ฤกษ์ หมายถึง คราวหรือเวลาซึ่งเหมาะสมเป็นชัยมงคล เพื่อประกอบกิจการงานต่าง ๆ เพื่อความสุข ความปลอดภัยหรือความสำเร็จสมประสงค์ อำนวยความเป็นศิริมงคลแก่ผู้ประกอบการนั้น ๆ
ฤกษ์บน
ฤกษ์บน หรือ นพดลฤกษ์ คือคราวหรือเวลาซึ่งเหมาะเป็นชัยมงคลเบื้องสูง
โดยถือตำแหน่งของพระจันทร์ผ่านฤกษ์ ผ่านกลุ่มดาวฤกษ์ต่าง ๆ ทั้ง 27 คำนวณตาม
ปฏิทินโหราศาสตร์ไทย สุริยยาตร์ แบ่งฤกษ์เป็น 9 กลุ่มดังนี้
ฤกษ์บนและเวลาที่แสดงผลตามปฏิทินด้านล่าง เป็นช่วงเวลาพระจันทร์ผ่านฤกษ์ต่าง ๆ ในแต่ละวันเท่านั้น ไม่ได้หมายความถึง ฤกษ์ดีหรือไม่ดี เพราะฤกษ์บนตามหลักโหราศาสตร์ชั้นสูง พิจารณาร่วมกับตำแหน่งดาวอื่น ๆ ณ วันเวลานั้น ๆ ดวงชะตาของผู้ใช้ฤกษ์ นวางศ์ ลูกพิษ พินทุบาทว์ และกฎเกณฑ์อีกมากมาย , ราชาฤกษ์ ภูมิปาโลฤกษ์ หรือฤกษ์ในวันนั้น ๆ ที่คิดว่าดีแล้วความหมายดีแล้ว ในบางวันบางช่วงเวลา เมื่อผูกดวงชะตาพิจารณาร่วมกับดาวอื่น ๆ และลัคนาในดวงฤกษ์ อาจให้โทษ หรือเป็นฤกษ์ที่ไม่ดีเลยก็เป็นได้ ดังนั้นฤกษ์บนในการสำคัญ ท่านควรปรึกษาและให้ฤกษ์โดยโหราจารย์ผู้เชี่ยวชาญชำนาญในการให้ฤกษ์เท่านั้น
ฤกษ์บน
ทลิทโทฤกษ์
ทลิทโทฤกษ์ แปลว่า ผู้ขอ คนเมตตา รักใคร่ ขออะไรก็ได้ มีดาวเกตุ(9) เป็นดาวเจ้าฤกษ์ เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ การขอสิ่งต่าง ๆ ต้องการความเมตตาสงสาร เห็นอกเห็นใจ เพราะถือว่าเป็นฤกษ์ของชูชก ทำการขอสิ่งใดก็ง่าย เช่น การขอหมั้น ขอแต่งงาน ทวงหนี้ กู้ยืม ร้องทุกข์ การทำการใด ๆ เพื่อให้ผู้อื่นสงสารกรุณา มีความเมตตา เกิดเสน่ห์ มหานิยม คนนิยมชมชอบ เปิดร้านขายของ สมัครงาน ทำการใด ๆ ที่ริเริ่มใหม่
มหัทธโนฤกษ์
มหัทธโนฤกษ์ แปลว่า เศรษฐี คนร่ำรวย ผู้รุ่งเรืองเป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ การมงคลต่าง ๆ เพื่อความมั่นคงในทรัพย์สินเงินทอง ผลประโยชน์ เช่น เปิดห้างร้าน เปิดบริษัท ขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน ปลูกสร้างอาคาร ธุรกิจการเงิน ธุรกิจด้านบัญชี การค้าอุตสาหกรรม เปิดห้างร้าน เปิดร้านค้าต่าง ร้านแลกเงิน ร้านขายทอง ลาสิกขาบท สะเดาะเคราะห์ และ สารพัดงานมงคลที่ต้องการความร่ำรวยมีเงินทอง ทรัพย์สินมากมาย , มหัทธโนฤกษ์มีดาวศุกร์(6) เป็นดาวเจ้าฤกษ์ เด่นในเรื่องความรัก กิจการสถานบันเทิง ดนตรี ศิลปะ เสื้อผ้า ของแต่งกาย การตกต่าง งานออกแบบ ร้านอาหาร ธุรกิจด้านความงาม ร้านเสริมสวย ก็เด่นมากขึ้นไปอีก
โจโรฤกษ์
โจโรฤกษ์ แปลว่า ผู้ช่วงชิง มีดาวอาทิตย์เป็นดาวเจ้าฤกษ์ เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ คนโบราณใช้ในการปล้นค่าย จู่โจมโดยฉับพลัน ฉวยโอกาส แย่งชิง ข่มขวัญ บีบบังคับ ทำการปราบปราม การแข่งขันช่วงชิง การแย่งอำนาจและผลประโยชน์ งานเสี่ยง ๆ ในระยะสั้น ๆ การปฏิวัติงานของบุคคลในเครื่องแบบใช้กำลัง ช่วงชิงแข่งขัน ในการธุรกิจ การกีฬา การเอาชนะในทุกรูปแบบ ก็มักใช้ฤกษ์นี้ประกอบการ
