วันเกษตรแห่งชาติ
ทุกๆปี จะมีงานที่ถูกจัดขึ้นเกี่ยวกับทางด้านการเกษตร เป็นการนำเสนอผลงานวิชาการ ผลงานวิจัย และองค์ความรู้ ผ่านสื่อในรูปแบบต่าง ๆ มีการรวมตัวของเกษตรกรทั่วประเทศไทย ที่จะมารวมตัวกันในวันนี้ เพื่อที่จะจัดกิจกรรมงานวันเกษตรแห่งชาติ ซึ่งจะมีทั้งเหล่าเกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่สามารถเข้ามาชมงาน และซื้อของหรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการเกษตร หรือการแปรรูป ซึ่งจะมีทั้งอาหาร และของใช้ และ โดยผู้ร่วมงานจะได้พบกับความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางการเกษตรที่ยิ่งใหญ่ เช่น เรื่องดิน น้ำ การประมง ปศุสัตว์ พืชพรรณ พันธุ์ข้าว หม่อนไหม ไม้ผล ยางพารา และภูมิปัญญาจากชาวบ้าน
ความหมายของงงานเกษตรแห่งชาติ
เพราะชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ การปลูกข้าว หรือการเพาะปลูกในบ้านเรา จึงมีส่วนสำคัญ ที่จะทำให้คนไทยได้อุดหนุนสินค้าและผลิตภัณฑ์ในไทย รวมถึงพืชผลทางการเกษตร ซึ่งการจัดงานงานเกษตรแห่งชาติ ก็เพื่อให้ระลึกถึงชวนา ที่มีบุญคุณกับประเทศไทย ทำให้เราได้กินข้าวของคนไทยมาจนถึงทุกวันนี้
ที่มาของวันเกษตรแห่งชาติในประเทศไทย
เพราะประเทศไทย ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองแห่งเกษตรกรรม ทำให้มีข้าว และพืชผักสวนครัวมากมาย พอที่จะขายในประเทศ และส่งออกไปขายยังต่างประเทศด้วย แต่ เป็นเพราะมีสินค้าและผลผลิตทางการเกษตรมากมาย จึงทำให้มีการจัดงานวันเกษตรขึ้นมา ซึ่งในช่วง พ.ศ.2453 ถึง พ.ศ.2454 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสนับสนุนและเป็นผู้ริเริ่มการจัดงานการแสดงกสิกรรมและพาณิชการ หรือที่เรียกกันในปัจจุบันคืองานเกษตรแห่งชาติ
วันเกษตรของต่างประเทศ
ที่ต่างประเทศ ก็จะมีงานเกี่ยวกับวันเกษตรเช่นกัน ซึ่ง ส่วนใหญ่จะเป็นงานเทศกาล พวก ผัก หรือผลไม้มากกว่า เป็นการเฉลิมฉลองหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จ ก่อนจะพักหน้าดินแล้ว เริ่มเพาะปลูกต่อ แต่การจัดงานจะไม่เหมือนกับของไทยเรา ซึ่งส่วนใหญ่ทางต่างประเทศ จะเน้นเรื่องการผลิต และการจัดนิทรรศการ ของผักที่เก็บเกี่ยวได้ ซึ่งจะเห็นว่ามีช่วงที่เป็นลูกฟักทองมากมาย หลายขนาด ซึ่งจะมีการประกวดความใหญ่ยักษ์ของพืชผลทางการเกษตรมากกว่า
วันที่ใช้จัดงานกิจกรรมวันเกษตรแห่งชาติ
วันเกษตรแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี
ปฏิทินวันเกษตรแห่งชาติ
วันเกษตรแห่งชาติ พ.ศ.2558 ตรงกับ วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558 / วันจันทร์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีมะเมีย
วันเกษตรแห่งชาติ พ.ศ.2559 ตรงกับ วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 / วันอังคาร แรม ๑๐ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีมะแม
วันเกษตรแห่งชาติ พ.ศ.2560 ตรงกับ วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 / วันพฤหัสบดี ขึ้น ๖ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีวอก
วันเกษตรแห่งชาติ พ.ศ.2561 ตรงกับ วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 / วันศุกร์ แรม ๒ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีระกา
วันเกษตรแห่งชาติ พ.ศ.2562 ตรงกับ วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562 / วันเสาร์ แรม ๑๓ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีจอ
วันเกษตรแห่งชาติ พ.ศ.2563 ตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 / วันอาทิตย์ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีกุน
วันเกษตรแห่งชาติ พ.ศ.2564 ตรงกับ วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 / วันอังคาร แรม ๕ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีชวด
วันเกษตรแห่งชาติ พ.ศ.2565 ตรงกับ วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2565 / วันพุธ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีฉลู
วันเกษตรแห่งชาติ พ.ศ.2566 ตรงกับ วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566 / วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีขาล
วันเกษตรแห่งชาติ พ.ศ.2567 ตรงกับ วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 / วันศุกร์ แรม ๘ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีเถาะ
วันเกษตรแห่งชาติ พ.ศ.2568 ตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2568 / วันอาทิตย์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีมะโรง
ประวัติวันเกษตรแห่งชาติ
งานเกษตรแห่งชาติ เกิดขึ้นในช่วงของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปีพ.ศ.2453 ถึง พ.ศ.2454 ซึ่งพระองค์ ได้ทรงสนับสนุนและเป็นผู้ริเริ่มการจัดงานการแสดงกสิกรรมและพาณิชการ หรือ งานเกษตรแห่งชาติ
ช่วงระหว่างที่มีการจัดงานเกษตรนั้น ก็จะมีความบันเทิงต่างๆมากมาย เช่นการแสดงมหรสพ และแตรวง รวมทั้งจัดแสดงสินค้าทางเกษตรและเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้สำหรับการเพาะปลูกจากในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีการประกวดพันธุ์ข้าวและพันธุ์พืช การแนะนำให้รู้จักระบบชลประทานและรัฐบาลสนับสนุนลงทุนจัดงานให้ทั้งหมด ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และรัฐบาลมีนโยบายลดค่าใช้จ่ายในการจัดงานลง ทำให้การส่งพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ก็มีจำนวนลดลงด้วย ซึ่งในช่วงที่บ้านเมืองประสบปัญหาเศรษฐกิจ เป็นเหตุให้ต้องหยุดการจัดงานวันเกษตรไป เพราะขอบเขตของการจัดงานได้เริ่มขยายออกไปอย่างกว้างขวางจนเกินงบประมาณและกำลังคน ซึ่งแม้ งานวันเกษตรจะได้รับความสนใจจากประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียงก็ตาม ซึ่งการจัดงานวันเกษตรในยุคแรกๆ จะใช้ชื่องานว่า "งานวันเกษตร "
หลายปีต่อมารัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดงานเกษตร จึงมีมติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดงานวันเกษตรแห่งชาติขึ้น ตั้งแต่วันที่ 3-4 มกราคม พ.ศ.2491 โดยรัฐบาลให้การสนับสนุนด้านงบประมาณทำให้มีการจัดงานติดต่อกันเรื่อยมา เป็นประจำทุกปี ณ บริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน โดยวัตถุประสงค์ของการจัดงาน คือการจัดแสดงต่างๆ จะเป็นทางหนึ่งที่ชักนำปลุกใจอาณาประชาราษฎร์ ให้ประกอบการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และค้าขายให้เจริญทันสมัย โดยมีจุดประสงค์จะให้ประชาชนทั่วไปรวมทั้งเกษตรกร ได้เรียนรู้พัฒนาการวิชาการใหม่ๆ และเน้นนโยบายที่จะให้เกษตรทุกภาคได้รับความก้าวหน้า และพัฒนาการวิชาการการเกษตรใหม่ๆ และเน้นนโยบายที่จะให้เกษตรทุกภาคได้รับทราบความก้าวหน้า และพัฒนาการทางด้านการเกษตรอย่างทั่วถึงทั้งประเทศ นอกจากนั้นยังเน้นให้เกษตรที่ทำงานหนักมาทั้งปีได้มีโอกาสพักผ่อนหย่อนใจและหาความสำราญในการเที่ยวงาน จึงมีมติเห็นชอบให้จัดงานวันเกษตรแห่งชาติขึ้น
