ปฏิทินจีน สิงหาคม พ.ศ.2530 / ค.ศ.1987

พ.ศ./ค.ศ.
แนะนำ บริการให้ฤกษ์บุคคลตามหลักโหราศาสตร์ขั้นสูง ฤกษ์แต่งงาน ออกรถ ผ่าคลอด ลาสิกขา ยกเสาเอก เปิดร้าน บ้านใหม่ ฯลฯ ... รายละเอียด
อ่าน ใช้งาน แล้ว เขียนรีวิว และคลิก Like , Share ให้ด้วยนะครับ :)   N/A จาก N/A รีวิว
หมายเหตุ ปฏิทินจันทรคติจีน ปฏิทินจีน สิงหาคม พ.ศ.2530/ค.ศ.1987
ปฏิทินจันทรคติจีน ปฏิทินจีน เป็นปฏิทินแบบดั้งเดิมที่ใช้ในประเทศจีนหรือคนเชื้อสายจีน มักเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปฏิทินการเกษตร (农历/太阴历) ปฏิทินจีนใช้การโคจรรอบโลกของดวงจันทร์ และการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ เป็นเกณฑ์ในการกำหนด เดือน ค่ำ ฤดูกาล เทศกาล วันไหว้ วันพระต่าง ๆ ตามวัฒนธรรมจีนดั้งเดิม รวมถึงกฎเกณฑ์ทางโหราศาสตร์จีน เช่น การเปลี่ยนปีนักษัตร ราศีฤดู ราศีวัน ราศีปี ยุคดาว ดาวยุคประจำปี รหัสปีเกิดชายหญิง หรืออื่น ๆ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน รูปแบบ กฎเกณฑ์ และข้อกำหนดของปฏิทินที่ควรทราบ สรุปเป็นข้อ ๆ ดังนี้

[1] ปฏิทินจันทรคติจีน/ปฏิทินจีนชุดนี้ คำนวณตามกฎเกณฑ์ปฏิทินจันทรคติจีนสากล ตรวจทานถูกต้องตรงกันกับปฏิทินจันทรคติจีน กรมอุตุนิยมวิทยา ฮ่องกง (HKO) ตรวจทานกับปฏิทินจีนที่มีตีพิมพ์ในไทย ในบางฉบับบางปี เฉพาะสารทที่อยู่ในช่วงเปลี่ยนวันหลังเวลา 23:00น. อาจมีนับตัดรอบวันไม่ตรงกัน

[2] การเปลี่ยนวันตามปฏิทินจันทรคติจีน ใน 1 วันของปฏิทินจันทรคติจีนจะมี 12 ยาม แบ่งยามละ 2 ชั่วโมง เริ่มต้นวันใหม่นับยามแรกที่ยามจื่อ (子) เวลา 23.00 - 00.59น. และยามสุดท้าย ยามที่ 12 สิ้นสุดเวลา 22.59น. โดยเวลาเที่ยงคืนจะเป็นเวลากึ่งกลางยามจื่อ ตามเวลามาตรฐานหรือสถานที่นั้น ๆ สำหรับประเทศไทยปัจจุบัน เวลาเริ่มต้นยามจื่อ เริ่มต้นวันใหม่ ก็คือเวลา 23.00น. เวลามาตรฐานประเทศไทย (UTC+07:00) เวลาหลังจากนั้นก็จะถือเป็นวันใหม่

เวลาเปลี่ยนสารท และเวลาในปฏิทินจีนชุดนี้ จะเป็นเวลามาตรฐานประเทศไทย (UTC+07:00) หรือตามที่ใช้จริงในช่วงปีนั้น ๆ