ภูมิปาโลฤกษ์
ภูมิปาโลฤกษ์ แปลว่า ผู้รักษาแผ่นดิน เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ การมงคลต่าง ๆ งานที่ต้องการความมั่นคงถาวร งานเกี่ยวกับที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ การเกษตร การเช่าซื้อ ก่อสร้าง ปลูกเรือน ยกศาลพระภูมิ แต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ ลาสิกขาบท อุปสมบท เปิดอาคารห้างร้าน และ ใช้ได้สารพัดงานมงคลทั้งปวง , ภูมิปาโลฤกษ์มีดาวจันทร์(2) ครองเป็นเจ้าฤกษ์ ดังนั้น ธุรกิจที่ข้องกับดาวจันทร์ก็คือ ธุรกิจทางน้ำ สื่อสารมวลชน ความงาม โฆษณาประชาสัมพันธ์ ก็เด่นมากขึ้น
เทศาตรีฤกษ์
เทศาตรีฤกษ์ แปลว่า คนต่างถิ่น ผู้ท่องเที่ยว เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ งานการติดต่อการค้าระหว่างถิ่น งานด้านต่างประเทศ ต่างชาติ ภาษาต่างประเทศ กิจการทัวร์ ธุรกิจนำเข้า ส่งออก เกี่ยวกับการงานที่ต้องการให้มีผู้คนเข้าออกมากมาย เกี่ยวกับความสนุกสนานชักชวนคนเข้าออกมาก เปิดโรงมหรสพ สถานเริงรมย์ โรงแรม ร้านอาหาร โรงหนัง สถานบันเทิง ตลาดและศูนย์การค้า การประกอบอาชีพนอกสถานที่ อาชีพเร่ร่อน อาชีพที่ต้องย้ายที่อยู่เสมอ , เทศาตรีฤกษ์มีดาวอังคาร(3) เป็นดาวเจ้าฤกษ์ กิจการที่เป็นด้านอุตสาหกรรม เครื่องยนต์กลไก การซ่อมแซม อุตสาหกรรมเหล็ก โลหะ เครื่องจักร การก่อสร้าง ยานยนต์ก็จะมีผลดีเป็นพิเศษ
เทวีฤกษ์
เทวีฤกษ์ แปลว่า นางพญา ราชินี มีเสน่ห์ โชคลาภ เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ งานที่ต้องการความเรียบร้อยสวยงาม มีชื่อเสียง การเข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่ การหมั้นหมายและสมรส การส่งตัวเจ้าสาวและเข้าห้องหอ การทำกิจการที่ต้องการชื่อเสียงและมีเสน่ห์ งานมีเกียรติ งานเชิงศิลปะตกแต่งชั้นสูง เปิดร้านค้าอัญมณีเครื่องประดับ ร้านเสริมสวย ตัดเย็บเสื้อผ้า การประชาสัมพันธ์ ลาสิกขาบท ขึ้นบ้านใหม่ ขอความรัก งานเพื่อความสงบเรียบร้อย และ สารพัดงานมงคลทั้งปวง , เทวีฤกษ์มีดาวราหู(8) เป็นเจ้าฤกษ์ แสดงถึงความลุ่มหลง หลงใหล มีเสน่ห์ และให้คุณเป็นพิเศษแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกับ ต่างชาติ ต่างภาษา ร้านอาหาร สุรายาเมา และบ่อนการพนัน บาร์ไนต์คลับ
เพชฌฆาตฤกษ์
เพชฌฆาตฤกษ์ แปลว่า ผู้ทำการตัด การแบ่ง เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ การฟันผ่าอันตรายและอุปสรรค ต่อสู้เสี่ยงภัยต่าง ๆ อาสางานใหญ่ ทำกิจปราบปรามศัตรู ตัดสินคดีความ งานที่ใช้การตัดสินใจอย่างเด็ดขาด ประกอบพิธีไสยศาสตร์ ปลุกเสกเครื่องรางของขลัง ลงเลขยันต์ สร้างวัตถุมงคลแบบคงกระพันชาตรี สร้างสิ่งสาธารณะกุศลสงเคราะห์ เปิดโรงพยาบาล การรักษาโรคเรื้อรังที่หายยาก ๆ การยาตราทัพ เจิมอาวุธยุทธภัณฑ์ สร้างโบสถ์วิหารการเปรียญ คล้ายกับโจโรฤกษ์ แต่ฤกษ์นี้แรงกว่า , เพชฌฆาตฤกษ์ มีดาวพฤหัส(5) เป็นดาวเจ้าฤกษ์ ให้คุณโดดเด่นทางด้านการศึกษา และการศาสนา การปฎิบัติทางจิตภาวนาเป็นพิเศษ
ราชาฤกษ์
ราชาฤกษ์ แปลว่าผู้ยิ่งใหญ่ พระเจ้าแผ่นดิน ผู้มีอำนาจวาสนา เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ งานราชพิธี งานราชการงานเมือง สร้างที่ประทับ งานที่ต้องการชักจูงให้ผู้อื่นดำเนินตาม การเข้ารับตำแหน่งงาน การแสวงหาชื่อเสียงเกียรติยศ การเข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่ เปิดโรงเรียน สถาบัน สถานที่ราชการ งานมงคลสมรสที่หรูหรามีเกียรติ ลาสิกขาบท การขึ้นบ้านใหม ่(สามัญชนควรเว้น ถ้าหาฤกษ์ไม่ได้ก็พออนุโลมใช้ได้ เพื่อดวงชะตาและความเหมาะสม) และ งานมงคลทั้งปวง , ราชาฤกษ์ มีดาวเสาร์(7) เป็นดาวเจ้าฤกษ์ กิจการที่ข้องกับงานอุตสาหรรมขนาดใหญ่ โรงงานผลิต การก่อสร้าง งานเชิงสาธารณะ งานราชการ รัฐวิสาหกิจ ให้ผลดีมากเป็นพิเศษ
สมโณฤกษ์
สมโณฤกษ์ แปลว่า ความสุข ความสงบ นักบวช นักสอนศาสนา เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ ทำพิธีกรรมทางศาสนา และ ทางนักบวช เช่น การทำขวัญนาค การอุปสมบท หล่อพระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เข้ารับการศึกษา และ การกระทำทุกอย่างเพื่อความสงบร่มเย็นเป็นสุข สงเคราะห์ในฤกษ์นี้ได้ ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ทำบุญต่ออายุ ผูกข้อมือ สู่ขวัญ โกนผมไฟ , สมโณฤกษ์ มีดาวพุธ(4) เป็นดาวเจ้าฤกษ์ กิจการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา การสื่อสาร ขนส่งมวลชน กิจการที่เกี่ยวกับงานด้านเอกสาร สัมมนา งานวิจัย ให้ผลดีเป็นพิเศษ
การใช้ฤกษ์หรืออ่านฤกษ์บน ตามปฏิทินข้างต้น แสดงช่วงเวลากำกับ ซึ่งแต่ละวันแต่ละฤกษ์เวลาไม่แน่นอน เช่น ปฏิทิน
"
โจโร <06:44น.>
ภูมิปาโล" หมายความว่า ช่วงเวลาก่อน 06:44น. ของวันนั้น ๆ เป็นโจโรฤกษ์ และหลังจาก 06:44น. เป็นภูมิปาโลฤกษ์
ฤกษ์บนอื่น ๆ
ฤกษ์เข้า
ฤกษ์เข้าเป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ ขึ้นบ้านใหม่ เข้าบ้าน โกนจุก รับผู้คนสิ่งของเข้าบ้าน ฤกษ์ขันหมาก ส่งตัว กลับจากที่ไกล ๆ ( ฤกษ์ 3 , 4 , 5 , 10 , 11 , 12 , 17 , 18 , 19 , 24 , 25 , 26 )
ฤกษ์ออก
ฤกษ์ออกเป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ เดินทาง ลาสิกขาบท ออกเดินทางไกล ๆ ไปนาน ยาตราทัพ ( ฤกษ์ 1 , 2 , 7 , 8 , 9 , 14 , 15 , 16 , 22 , 23 )