ต่อมาวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปีได้จัดให้มีการจัดงานวันเกษตรแห่งชาติขึ้น ซึ่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต่างเรียกชื่องานนี้ว่า "งานเกษตรแฟร์" ซึ่งได้มีการเปลี่ยนรูปแบบงานไปจากเดิม การจัดงานจึงไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ เหล่านั้นได้อย่างเต็มที่ ซึ่งกิจกรรมส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการจัดตลาดนัด และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่าง ทำให้เป้าหมายของงานเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก โดยจะเน้นทางด้านธุรกิจ ผู้ที่มาเที่ยวงานส่วนใหญ่เป็นนิสิตนักศึกษาและข้าราชการในมหาวิทยาลัยเกษตรเป็นส่วนใหญ่ และบุคคลภายนอกที่มาเดินเที่ยวชมงาน ส่วนพวกเกษตรกรจะมีแต่พวกที่เป็นแม่ค้าหรือพ่อค้าขนสินค้ามาเพื่อขายเท่านั้นมิได้สนใจใฝ่รู้พัฒนาการใหม่ๆ ทางด้านการเกษตร และบุคลากร
กิจกรรมวันเกษตรแห่งชาติ
กิจกรรมที่จัดขึ้นในงานเกษตรแฟร์ หรือ วันเกษตรแห่งชาตินั้น ส่วนใหญ่จะเป็นพี่น้องชาวไทยที่มุ่งหน้ามาจากทั่วทุกภาคของประเทศไทย เพื่อมาร่วมกิจกรรม ด้วยการนำผลิตภัณฑ์ ผลผลิตจากสวน จากไร่ เพื่อนำมาจำหน่ายให้กับพี่น้องชาวไทยที่มีโอกาสมีเที่ยวชมงาน ซึ่งนอกจากนี้ยังเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างชาวเกษตรด้วยกันอีกด้วย
จัดนิทรรศการดานการเกษตร
จัดนิทรรศการ ให้ความรู้ในเรื่อง การเกษตรในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการจัดนิทรรศการพระราชกรณียกิจ ด้านเกษตร แลละโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ทั้งนี้เพื่อให้ประชาขนทั่วไป ได้ตระหนักถึงการใช้ชีวิตแบบไม่ฟุ่มเฟือย และอยู่ได้ด้วยการปลูกผัก เลี้ยงสัตว์
ประชุม สัมนา ทางด้านการเกษตร
ประชุมสัมนาทางด้านการเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตร การเปิดการค้าเสรีกลุ่มอาเซียน สัมนาทางวิชาการ เรื่อง ข้าว ยาง และสัตว์เกษตร เพื่อให้เป็นการแลกเปลี่ยนของเกษตรกรทั่วประเทศไทย จะได้ทราบปัญหา ข้อมูล และแนวทาแก้ไข ให้พี่น้องชาวเกษตรได้มีมุมมองกว้างไกล และความรู้ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น
ประกวด ผลิตภัณฑ์อาหาร
จัดการสาธิตการอบรมและการประกวด ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลผลิตทางการเกษตร , ประกวดสัตว์เศรษฐกิจ และสัตว์สวยงาม ประกวดไม้ดอกไม้ประดับ เพื่อส่งเสริมให้ทุกคนที่มาประกวด ได้มีกำลังและรงใจ ที่จะพัฒนาพืชพรรณ หรือ สัตว์ประเภทต่างๆ ให้ดีขึ้น และเป็นแรงจูงใจที่จะได้นำมาประกวดในปีต่อๆไป
แปลงสาธิตด้านการเกษตรทางด้านพืชและสัตว์