เวลาเปลี่ยนสารททั้ง 24 ในปฏิทินจีนชุดนี้ คำนวณจากตำแหน่งองศาอาทิตย์ ละเอียดระดับวินาที แบบดาราศาสตร์ (Tropical Zodiac) ตามกฏเกณฑ์การคำนวณปฏิทินจีนดั้งเดิมรัชสมัยของจักรพรรดิคังซี (康熙) แสดงเป็นเวลามาตรฐานประเทศไทย (UTC+07:00) หรือตามที่ใช้จริงในช่วงปีนั้น ๆ , สามารถสอบทานผลเวลา หรือเกณฑ์คำนวณเวลาได้ เช่น สารทที่ 4 ชุนฮุน (春分) วันเวลาย้ายสารท จะต้องตรงกันกับวันเวลา วสันตวิษุวัต (Vernal Equinox) หรือเริ่มต้นฤดูกาลทางดาราศาสตร์ เป็นต้น

เทียบเวลามาตรฐานประเทศจีน และ เวลามาตรฐานประเทศไทย ที่มีอ้างอิงหรือตัดรอบวันในปฏิทินจีนบางเล่ม มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญแบ่งเป็น 3 ช่วงเวลา ดังนี้ (1.) ก่อน 1 เมษายน พ.ศ.2463 ประเทศไทยใช้เวลามาตรฐานกรุงเทพฯ UTC+06:42 เป็นเวลามาตรฐาน ส่วนประเทศจีนใช้เวลามาตรฐานปักกิ่ง UTC+07:45 เป็นหลัก ช่วงห่างเวลาคือ 63 นาที , (2.) หลัง 1 เมษายน พ.ศ.2463 ประเทศไทยเริ่มใช้เวลามาตรฐาน UTC+07:00 ในขณะที่ประเทศจีนยังใช้เวลามาตรฐานปักกิ่ง ดังนั้นช่วง พ.ศ.2463 - 2492 (ค.ศ.1920 - 1949) ช่วงเวลาจะต่างกัน 45 นาที , (3.) หลังปี พ.ศ.2492 ถึงปัจจุบัน ประเทศจีนเริ่มใช้เวลามาตรฐาน UTC+08:00 จะต่างกับเวลามาตรฐานประเทศไทย 1 ชั่วโมง

[3] การเปลี่ยนปีนักษัตรจีน การเริ่มต้นนับราศีฤดู ราศีปี ขวบปีใหม่ ยุคดาว รหัสปีเกิด ตามปฏิทินจันทรคติจีน จะเปลี่ยนใน วันสารทลิบชุน (立春) ซึ่งเป็นสารทแรกของปี ประมาณช่วงวันที่ 3 - 5 กุมภาพันธ์ , ตามกฎเกณฑ์ปฏิทินจีนโบราณ วันตรุษจีน (春节) แต่เดิมมีชื่อเต็มว่า วันเทศกาลสารทลิบชุน (立春) ซึ่งแปลว่าเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ เริ่มฤดูกาลในระบบ 24 ฤดูกาล (สารท) ในฐานะที่เป็นประเทศเกษตรกรรม ชาวจีนโบราณจะให้ความสำคัญกับวันสารทลิบชุนเป็นอย่างมาก อากาศเริ่มอุ่น หิมะเริ่มละลาย เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าฤดูใบไม้ผลิได้เริ่มต้นแล้ว เริ่มต้นทำการเกษตรได้ มีการจัดงานเลี้ยงฉลองยิ่งใหญ่ ทั้งในพระราชวังและชาวบ้านทั่วไป

ภายหลังการปฏิวัติซินไฮ่ (辛亥革命) โค่นล้มราชวงศ์ชิง เปลี่ยนการปกครอง และสถาปนาสาธารณรัฐจีนสำเร็จ (พ.ศ.2455) ในช่วงแรก ดร. ซุน ยัตเซน เป็นประธานาธิบดี ได้มีประกาศล้มล้างกฎเกณฑ์ที่ใช้ยุคสมัยจักรพรรดิราชย์ หนึ่งในนั้นคือยกเลิกปฏิทินเก่า โดยเปลี่ยนวันหยวนต้าน (元旦) หรือ เทศกาลปี (年节) ซึ่งเดิมตรงกับ วัน 1 ค่ำ เดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติจีน เป็นวันที่ 1 มกราคม วันขึ้นปีใหม่ ตามปฏิทินสุริยคติสากลแทน