ฤกษ์กรรมบาท
ฤกษ์กรรมบาทเป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ เก็บรักษาทรัพย์สิน เงินทองให้มั่นคง ( ฤกษ์ 6 , 13 , 20 , 27 )
ฤกษ์ยายี
ฤกษ์ยายีเป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ เคลื่อนที่ย้าย ไปทำการที่อื่น ๆ ( ฤกษ์ 2 , 4 , 6 , 7 , 9 , 11 , 13 , 15 , 18 , 20 , 22 , 24 , 25 )
ฤกษ์นคร
ฤกษ์นครเป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ ทำการอยู่กับที่ ( ฤกษ์ 1 , 3 , 5 , 8 , 10 , 12 , 14 , 16 , 17 , 19 , 21 , 26 )
วันกาลโยค
วันธงชัย
เป็นวันดี ทำการใดสำเร็จได้ผลดี มีชัยชนะ มิ่งขวัญ ของหมู่คณะ ชัยชนะ (มักใช้กับสิ่งของ วัตถุ สถานที่)
วันอธิบดี
เป็นวันดี ให้คุณเรื่องอำนาจ บารมี เป็นใหญ่ มีอำนาจในการปกครอง ควบคุมดูแล เวลาประกอบด้วยโชค ความเป็นใหญ่ มักใช้กับบุคคล
วันอุบาทว์/อุบาสน
ตามตำราปัจจุบัน เป็นวันไม่ดี ไม่เป็นมงคล ตกอยู่ในบ่วงกรรมอุปสรรค ทำการค้าไม่ขึ้น โชคร้าย อุบัติเหตุ เคราะห์ไม่ดี สิ่งที่ไม่เป็นมงคล (ใช้กับบุคคล)
อุบาทว์ ตามตำราเดิมสมัยรัชกาลที่ 4 หรือปฏิทินปูมโหรเก่า ๆ ใช้คำว่า "อุบาสน" แปลว่าเข้าใกล้ , รัชกาลที่ 5 ทรงพระราชหัถตเลขา (พ.ศ.2417) ถึงกรมพระอาลักษณ์ เกี่ยวกับพระราชดำริรัชกาลที่ 4 เรื่องวันอุบาสน มีสรุปความตอนหนึ่งว่า "
แต่นี้สืบไป อย่าให้ผู้ใดเขียนว่าวันอุบาท ทูลเกล้าฯ ถวายเป็นอันขาด ให้เขียนว่า วันอุบาสน คือแปลว่าเข้าใกล้ จะได้สมกันกับที่อยู่ใกล้วันธงไชย" ดังนั้น "อุบาสน" ไม่ได้มีความหมายแรงตามที่ใช้ในปัจจุบัน วันที่ไม่ดีตามกาลโยกตำราเดิมคือวัน "โลกาวินาสน์" เท่านั้น
อ่านต่อ
วันโลกาวินาศ
หรือ วันขลุบ เป็นวันไม่ดี ไม่เป็นมงคล วุ่นวาย ยุ่งยาก ติดขัด ระส่ำระสาย ความหายนะ สูญเสีย เข้าไปสู่อันตราย ไม่เป็นมงคลต่อหมู่คณะเป็นส่วนรวม (ใช้กับสิ่งของ วัตถุ สถานที่)
ปฏิทินนี้แสดงเฉพาะ วาร (วัน) กาลโยค เท่านั้น นอกจากนี้กาลโยคยังมีฐานอื่น ๆ นอกจากฐานวัน คือ ฐานยาม , ฐานฤกษ์ , ฐานราศี , ฐานดิถี
กาลโยค คำนวณโดยใช้ปีจุลศักราชตั้งต้น ซึ่งปีจุลศักราชใหม่คำนวณวันเถลิงศกตามคัมภีร์สุริยาตร์ และวันเดียวกันอาจคาบเกี่ยวได้เพราะมีช่วงเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง กาลโยค ด้านบนเพื่อให้ง่ายในการคำนวณ จึงให้วันที่ 16 เมษายน เป็นวันเปลี่ยนปีจุลศักราชใหม่หรือวันเถลิงศก ดังนั้นช่วงวันที่ 15-17 เมษายน กาลโยคอาจคลาดเคลื่อน แต่อย่างไรก็ตามถ้าจำเป็นต้องใช้ปีจุลศักราช คำนวณอย่างละเอียด ก็ได้คำนวณวันเถลิงศกตามคัมภีร์สุริยาตร์ไว้แล้ว สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ประกาศสงกรานต์ พ.ศ.2499
อวมานโอน
วันตามปฏิทินโหราศาสตร์ เป็นวันห้ามให้ฤกษ์ ห้ามทำการมงคลใด ๆ
ฤกษ์ล่าง
ฤกษ์ล่าง หรือ ภูมิดลฤกษ์ ซึ่งเหมาะเป็นชัยมงคลทางเบื้องใต้ฟ้า หรือเบื้องต่ำบนพื้นดิน โดยมนุษย์เป็นผู้กำหนดขึ้น โดยใช้วันทั้ง 7 ประกอบด้วยดิถี ขึ้น แรม และเดือน ปี ทางจันทรคติ เป็นหลักในการคำนวณนับ เช่น ดิถีอำมฤตโชค ดิถีมหาสิทธิโชค ดิถีไม่ดี ดิถีมหาสูญ ดิถีอัคนิโรธ ดิถีร้าย/วันทรธึก ดิถีอายกรรมพลาย กระทิงวัน ดิถีเรียงหมอน ดิถีแมลงปอ วันลอย วันจม วันฟู
วันดี ดิถีมหาโชค
ดิถีมงคล 5 ประการโบราณยึดถือกันมาก
ดิถีอำมฤตโชค
เป็นดิถีดีที่สุด ดิถีความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ ดิถีทิพย์ เหมาะแก่การมงคล ดีสำหรับงานทั่วไปเกี่ยวกับความราบรื่นและสบาย ใช้ได้ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม แต่ที่นิยมถือกันว่าข้างขึ้น ดีกว่าข้างแรม แต่อย่างไรก็ตามข้างแรมก็ใช้ได้ให้คุณเช่นกัน
วัน
อาทิตย์
จันทร์
อังคาร
พุธ
พฤหัสบดี
ศุกร์
เสาร์
ดิถีสิทธิโชค
เป็นดิถีที่ดีรองลงมา โชคดี ให้ลาภผล เหมาะแก่การมงคล ดีสำหรับงานที่เป็นโครงการระยะยาว ใช้ได้ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม แต่ที่นิยมถือกันว่าข้างขึ้น ดีกว่าข้างแรม แต่อย่างไรก็ตามข้างแรมก็ใช้ได้ให้คุณเช่นกัน
วัน
อาทิตย์
จันทร์
อังคาร
พุธ
พฤหัสบดี
ศุกร์
เสาร์
ดิถีมหาสิทธิโชค
เป็นดิถีที่ดีรองลงมา ดิถีความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ เหมาะแก่การมงคล ดีสำหรับงานสำคัญ โดยเฉพาะโครงการระยะสั้น ใช้ได้ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม แต่ที่นิยมถือกันว่าข้างขึ้น ดีกว่าข้างแรม แต่อย่างไรก็ตามข้างแรมก็ใช้ได้ให้คุณเช่นกัน
วัน
อาทิตย์
จันทร์
อังคาร
พุธ
พฤหัสบดี
ศุกร์
เสาร์
ขึ้น/แรมค่ำ
14
12
13
4
3[ก] , 7[ข]
10
15
[ก] ตำราโหราศาสตร์ไทย อ.หลวงวิศาลดรุณกร ใช้ขึ้น/แรม 3 ค่ำ
[ข] ตำราโหราศาสตร์ไทย อ.สิงห์โต สุริยาอารักษ์ ใช้ขึ้น/แรม 7 ค่ำ ในปฏิทินแสดงทั้ง 2 แบบ มีหมายเหตุแจ้งแบบ [ก] หรือ [ข]
ดิถีชัยโชค
เป็นดิถีที่ดีรองลงมา ดิถีแห่งชัยชนะ เหมาะแก่การมงคล ดีสำหรับงานที่ต้องต่อสู้แข่งขันหรือรบทับจับศึก ใช้ได้ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม
วัน
อาทิตย์
จันทร์
อังคาร
พุธ
พฤหัสบดี
ศุกร์
เสาร์
ดิถีชัยโชค ควรเลี่ยงวันเสาร์ ข้างขึ้นและข้างแรม 11 ค่ำ เพราะตรงกับดิถีไม่ดี ดิถีวันบอด
ดิถีราชาโชค
เป็นดิถีที่ดีรองลงมา เหมาะแก่การมงคล ดีสำหรับงานที่ต้องขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ใช้ได้ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม
วัน
อาทิตย์
จันทร์
อังคาร
พุธ
พฤหัสบดี
ศุกร์
เสาร์