เจ้าของสวน หรือลิตภัณฑ์ จะทำการจำลองพื้นที่การเพาะปลูก เพื่ออธิบายและให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจในผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่เริ่มการเตรียมดินจนถึงการเก็บเกี่ยวโดยไม่หวงความรู้ ซึ่งจะทำให้นักเรียน นักศึกษาได้ประโยชน์ และสามารถนำไปปรับใช้ได้จริงด้วย
นอกจากนี้ยังมีการแสดงกิจกรรมบันเทิง แสง สี เสียง ที่จะทำให้เกษตรกรที่มาในงาน รวมถึงประชาชนทั่วๆไป ได้มีการผ่อนคลายจากการแสดงบนเวที หลังจากที่เหน็ดเหนื่อยจากการนั่งขายของมาทั้งวันแล้ว
แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมวันเกษตรแห่งชาติ
อาชีพเกษตรกรรมในประเทศไทย ถือได้ว่าเป็นอาชีพที่มีความสำคัญที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังผูกพันกับวิถีชีวิตของคนไทยมาเป็นเวลานาน ประเทศไทยจึงได้มีการจัดงาน วันเกษตรแห่งชาติ ขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการรำลึกถึงความสำคัญของการเกษตรกรรม และเพื่อสนับสนุนการส่งเสริมอาชีพของเกษตรกร
จัดนิทรรศการให้ความรู้ด้านการเกษตร
วัตถุประสงค์ของการจัดงานนิทรรศการ คือการจัดแสดงต่างๆ ที่ชักนำปลุกใจอาณาประชาราษฎร์ ให้ประกอบการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และค้าขายให้เจริญและมีทันสมัยโดยมีจุดประสงค์จะให้ประชาชนทั่วไปรวมทั้งเกษตรกร ได้เรียนรู้พัฒนาการวิชาการใหม่ๆ และเน้นนโยบายที่จะให้เกษตรทุกภาคได้รับความก้าวหน้า และพัฒนาการวิชาการการเกษตรใหม่ๆ และเน้นนโยบายที่จะให้เกษตรทุกภาคได้รับทราบความก้าวหน้า และพัฒนาการทางด้านการเกษตรอย่างทั่วถึงทั้งประเทศ
ให้เกษตรกรมีรายได้จากการนำสินค้ามาขายในงาน
การจัดงานวันเกษตรแห่งชาติขึ้น คือการให้เกษตรกรทั่วประเทศ นำผลิตภัณฑ์ สินค้าการเกษตรออกมาจำหน่าย เพื่อให้คนอื่นได้รู้จัก สินค้าพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง หรือ พืชผักของแต่ละภาค นำมาจำหน่ายในงาน ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากนั้นยังเน้นให้เกษตรที่ทำงานหนักมาทั้งปีได้มีโอกาสพักผ่อนหย่อนใจและหาความสำราญในการเที่ยวงาน จึงมีมติเห็นชอบให้จัดงานวันเกษตรแห่งชาติขึ้น ทั้งในส่วนภูมิภาคสลับกับส่วนกลาง โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในภูมิภาคต่างๆ
ถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้
วัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อถ่ายทอดความรู้ เผยแพร่ความก้าวหน้าทางวิชาการและผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัย หน่วยราชการและภาคเอกชนที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งนวัตกรรมด้านการเกษตร เพื่อพัฒนาและสร้างความตระหนักให้เกษตรกร เห็นความสำคัญของการเกษตรแบบยั่งยืน และสนับสนุนการส่งเสริมอาชีพและธุรกิจด้านการเกษตรให้เกษตรกรในประเทศสามารถแข่งขันกับสินค้านำเข้าในเชิงคุณภาพได้ดี
จัดงานแสดงเกี่ยวกับการเกษตร
เพื่อแสดงถึงความก้าวหน้าของงานวิจัยทางการเกษตร ซึ่งจะเป็นฐานนำพาการเกษตรไทยให้ก้าวสู่ความเป็นสากล และเพื่อให้สอดคล้องซึ่งกันและกัน ในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อาจมีการจัดแสดงงานภายใต้แนวคิด "การเกษตร นวัตกรรมจากธรรมชาติ" เพื่อให้ผู้เข้าชมงานตระหนักถึงความสำคัญของภาคการเกษตร เป็นการค้นพบที่จะนำพาให้ภาคเกษตรเติบโตเป็นแกนหลักสำคัญของเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน