > ปฏิทิน (Calendar) > บัญชี (Accounts)
แตะ ปฏิทินที่ต้องการยกเลิก > ลบบัญชี (Delete Account)

Google Calendar

รับข้อมูลปฏิทิน (Subscribe)

เพิ่มปฏิทินโดยการคลิกปุ่ม (ด้านบน)

คลิกปุ่ม [Google] ปฏิทินไอแคลเลนเดอร์ (iCalendar) ที่ต้องการรับข้อมูล
ข้อความตอบรับข้อมูลปฏิทิน คลิกปุ่ม "Add" เพื่อรับปฏิทิน
รอสักครู่ ปฏิทินแสดงในเมนู "Other calendars"

เพิ่มปฏิทินผ่าน URL

เปิด Google Calendar
ด้านซ้ายมือเมนู "Other calendars" คลิกปุ่ม "" เลือกเมนู "From URL"
กรอกที่อยู่ URL ไฟล์ .ics (ก๊อปปี้จาก URL ด้านบน) คลิก "Add calendar"
รอสักครู่ ปฏิทินแสดงในเมนู "Other calendars"

เพิ่มปฏิทินผ่านไฟล์ .ICS

ดาวน์โหลดไฟล์ปฏิทิน .ics [ICS] บันทึกเก็บไว้ในเครื่องฯ
เปิด Google Calendar
ด้านซ้ายมือเมนู "Other calendars" คลิกปุ่ม ""
เลือกเมนู "Select file from your computer" เลือกไฟล์ .ics ที่ดาวน์โหลดไว้ คลิก "Import"
รอสักครู่ ปฏิทินแสดงในเมนู "Other calendars"

ยกเลิกปฏิทิน (Unsubscribe)

เปิด Google Calendar คลิก  "Settings"
หัวข้อด้านซ้ายมือ "Settings for other calendars" เลือกปฏิทินที่ต้องการยกเลิก
หัวข้อ "Calendar settings" ด้านขวามือ เลื่อนมาด้านล่าง คลิกปุ่ม "Unsubscribe"
คลิกปุ่ม "Remove Calendar" เพื่อลบปฏิทิน

หรือ

เปิด Google Calendar
ด้านซ้ายมือเมนู "Other calendars" ใช้เมาส์ชี้เลือกปฏิทินที่ต้องการยกเลิก คลิก ""
คลิก "Remove Calendar" เพื่อลบปฏิทิน

Outlook Calendar

รับข้อมูลปฏิทิน (Subscribe)

Windows

คลิกปุ่ม [iPhone/iPad/Mac, Outlook] ปฏิทินไอแคลเลนเดอร์ (iCalendar) ที่ต้องการรับข้อมูล
ข้อความแจ้งให้เลือกแอปพลิเคชันที่ใช้ เลือกเปิดด้วย "Outlook"
ข้อความตอบรับข้อมูลปฏิทิน คลิกปุ่ม "Yes" เพื่อรับปฏิทิน
รอสักครู่ ปฏิทินแสดงในเมนู "Other calendars"

Web

เปิด Outlook Calendar เลือกเมนู "Add Calendar" เลือกเมนู "Subscribe from web"
กรอก URL ที่อยู่ไฟล์ .ics ตามลิงค์ [URL] ด้านบน
คลิกปุ่ม "Import" กรอกเลือกรายละเอียดชื่อปฏิทิน คลิกปุ่ม "Import" อีกครั้ง
รอสักครู่ ปฏิทินแสดงในหมวดที่เลือก

หรือ

ดาวน์โหลดไฟล์ปฏิทิน .ics [ICS] บันทึกเก็บไว้ในเครื่องฯ
เปิด Outlook Calendar คลิกเลือกเมนู "Add Calendar" เลือกเมนู "Upload from file"
คลิกเลือก "Browse" ไฟล์ .ics ที่ดาวน์โหลดไว้ เลือกหมวดหมู่ปฏิทิน คลิกปุ่ม "Import"
รอสักครู่ ปฏิทินแสดงในหมวดที่เลือก

ยกเลิกปฏิทิน (Unsubscribe)

Windows

เปิด Outlook Calendar คลิกขวาปฏิทินที่ต้องการยกเลิก เลือกเมนู "Delete Calendar"
คลิกปุ่ม "Yes" เพื่อลบปฏิทิน

Web

เปิด Outlook Calendar ใช้เมาส์ชี้เลือกปฏิทินที่ต้องการยกเลิก
คลิกปุ่ม "..." เลือกเมนู "Remove" และคลิกปุ่ม "Remove" อีกครั้ง
มติ ครม. 29 ธ.ค. 2563 ประกาศวันหยุดราชการปี 2564 เพิ่มเป็นกรณีพิเศษ 4 วัน คือ [1.] 12 ก.พ. 2564 (วันตรุษจีน) , [2.] 12 เม.ย. 2564 , [3.] 27 ก.ค. 2564 (1) [4.] 24 ก.ย. 2564 (วันมหิดล) และ ให้เลื่อนวันหยุดชดเชย วันปิยมหาราช จาก 25 ต.ค. 2564 เป็น 22 ต.ค. 2564 , เพิ่มวันหยุดราชการประจำภาค รวม 4 วัน [ภาคเหนือ] 26 มี.ค. 2564 ไหว้พระธาตุประจำปี , [ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ] 10 พ.ค. 2564 งานบุญบั้งไฟ , [ภาคใต้] 6 ต.ค. 2564 สารทเดือนสิบ , [ภาคกลาง] 21 ต.ค. 2564 เทศกาลออกพรรษา , [ภาคตะวันออก] 28 ธ.ค. 2564 วันสมเด็จพระเจ้าตากสิน(2)  / ธปท. 2 ม.ค. 2564 ประกาศวันหยุดธนาคารปี 2564 เพิ่มเป็นกรณีพิเศษ 2 วัน คือ [1.] 12 ก.พ. 2564 , [2.] 24 ก.ย. 2564 และ เลื่อนวันหยุดชดเชย วันปิยมหาราช ตามประกาศ ครม. ข้างต้น

(1) มติ ครม. 29 มิ.ย. 2564 ประกาศยกเลิกวันหยุดพิเศษ 27 ก.ค. 2564 ตามที่เคยมีประกาศก่อนหน้า (เพื่อหลีกเลี่ยงการเดินทางช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19)
(2) มติ ครม. 5 พ.ย. 2564 ประกาศ 28 ธ.ค.64 เป็นวันหยุดราชการภาคตะวันออก
ปี พ.ศ.2564 เกณฑ์ปฏิทินจันทรคติไทยเป็น ปีอธิกมาศ (เดือนแปดสองหน) ดังนั้นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เลื่อนไป 1 เดือน กล่าวคือ วันมาฆบูชา เลื่อนเป็น วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือนสี่(๔) , วันวิสาขบูชา วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือนเจ็ด(๗) , วันอาสฬหบูชา วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนแปดหลัง(๘๘) , วันเข้าพรรษาวันแรม ๑ ค่ำ เดือนแปดหลัง(๘๘) ส่วนวันออกพรรษาเหมือนเดิมคือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ... หากไม่เลื่อนเดือน ระยะเวลาจำพรรษาไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย (วัสสูปนายิกาขันธกะ) ที่พระสงฆ์ต้องจำพรรษา 3 เดือน เพราะนับวันเข้าพรรษาจาก แรม ๑ ค่ำเดือนแปด(๘) รวมเดือนแปดหลัง(๘๘) อีก 1 เดือน จนถึงวันออกพรรษา วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ระยะเวลารวม 4 เดือน
อ่าน ใช้งาน แล้ว เขียนรีวิว และคลิก Like , Share ให้ด้วยนะครับ :)   N/A จาก N/A รีวิว
หมายเหตุ ปฏิทิน พ.ศ.2564/2021
ปฏิทินในปัจจุบันนำเสนอผ่านสื่อหลายรูปแบบ ทั้งสื่อพิมพ์ด้วยกระดาษแบบดั้งเดิม หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบใหม่ เช่น นาฬิกา โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปฏิทินสุริยคติแบบกริกอเรียน การใช้งานก็คุ้นเคยกันดี อาจมีปีศักราช พ.ศ. และ ค.ศ. ที่ใช้ต่างกันเท่านั้น , เรื่องปฏิทินจันทรคติไทยนี้หากย้อนไป 100 กว่าปี ก่อนปี พ.ศ.2456 ประเทศไทยยังใช้ปฏิทินจันทรคติเป็นหลัก ชื่อเดือน มกราคม-ธันวาคม ยังไม่มีใช้ ผู้คนยุคนั้นรู้จักปฏิทินวันแรมค่ำ เดือนอ้ายยี่ ปีชวด ฉลูฯ หรือจดจำวันเดือนปีตามปฏิทินจันทรคติเท่านั้น

หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงเริ่มใช้วันเดือนปีสุริยคติตามสากล ปฏิทินจันทรคติไทยก็ลดบทบาทลงจนเกือบหายไป แต่ยังคงมีใช้เฉพาะกลุ่ม เช่น ทางศาสนา วัฒนธรรม พิธีกรรม โหราศาสตร์ ส่วนอื่น ๆ หรือทางราชการ ใช้ปฏิทินสุริยคติแบบสากลเกือบทั้งหมด ปฏิทินจันทรคติไทยแตกต่างจากปฏิทินสุริยคติ มีกฎเกณฑ์เงื่อนไขเฉพาะ ในการใช้งานก็ควรเข้าใจกฏเกณฑ์เบื้องต้นก่อน

หมายเหตุปฏิทินจันทรคติไทยนี้ ได้สรุป แนะนำการใช้งาน รูปแบบ กฎเกณฑ์ และข้อกำหนดเบื้องต้นของปฏิทินฯ ที่ควรทราบ เป็นข้อ ๆ ดังนี้

[1] ปีนักษัตร ปฏิทินชุดนี้เปลี่ยนปีนักษัตร (ชวด, ฉลู ... กุน) ตามคติพราหมณ์เกณฑ์ปฏิทินจันทรคติไทย เปลี่ยนปีนักษัตรใน วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) โดยปี พ.ศ.2564 ปีฉลู เริ่มตั้งแต่ วันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2564 เวลา 06:26น. เป็นต้นไป [5] , ปฏิทินชุดนี้ครอบคลุมช่วงปี พ.ศ.2300 - พ.ศ.2584 หรือ 284 ปีเท่านั้น , รอบวันทางจันทรคติ เริ่มเวลาดวงอาทิตย์ขึ้นจริง หรือประมาณ เวลา 06:00น.

[2] ปีศักราช , จุลศักราช (จ.ศ.) ปฏิทินชุดนี้เปลี่ยนปีจุลศักราชในวันเถลิงศก คำนวณตามคัมภีร์สุริยาตร์ โดยในปี พ.ศ.2564/จ.ศ.1383 วันเถลิงศกตรงกับ วันศุกร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ.2564 เวลา 07:37:12น. วันเดียวกันอาจคาบเกี่ยวจุลศักราชได้ เพราะมีช่วงเวลามาเกี่ยวข้อง , วันกาลโยคเริ่มใช้หลังจากวันเถลิงศกนี้เช่นกัน ดู ประกาศสงกรานต์ พ.ศ.2564

รัตนโกสินทรศก (ร.ศ.) เริ่มใช้จริงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2432 (ปีเดียวกันที่เริ่มใช้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่) และยกเลิกใช้งานเมื่อ พ.ศ.2455 , ปฏิทินชุดนี้แสดงปีรัตนโกสินทรศก 1 ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2325 ช่วงเวลาก่อน เมษายน พ.ศ.2325 แสดงรัตนโกสินทรศก 0 ทั้งหมด ทั้งนี้แม้ยกเลิกการใช้งานไปแล้ว ปีปัจจุบันยังแสดงปีรัตนโกสินทรศก , มหาศักราช (ม.ศ.) ปฏิทินชุดนี้เปลี่ยนปีมหาศักราชในวันที่ 22 มีนาคมของทุกปี หรือ 23 มีนาคมในปีอธิกสุรทิน

[3] วันสำคัญทางพุทธศาสนา กำหนดตามเงื่อนไขปฏิทินจันทรคติไทย ตรวจสอบความถูกต้องล่วงหน้าปีต่อปี ตามประกาศกรมการศาสนา หรือ ประกาศสำนักพระราชวัง , วันสำคัญอื่น ๆ เงื่อนไขกำหนดตามเกณฑ์ปฏิทิน ทั้งนี้บางวันสำคัญเริ่มแสดงผลตามปีที่ประกาศใช้วันสำคัญนั้น ๆ เช่น วันรัฐธรรมนูญ เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ.2475 ก่อนหน้านั้นยังไม่มีวันรัฐธรรมนูญ เป็นต้น ในส่วนวันหยุดพิเศษ และวันหยุดอื่น ๆ ที่มีกำหนดการไม่แน่นอน เช่น วันพืชมงคล ตามประกาศสำนักพระราชวัง วันหยุดพิเศษ ตามประกาศ ครม. ข้อมูลย้อนหลังถึงปี พ.ศ.2540 ส่วนปีปัจจุบันมีปรับปรุงตามประกาศ ครม. เป็นครั้ง ๆ ไป

[4] วันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ กำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) ตามคติพราหมณ์-ฮินดู และใช้จนถึงวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) พ.ศ.2432 ซึ่งตรงพอดีกับวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2432 (รัตนโกสินทร์ศก. 108) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็น วันที่ 1 เมษายน แทน และใช้จนถึง พ.ศ.2483 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ทรงมีการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ไทยตามสากลประเทศ จากวันที่ 1 เมษายน เป็น วันที่ 1 มกราคม โดยเริ่มใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2484 เป็นต้นมา , ในปี พ.ศ.2483 ถ้านับถึงเปลี่ยนปีใหม่ เลือนวันจาก 1 เมษายน เป็นวันที่ 1 มกราคม ปรับปีใหม่เร็วขึ้น จำนวนเดือนในปฏิทินไทยจึงหายไป 3 เดือน ดังนั้นในปี พ.ศ.2483 หากนับช่วงเวลา มี 9 เดือน โดยวันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม พ.ศ.2483 ไม่มีอยู่ในปฏิทินไทยที่ใช้จริง แต่ตามปฏิทินสากล ซึ่งตรงกับปี ค.ศ.1940 ช่วงเวลาในปฏิทินดังกล่าวใช้ตามปรกติ

ช่วงก่อนปี พ.ศ.2483 ปฏิทินชุดนี้ แสดงปีที่คาบเกี่ยวกัน เพราะยังนับวันเปลี่ยนปีใหม่วันที่ 1 เมษายน เช่น 2482(2481) ซึ่งค่าแรก 2482 เป็นปี พ.ศ. ที่ได้จากปี ค.ศ.+543 คือนับ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ส่วนค่าในวงเล็บ(2481) เป็นปี พ.ศ. ไทยที่ใช้จริงหรือที่เรียกปี พ.ศ. ในช่วงเวลานั้น ๆ ซึ่งนับ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ หากใช้ปฏิทินในช่วงเวลาข้างต้น โปรดศึกษากฎเกณฑ์ รวมถึงข้อกำหนดต่าง ๆ ของปฏิทินโดยละเอียด , นอกจากนี้ยังมีช่วง ก่อนปี พ.ศ.2432 ใช้นับวันขึ้นปีใหม่เปลี่ยน ปี พ.ศ. ในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕)

[5] ปีนักษัตรไทย การเปลี่ยนปีนักษัตรไทยมีหลายแบบ เช่น เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ตามปฏิทินหลวง เป็นแบบที่ใช้ในการบันทึกสูติบัตรปัจจุบัน (แนวทางปฏิบัติตาม หนังสือเวียนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0310.1/ว4 ออกเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2539) , เปลี่ยนปีนักษัตรในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) ตามคติพราหมณ์-ฮินดู , เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ในวันเถลิงศก ช่วงวันที่ 15-17 เมษายน , เปลี่ยนปีนักษัตรใน วันสังขารล่อง หรือ วันสงกรานต์ ตามแบบทางภาคเหนือ , เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ในวันที่ 1 มกราคม ตามปฏิทินของ อ.ทองเจือ อ่างแก้ว , เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ในวันที่ 1 เมษายน ตามปฏิทินของ อ.เทพย์ สาริกบุตร , ปีนักษัตรจีน โหราศาสตร์จีนเปลี่ยนปีนักษัตรในวันสารทลิบชุน(立春) ซึ่งเป็นสารทแรกของปี เริ่มต้นนักษัตรใหม่ ขวบปีใหม่ ตามกฎเกณฑ์ปฏิทินจีนโบราณ ก่อนที่คณะปฏิวัติปกครองสถาปนาสาธารณรัฐจีน (พ.ศ.2455) มีประกาศเปลี่ยนแปลงปฏิทินใหม่ ดู ปฏิทินจีน และบางตำราใช้วันตรุษจีนเป็นวันเปลี่ยนปีนักษัตร

เลือกใช้ปีนักษัตรแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับว่าใช้ทำอะไร เช่น บันทึกสูติบัตร ใช้ปีนักษัตรตามปฏิทินหลวง เปลี่ยนปีนักษัตรในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) , พยากรณ์ทางโหราศาสตร์ต่าง ๆ ของไทย ใช้ปีนักษัตรตามคติพราหมณ์-ฮินดู เปลี่ยนปีนักษัตรในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) , พยากรณ์โหราศาสตร์จีน ดูดวงจีนโป๊ยหยี่สี่เถี่ยว(八字四柱) ดูหลักปี ปีชง ปีฮะ ใช้ปีนักษัตรจีนตามปฏิทินจีน เป็นต้น