ดิถีราชาโชค ควรเลี่ยงวันอาทิตย์ ข้างขึ้นและข้างแรม 6 ค่ำ เพราะตรงกับดิถีไม่ดี ดิถีพิลา
ดิถีไม่ดี / วันไม่ดี
ดิถีที่ควรหลีกเลี่ยง สำหรับการมงคล คือ ทักทิน, ทรธึก, ยมขันธ์, อัคนิโรธ, ทินกาล, ทินศูร, กาลโชค, กาลสูร, กาลทัณฑ์, โลกาวินาศ, วินาศ, พิลา, มฤตยู, บอด, กาลทิน, ดิถีพิฆาต, ทัคธทิน, ทินสูรย์, กาลกรรณี
วัน
อาทิตย์
จันทร์
อังคาร
พุธ
พฤหัสบดี
ศุกร์
เสาร์
ดิถี
ขึ้น/แรมค่ำ
4
6
1
3
8
3[ก] , 7[ข]
1
ทรธึก
ขึ้น/แรมค่ำ
12
11
7
3
6
8
9
ยมขันธ์
ขึ้น/แรมค่ำ
12
11
10
7
8
3[ก] , 7[ข]
6
ทัคธทิน
ขึ้น/แรมค่ำ
4
6
1
3
3
9
1
อัคนิโรธ
ขึ้น/แรมค่ำ
1
2
10
3[ก] , 7[ข]
1
6
6
ทินกาล
ขึ้น/แรมค่ำ
12
10
15
8
5
3[ก] , 7[ข]
8
ทินศูร
ขึ้น/แรมค่ำ
4
6
1
3
8
9
10
กาลโชค
ขึ้น/แรมค่ำ
12
11
10
9
8
7
6
กาลทัณฑ์
ขึ้น/แรมค่ำ
4
6
10
9
8
9
1
โลกาวินาศ
ขึ้น/แรมค่ำ
6
10
8
7
12
9
12
พิลา
ขึ้น/แรมค่ำ
7
8
4
7
1
14
11
วันบอด
ขึ้น/แรมค่ำ
5
6
10
8
11
5
7
กาลทิน
ขึ้น/แรมค่ำ
12
11
7
3
6
8
9
ดิถีพิฆาต
ขึ้น/แรมค่ำ
5
2
8
3
1
9
8
ทินสูรย์
ขึ้น/แรมค่ำ
5
6
15
8
1
2
10
กาลกรรณี
[ก] ตำราโหราศาสตร์ไทย อ.หลวงวิศาลดรุณกร ใช้ขึ้น/แรม 3 ค่ำ
[ข] ตำราโหราศาสตร์ไทย อ.สิงห์โต สุริยาอารักษ์ ใช้ขึ้น/แรม 7 ค่ำ ในปฏิทินแสดงทั้ง 2 แบบ มีหมายเหตุแจ้งแบบ [ก] หรือ [ข]
ดิถีมหาสูญ
เป็นวันห้ามทำการมงคล ซึ่งโบราณถือกันมาก แม้ตรงกับวันดีเท่าใดห้ามการมงคล ดิถีมหาสูญแต่โบราณนั้นท่านกำหนดตามเดือนทางจันทรคติและดิถี มี 2 ตำราดังนี้
[ก] ตำราโหราศาสตร์ไทย ปฏิทินโหราศาสตร์ไทย อ.ทองเจือ ใช้ราศีอาทิตย์(๑) และแรมค่ำ คำนวณ
อาทิตย์(๑)
เมษ
พฤษภ
มิถุน
กรกฎ
สิงห์
กันย์
ตุล
พิจิก
ธนู
มกร
กุมภ์
มีน
ขึ้น/แรมค่ำ
6
4
8
6
10
8
12
10
2
12
4
2
[ข] ตำราพรหมชาติ ใช้แรมค่ำ เดือนจันทรคติ คำนวณ
เดือน
6 , 3
7 , 10
8 , 5
11 , 2
9 , 12
1 , 4
ในปฏิทินแสดงทั้ง 2 แบบ มีหมายเหตุแจ้งแบบ [ก] หรือ [ข]
ดิถีพิฆาต
เป็นวันห้ามทำการมงคลอีกตำราหนึ่ง เป็นดิถีไม่ดี วันอัปมงคล
วัน
อาทิตย์
จันทร์
อังคาร
พุธ
พฤหัสบดี
ศุกร์
เสาร์
ดิถีอัคนิโรธ
อัคนิโรธหรือนางกาลกรรณีวิลัยวรรณ ก็คือชื่อของบุตรีของพญามัจจุราช มีผมแดง แต่งกายและทัดดอกไม้แดง เหาะล่องลอยมาในอากาศแล้วก็ตกลงสู่บ้านเรือนผู้คนในวันดิถีต่าง ๆ แสดงถึงอาเพศและเคราะห์หามยามร้ายต่าง ๆ หากเราไปกระทำการมงคล ที่ต้องกับอัคนิโรธในวันนั้น ๆ
ขึ้น/แรม 1 ค่ำ
อัคนิโรธตกลงในวัวควาย ท่านห้ามซื้อขายวัวควาย เปิดคอกปศุสัตว์
ขึ้น/แรม 2 ค่ำ
อัคนิโรธตกลงในป่า ห้ามไปเที่ยวป่า เดินทางในป่าเขา ต้ดไม้
ขึ้น/แรม 3 ค่ำ
อัคนิโรธตกลงในน้ำ ห้ามมิให้เดินทางโดยทางน้ำ ทางเรือ เล่นน้ำ หรือขุดบ่อขุดสระ
ขึ้น/แรม 4 ค่ำ
