ปฏิทินโหราศาสตร์ไทย นิรายนะวิธี ลาหิรี

พ.ศ./ค.ศ.
เนื่องจากการหาฤกษ์มงคลในการสำคัญมีกฎเกณฑ์วิธี มีข้ออนุโลมข้อยกเว้น ข้อพิจารณาอีกมากมาย บางฤกษ์ใช้การหนึ่งได้แต่ใช้กับอีกการหนึ่งไม่ได้ บางฤกษ์อาจต้องผูกรวมชะตาผู้ใช้ฤกษ์รวมกัน ดังนั้นฤกษ์ในการสำคัญท่านควรปรึกษา และให้ฤกษ์โดยโหรจารย์ผู้เชี่ยวชาญในการให้ฤกษ์ ทั้งนี้รายละเอียดฤกษ์ด้านล่าง แสดงเป็นเบื้องต้นเท่านั้น  ...  รายละเอียดฤกษ์

แนะนำ บริการให้ฤกษ์บุคคลตามหลักโหราศาสตร์ขั้นสูง ฤกษ์แต่งงาน ออกรถ ผ่าคลอด ลาสิกขา ยกเสาเอก เปิดร้าน บ้านใหม่ ฯลฯ ... รายละเอียด
อ่าน ใช้งาน ปฏิทิน3 สิงหาคม พ.ศ.2557 นิรายนะ แล้ว เขียนรีวิว และคลิก Like , Share ให้ด้วยนะครับ :)   4.99 จาก 2,055 รีวิว
หมายเหตุ ปฏิทินโหราศาสตร์ไทย นิรายนะวิธี ลาหิรี พ.ศ.2557/ค.ศ.2014
ปฏิทินโหราศาสตร์ไทย นิรายนะวิธี ชุดนี้ คำนวณสมผุสดาวตัดอายนางศะ แบบลาหิรี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2300 - 2700 และเนื่องจากความแตกต่างกันของปฏิทินโหราศาสตร์ไทย แต่ละชุดหรือแต่ละเล่ม เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน ทราบถึงที่มาที่ไป รูปแบบ กฎเกณฑ์ และข้อกำหนดของปฏิทิน สรุปเป็นข้อ ๆ ดังนี้

[1] ปฏิทินโหราศาสตร์ไทยชุดนี้ คำนวณตำแหน่งดาวระบบดาราศาสตร์ นิรายนะวิธี (Fixed Zodiac) ตัดอายนางศะ แบบลาหิรี , อายนางศะ ในระบบนิรายนะ มีหลายแบบเช่น ลาหิรี ฟาเก้น กฤษณามูรติ ฯลฯ โดยอายนางศะ แบบ ลาหิรี นิยมใช้ในระบบปฏิทินโหราศาสตร์ไทย นิรายนะ มากที่สุด , คำนวณสมผุส ณ เวลา 07:00น. ตามเวลามาตรฐานประเทศไทย (UTC+07:00) , เวลาจันทร์ยก เวลาฤกษ์ ดิถี เวลาดวงอาทิตย์ขึ้น ดวงจันทร์ฯ แสดงเป็น เวลามาตรฐานประเทศไทย (UTC+07:00) ทั้งหมด ซึ่งใช้ จ.อุบลราชธานี ที่เส้นลองจิจูด 105° ตะวันออก เป็นจุดอ้างอิงเวลา

เนื่องจากเวลามาตรฐานประเทศไทย (UTC+07:00) เริ่มใช้ตั้งแต่ 1 เมษายน พ.ศ.2463 ก่อนนี้ ประเทศไทยยังใช้เวลาท้องถิ่นกรุงเทพฯ (UTC+06:42) เป็นเวลามาตรฐาน ดังนั้นการใช้ปฏิทินฯ ก่อน 1 เมษายน พ.ศ.2463 ต้องปรับฐานเวลามาตรฐานที่ใช้ในช่วงเวลานั้น ๆ คือเวลาท้องถิ่นกรุงเทพฯ (UTC+06:42) โดยนำเวลามาตรฐานฯ (UTC+07:00) ลบออก 18 นาที (เวลา 18 นาที เป็นส่วนต่างเวลา ของ จ.กรุงเทพฯ และ จ.อุบลราชธานี คำนวณตามลองจิจูด)