หลังจากนั้น 2 ปี (พ.ศ.2457) หยวนซื่อไข่ เป็นประธานาธิบดี ได้กำหนด วันหยุด 4 ฤดูกาล (四季节假呈) มีประกาศเปลี่ยนวัน 1 ค่ำ เดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติจีน หรือวันหยวนต้าน (元旦) เดิม เป็นวันตรุษจีน (春节) แทน ทำให้เทศกาลสารทลิบชุน หรือ วันตรุษจีนเดิม ที่มีมามากกว่าสองพันปีได้ค่อย ๆ สูญหายกลายเป็นเพียงช่วงเวลาหนึ่งของสารทฤดูกาล , การเปลี่ยนปีนักษัตร ตามกฎเกณฑ์ปฏิทินจีนดั้งเดิม เปลี่ยนปีนักษัตรวันสารทลิบชุน (立春) ปี พ.ศ.2530 เปลี่ยนปีนักษัตรจาก ปีขาล (丙寅) เป็น ปีขาล (丁卯) ใน วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2530 เวลา 15:51น.

ทั้งนี้หากเทียบปฏิทินจีนที่ตีพิมพ์บางเล่ม ปีนักษัตรอาจไม่ตรงกันเพราะบางเล่มกำหนดวันตรุษจีน เป็นวันเปลี่ยนปีนักษัตร หรือให้วันสารทตังโจ่ย (冬至) เป็นวันเปลี่ยนปีนักษัตรก็มี , ปีนักษัตรจีนมีลำดับดังนี้ ปีชวด (鼠) , ปีฉลู (牛) , ปีขาล (虎) , ปีเถาะ (兔) , ปีมังกร(มะโรง) (龙) , ปีมะเส็ง (蛇) , ปีมะเมีย (马) , ปีมะแม (羊) , ปีวอก (猴) , ปีระกา (鸡) , ปีจอ (狗) , ปีกุน (猪) , ปีนักษัตรจีนลำดับจะเหมือนนักษัตรไทย แตกต่างกันตรงช่วงเวลาเปลี่ยนปีนักษัตร

[4] เดือนจีน เดือนจันทรคติจีน คล้ายกับเดือนจันทรคติไทย แตกต่างตรงการนับวัน ซึ่งนับ 1 - 29 หรือ 1 - 30 วัน (ค่ำ) คล้ายกับค่ำในปฏิทินจันทรคติไทย ไม่นับแยกข้างขึ้น ข้างแรม ในแต่ละเดือนจะมีวันพระ 2 ครั้ง คือ วัน 1 ค่ำ (วันชิวอิก) และวัน 15 ค่ำ (วันจับโหงว) ซึ่งวันพระจีนอาจตรงหรือไม่ตรงกับวันพระตามปฏิทินจันทรคติไทย รวมถึงเดือนและวันจันทรคติไทย กับเดือนและวันจันทรคติจีนอาจไม่ตรงกัน เป็นเพราะกฎเกณฑ์เงื่อนไข ข้อกำหนด การวางกฏเกณฑ์ปฏิทินต่างกัน