อัคนิโรธตกลงในภูเขา ห้ามไปเที่ยวเขา ปีนเขา
ขึ้น/แรม 5 ค่ำ
อัคนิโรธตกลงในที่ทางเขตคาม ห้ามิให้แบ่งที่ทาง รังวัดที่ดิน
ขึ้น/แรม 6 ค่ำ
อัคนิโรธตกลงในบ้านเรือน ห้ามมิให้ทำการมงคลยกเสาเอก ปลูกบ้านเรือน ขึ้นบ้านใหม่การมงคลในบ้านเรือน
ขึ้น/แรม 7 ค่ำ
อัคนิโรธตกลงในพระราชวัง ห้ามมิให้ทำการอภิเษกพระราชา
ขึ้น/แรม 8 ค่ำ
อัคนิโรธตกลงในยวดยาน ห้ามมิให้ซื้อขายยวดยาน หัดขับขี่ ออกรถใหม่ ฯลฯ
ขึ้น/แรม 9 ค่ำ
อัคนิโรธตกลงในแผ่นดิน ห้ามมิให้ขุดหลุมปลูกเรือน ขุดดิน ขุดบ่อ ถมดิน ฯลฯ
ขึ้น/แรม 10 ค่ำ
อัคนิโรธตกลงในเรือ ห้ามลงเรือ ห้ามต่อเรือ เอาเรือลงจากคาน
ขึ้น/แรม 11 ค่ำ
อัคนิโรธตกลงในพืชพรรณ ห้ามปลูกต้นไม้ เพาะชำ หว่าน ตอนต้นไม้ ฯลฯ
ขึ้น/แรม 12 ค่ำ
อัคนิโรธตกลงในตัวสตรี ห้ามซ่องเสพกับสตรี แต่งงาน ส่งตัวเจ้าสาว ฯลฯ
ขึ้น/แรม 13 ค่ำ
อัคนิโรธตกลงในตัวบุรุษ ห้ามซ่องเสพกับบุรา แต่งงาน ส่งตัวเข้าเรือนหอ ฯลฯ
ขึ้น/แรม 14 ค่ำ
อัคนิโรธตกลงในพัทธสีมา ห้ามมิให้ทำการอุปสมบทและบรรพชา
ขึ้น/แรม 15 ค่ำ
อัคนิโรธตกลงในเทวาอารักษ์ เทพทั้งหลาย ห้ามมิให้ทำการเซ่นสรวงบวงพลี ไหว้ครู บูชาเทพทั้งปวง
ดิถีร้าย/วันทรธึก
เป็นวันอันตราย เป็นวันห้ามทำการมงคล แม้ตรงกับ ดิถีที่ดีอื่น ๆ
เดือน 5 , 6 , 7
ห้ามวัน ขึ้น/แรม 7 ค่ำ
เดือน 8 , 9 , 10
ห้ามวัน ขึ้น/แรม 8 ค่ำ
เดือน 11 , 12 , 1
ห้ามวัน ขึ้น/แรม 9 ค่ำ
เดือน 2 , 3 , 4
ห้ามวัน ขึ้น/แรม 4 ค่ำ
ดิถีอายกรรมพลาย
เรียกกันว่า วันภาณฤกษ์/วันดาวกำพลาย/วันภาน (ภานุ) เป็นวันที่ภูติผีปีศาจ(พลาย) มีกำลังแรง เป็นดิถีห้ามทำการมงคล
ดิถี ปฐม ทุติยะ ตติยะล้วนแต่ไม่ดีทั้งสิ้น ท่านว่าดิถีปฐม ลำบากยุ่งยาก , ดิถีทุติยะ ร้ายกว่าอันแรก มักได้รับอันตราย , ดิถีตติยะ ร้ายแรงที่สุด
กระทิงวัน
เป็นวันที่ เลขของวันและเดือนตรงกัน วันกับดิถีตรงกัน , เดือนกับดิถีตรงกัน หรือ วัน ดิถี และเดือน ตรงกัน เป็นวันห้ามทำการมงคล โบราณว่าเป็นวันแรง เป็นวันแข็งไม่นิยมในการมงคล แต่เหมาะสำหรับการ ปลุกเสกเครื่องรางของขลัง และคาถาอาคม ยิ่งเลขของปีตรงกันก็ยิ่งแข็งมากอย่างเช่น วันอังคาร (เลข 3) เดือน 3 ปีขาล (เลข 3)
วันอาทิตย์
เดือน 1 (อ้าย)
ขึ้น/แรม 1 ค่ำ
วันจันทร์
เดือน 2 (ยี่)
ขึ้น/แรม 2 ค่ำ
วันอังคาร
เดือน 3
ขึ้น/แรม 3 ค่ำ
วันพุธ
เดือน 4
ขึ้น/แรม 4 ค่ำ
วันพฤหัสบดี
เดือน 5
ขึ้น/แรม 5 ค่ำ
วันศุกร์
เดือน 6
ขึ้น/แรม 6 ค่ำ
วันเสาร์
เดือน 7
ขึ้น/แรม 7 ค่ำ
ดิถีเรียงหมอน
ดิถีเรียงหมอน หรือดิถีแมลงปอ นี้ ใช้ในการแต่งงานถือฤกษ์แต่งงาน ข้างขึ้น โดยส่วนมากใช้ 7 , 10 และ 13 ค่ำ
และถ้าเป็นข้างแรมใช้ 4 , 8 , 10 และ 14 ค่ำ วันที่กำหนดไว้นี้ นับว่าเป็นวันเรียงหมอนได้ ดังนั้นการให้ฤกษ์แต่งงาน ควรหาฤกษ์ให้ตรงกับวันเรียงหมอน