[2] ช่วงเวลาย้ายราศี ย้ายฤกษ์ ย้ายดิถี ของดาวในปฏิทินโหรฯ ชุดนี้ คำนวณราศี ฤกษ์ดิถี ทุกนาที ตั้งแต่ 00.00น.-24.00น. (1,440 นาที) ของแต่ละวัน นำสมผุสเปรียบเทียบนาทีต่อนาที เพื่อหาเวลานาที ย้ายราศี ย้ายฤกษ์ดิถี จริง , การแสดงเวลาย้ายฤกษ์ ย้ายดิถี เพื่อให้เข้าใจง่ายในการใช้งาน ปฏิทินชุดนี้ แสดงเป็นเวลามาตรฐาน เช่น ย้ายฤกษ์ 02:00น. หมายถึง เวลา 02:00น. ของวันนั้นปฏิทิน ๆ ตามเวลามาตรฐานประเทศไทย (UTC+07:00)

วิธีการอธิบายช่วงเวลาย้ายฤกษ์ ย้ายดิถี (หลัง 1 เมษายน พ.ศ.2463) อาจแตกต่างปฏิทินรายวันของสำนักอื่น ๆ ซึ่งหากเวลาย้ายฤกษ์ก่อนจุดคำนวณปฏิทิน 07:00น. สำนักอื่น ๆ อาจแสดงเวลาย้ายในปฏิทินวันก่อนหน้า และหมายเหตุในปฏิทินวันรุ่งขึ้น , สอบทานผลคำนวณดาวย้ายราศี ย้ายฤกษ์ดิถี ละเอียดระดับวินาทีได้ใน จักรราศีวิภาค ลัคนาฤกษ์ ของปฏิทินวันนั้น ๆ หรือ ดูดวง โหราศาสตร์ไทย

[3] สมผุสเกตุไทย (๙) ในปฏิทินปฏิทินโหราศาสตร์ไทย นิรายนะวิธี ชุดนี้ เป็นผลคำนวณจากคัมภีร์สุริยยาตร์ ตั้งจุดคำนวณ ณ เวลา 07:00/24:00น. เวลามาตรฐานประเทศไทย , เลือกแสดงสมผุสราหูเฉลี่ย (๘) หรือราหูจริง (☊) และ สมผุสเกตุไทย (๙) หรือเกตุสากล (☋) ได้ โดยสมผุสราหูจริง (☊) และเกตุสากล (☋) คำนวณระบบดาราศาสตร์ นิรายนะวิธีปรกติ, สมผุสแบคคัส (บ) คำนวณระบบดาราศาสตร์ นิรายนะวิธี ผลสมผุสแตกต่างจากแบคคัสในโหราศาสตร์ระบบ อ.พลูหลวง

[4] ดาวโคจรวิปริต/วิกลคติ มี 3 แบบ คือ พักร์ (พ.) ดาวโคจรถอยหลัง , มณฑ์ (ม.) ดาวโคจรช้ากว่าปรกติ เกิดช่วงก่อนและหลังพักร์ และ เสริต (ส.) ดาวโคจรเร็วกว่าปรกติ , ผลดาวโคจรวิปริตในปฏิทินโหรฯ ชุดนี้ การโคจรวิปริตพักร์ พิจารณาองศา ความเร็ว ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับวันก่อนหน้า ส่วน มณฑ์ และ เสริต พิจารณาเปรียบเทียบความเร็วการโคจรกับค่าความเร็วเฉลี่ยต่อวัน , หากใช้การโคจรวิปริต ดู กราฟดาว/ดาวย้ายราศี นิรายนะวิธี ลาหิรี พ.ศ.2557 ประกอบ ว่าการโคจรวิปริตรอบนั้น ๆ อยู่ช่วงเริ่มต้นหรือใกล้สิ้นสุด เพื่อพิจารณาเลือกใช้ได้เหมาะสม

[5] กฎเกณฑ์การคำนวณ จากตำราหรือข้อมูลดังนี้ (1.) คำนวนตำแหน่งดวงดาว ตามระบบดาราศาสตร์ ตัดอายนางศะ แบบ ลาหิรี , (2.) คัมภีร์สุริยยาตรแลมานัตต์ ฉบับเฉลิมพระเกียรติพระจอมเกล้า (คำนวณสมผุสเกตุ/เกตไทย) อ.วรพล ไม้สน , (3.) ปฎิทินโหราศาสตร์ไทย (นิรายะนะวิธี) อ.เทพย์ สาริกบุตร ใช้สอบทานข้อมูลที่ได้จากการประมวลผล , ปฏิทินโหรฯ ชุดนี้ในบางปีได้วางตากลไว้เพื่อตรวจสอบการละเมิดฯ

[6] การคำนวณตำแหน่งหรือสมผุสดาว ในระบบโหราศาสตร์แบ่งเป็น 2 ระบบหลัก คือ "นิรายนะ" (Sideral Zodiac / Fixed Zodiac) และ "สายนะ" (Tropical Zodiac / Movable Zodiac) ทั้ง 2 ระบบแตกต่างตรงจุดเริ่มราศีเมษ , เดิมทั้ง 2 ระบบใช้กลุ่มดาวแกะ เป็นจุดเริ่มต้นราศีเมษ 0° เหตุเนื่องจากแกนโลกที่หมุนเอียงและเหวี่ยง (Precession) ส่งผลให้จุดเมษหรือจุดวสันตวิษุวัต (Vernal Equinox) ซึ่งเดิมเคยอยู่ตรงกลุ่มดาวแกะ เคลื่อนที่ออกห่าง ส่งผลให้การสังเกตการณ์ ตำแหน่งดาวเทียบกับดาวฤกษ์ท้องฟ้าเปลี่ยนไป , แนวคิดระบบนิรายนะ นั้นอ้างอิงตำแหน่งดาวฤกษ์หรือกลุ่มดาวแกะแบบเดิม เป็นจุดเริ่มต้นราศีเมษ อาทิตย์ยกเข้าราศีประมาณวันที่ 13 - 17 ของแต่ละเดือน , ส่วนระบบสายนะ ใช้จุดเริ่มต้นราศีเมษ ตามจุดวสันตวิษุวัตที่เปลี่ยนไป ระบบสายนะ อาทิตย์ยกเข้าราศีประมาณวันที่ 21 - 22 ของแต่ละเดือน , ดังนั้นดาวดวงเดียวกันตำแหน่งเดียวกันบนฟ้า การอ่าน องศา ราศี ทั้ง 2 ระบบผลต่างกัน โดยองศาระยะห่างเท่ากับค่าอายนางศะ (Precession) ซึ่งปัจจุบันอายนางศะ (ลาหิรี) ประมาณ 24° และค่อยเพิ่มประมาณ 1 องศาทุก ๆ 72 ปี (ปีละประมาณ 50 พิลิปดา) , ปฏิทินโหราศาสตร์ นิรายนะวิธี ใช้ใน โหราศาสตร์ไทย โหราศาสตร์ตะวันออก พระเวท อินเดียส่วนระบบสายนะ ใช้ใน ระบบดาราศาสตร์ (Astronomy) โหราศาสตร์สากล (Traditional Astrology) โหราศาสตร์ตะวันตก โหราศาสตร์ยูเรเนียน (Uranian Astrology) เป็นต้น

ปฏิทินโหราศาสตร์ไทยที่นิยมใช้กัน มี 2 แบบ คือ (1) ปฏิทินโหราศาสตร์ไทย สุริยยาตร์ เป็นปฏิทินโหราศาสตร์ไทยแบบดั้งเดิม คำนวณตามคัมภีร์สุริยยาตร์และคัมภีร์มานัตต์ (2) ปฏิทินโหราศาสตร์ไทย นิรายนะวิธี ลาหิรี เป็นปฏิทินโหราศาสตร์ไทย คำนวณตามระบบดาราศาสตร์สากล นิรายนะวิธี (Fixed Zodiac) ตัดอายนางศะ แบบลาหิรี , ทั้งนี้ชื่อเรียกวิธีคำนวณต่างกัน แต่โดยหลักการ ปฏิทินโหราศาสตร์ไทยสุริยยาตร์ จัดเป็นระบบนิรายนะ ใช้กลุ่มดาวแกะ เป็นจุดเริ่มต้นราศีเมษแบบเดียวกัน แต่หากดูตามชื่อเรียกอาจเข้าใจว่าเป็นคนละแบบ

[7] กฎเกณฑ์ปฏิทินจันทรคติไทย การนับปีนักษัตร ปีศักราช ข้อกำหนดต่าง ๆ ดู หมายเหตุปฏิทินจันทรคติ พ.ศ.2557