วันดับวันศูนย์
วันดับวันศูนย์ เป็นวันที่ถือกันมาก ห้ามประกอบการมงคลใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้าประกอบการมงคลในวันดับศูนย์ การประกอบงานนั้นมักต้องประสบอันตราย
1. วันสิ้นเดือนทางจันทรคติ (ไม่มีแสดงในปฏิทิน)
2. วันอวมานโอน ตามการคำนวณปฏิทินโหราศาสตร์ (เป็นวันห้ามให้ฤกษ์ ห้ามทำการมงคลใด ๆ )
3. วันที่เกิดสุริยุปราคา เกิดคราส หลีกเลี่ยงประกอบการมงคล ก่อนและหลังเกิดคราส 7 วัน ถือว่าแรงของคราสจะลบล้างความดีต่าง ๆ ลงหมด และดาวอาทิตย์กับดาวจันทร์ก็หมดกำลังลงด้วย
4. วันที่มีพระอาทิตย์เป็น 2 ราศี ได้แก่ วันสงกรานต์ วันเนา วันที่พระอาทิตย์ย้ายเปลี่ยนราศี ตลอดจนกระทั่งดาวอื่น ๆ เปลี่ยนย้ายราศี ดังนั้นวันดับศูนย์จึงห้ามประกอบการใด ๆ ทั้งสิ้น (ไม่มีแสดงในปฏิทิน)
วันคู่ศัตรู
วันคู่ศัตรู โบราณให้หลีกเลี่ยงวันที่เป็นคู่ศัตรูกับ วันเกิดของเจ้างานการมงคลนั้น(ไม่มีแสดงในปฏิทิน)
วันอาทิตย์
เป็นคู่ศัตรูกัน.
วันอังคาร
วันศุกร์
เป็นคู่ศัตรูกัน
วันเสาร์
วันพุธ
เป็นคู่ศัตรูกัน
วันราหู(พุธกลางคืน)
วันจันทร์
เป็นคู่ศัตรูกัน
วันพฤหัสบดี
วันห้ามอื่น ๆ
ห้ามขึ้นบ้านใหม่วันเสาร์ , ห้ามเผาผีวันศุกร์ , ห้ามโกนจุกวันอังคาร , ห้ามแต่งงานวันพุธ , วันพุธห้ามตัด , วันพฤหัสห้ามถอน ,
สงฆ์ 14 , นารี 11 , แต่งงาน 7 , เผาศพ 15 ดูเพิ่ม
วันห้ามต่าง ๆ ของไทย
วันลอย วันจม วันฟู
การคำนวณวันลอย วันจม วันฟู มี 2 ตำรา คือ ตำราพรหมชาติ และ ตำราโหราศาสตร์ไทย ในปฏิทินชุดนี้อ้างอิงกฎเกณฑ์ ตำราโหราศาสตร์ไทย
วันลอย เป็นวันเหมาะแก่ การเริ่มต้นกิจการงาน และการมงคล สะดวก ไม่ติดขัด
วันฟู เป็นวันเหมาะแก่ วันที่ทำกิจการ การงาน การทำมาหากินและการอาชีพต่าง ๆ ของคนไทยในอดีต ซึ่งรวมถึงการทำการมงคลในเรื่องที่เกี่ยวด้วย งานที่อยู่กับที่
วันจม เป็นวันห้ามทำการมงคล ริ่เริ่มใหม่ ให้ทำแต่กิจการที่ทำอยู่หรือทำในเรื่องเล็กน้อย เพราะมักมีอุปสรรค เหตุขัดข้องเกิดขึ้น ห้ามเดินทางจากที่อยู่
เหมาะสำหรับ ออกคำสั่งบังคับบัญชา ประกาศ สั่งการ จ้างคน จ้างลูกน้อง หรือต้องการความเหนือกว่ามีอำนาจกว่า อำนาจควบคุม
อ้างอิง
อาจารย์หลวงวิศาลดรุณกร(อั้น สาริกบุตร). (พ.ศ.2508). คัมภีร์โหราศาสตร์ไทยมาตรฐาน ฉบับสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : อินเตอร์พรินต์.
อาจารย์สิงห์โต สุริยาอารักษ์. (พ.ศ.2512). โหราศาสตร์ไทย เรียนด้วยตนเองเล่มเดียวจบ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : เขษมบรรณกิจ.
อาจารย์พลูหลวง. (พ.ศ.2511). เคล็ดลับในการให้ฤกษ์และการตั้งชื่อ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : เขษมบรรณกิจ.