ปีจันทรคติจีนปรกติ จะมี 354 หรือ 355 วัน เดือนเล็ก/เดือนขาด เสี่ยวเยว่ (小月) มี 29 วัน เดือนใหญ่/เดือนเต็ม ต้าเยว่ (大月) มี 30 วัน การวางเดือนใหญ่ เดือนเล็กอาจแตกต่างกันในแต่ละปี ไม่จำเป็นต้องเป็นเดือนคู่ เดือนคี่ แบบปฏิทินจันทรคติไทย , ประมาณทุก ๆ 3 - 4 ปี จะมีการเพิ่มเดือนซ้ำครั้งหนึ่ง คล้ายกับเดือน อธิกมาส ในระบบปฏิทินจันทรคติไทย , หากปีใดมีเดือนซ้ำ ช่วนเยว่ (閏月)) ปีปฏิทินฯ จะมีจำนวนวัน 383 หรือ 384 วัน , ระบบอธิกมาสในปฏิทินจันทรคติจีน ไม่จำเป็นว่าต้องเพิ่มเดือนตรงเดือนแปด มีเดือนแปดสองหน (๘๘) แบบปฏิทินจันทรคติไทย จะเพิ่มเดือนตรงเดือนไหนก็ได้ใน 12 เดือน , ในปฏิทินข้างต้น ในบางปีที่มีเดือนเพิ่มจะระบุเลขเดือนเป็นเลขซ้ำ เช่น 66 หมายถึงเดือน 6 หลังที่เพิ่มมา , ทุก ๆ 19 ปี จะมี การเพิ่มเดือนหรืออธิกมาสจีน ประมาณ 7 ครั้ง

เดือนจันทรคติจีน มี 12 เดือนดังนี้ 1.เจิง เยว่ (正月) , 2.เอ้อ เยว่ (二月) , 3. ซาน เยว่ ( 三月) , 4.ชื่อ เยว่ (四月) , 5.อู่ เยว่ (五月) , 6.六月 (ลิ่ว เยว่) , 7.ชี เยว่ (七月) , 8.ปา เยว่ (八月) , 9.จิ่ว เยว่ (九月) , 10. สือ เยว่ (十月) , 11.ดอง เยว่ (冬月) , 12.หล้า เยว่ ( 腊月)

[5] สารทจีนในแต่ละขวบปีจะมี 24 สารท แต่ละเดือนจะมี 2 สารท มีลำดับดังนี้ 1.สารทลิบชุน (立春) , 2.สารทอู่จุ้ย (雨水) , 3.สารทเก๋งเต็ก (驚蟄) , 4.สารทชุนฮุน (春分) , 5.สารทเช็งเม้ง (清明) , 6.สารทก๊อกอู๋ (穀雨) , 7.สารทลิบแฮ่ (立夏) , 8.สารทเสี่ยวมั๊ว (小滿) , 9.สารทมั่งเจ็ง (芒種) , 10.สารทแฮ่จ็ง (夏至) , 11.สารทเสี่ยวซู๊ (小暑) , 12.สารทไต้ซู๊ (大暑) , 13.สารทลิบชิว (立秋) , 14.สารทซู่ซู๊ (處暑) , 15.สารทแปะโล่ว (白露) , 16.สารทชิวฮุน (秋分) , 17.สารทฮั่งโล่ว (寒露) , 18.สารทซึงกั่ง (霜降) , 19.สารทลิบตัง (立冬) , 20.สารทเสี่ยวเสาะ (小雪) , 21.สารทไต้เสาะ (大雪) , 22.สารทตังโจ่ย (冬至) , 23.สารทเสี่ยวฮั้ง (小雪) , 24.สารทไต้ฮั้ง (大寒) , โดยสารทเลขคี่ จะเป็นสารทใหญ่ (โจ๊ย : 节) ส่วนสารทเลขคู่ จะเป็นสารทเล็ก (ขี่ : 气)

[6] ปฏิทินจีน ชื่อราศีบน ราศีฟ้า ทั้ง 10 ราศี คือ กะ (甲) ธาตุไม้ - พลังเอี้ยง , อิก (乙) ธาตุไม้ - พลังอิม , เปี้ย (丙) ธาตุไฟ - พลังเอี้ยง , เต็ง (丁) ธาตุไฟ - พลังอิม , โบ่ว (戊) ธาตุดิน - พลังเอี้ยง , กี้ (己) ธาตุดิน - พลังอิม , แก (庚) ธาตุทอง - พลังเอี้ยง , ซิง (辛) ธาตุทอง - พลังอิม , หยิ่ม (壬) ธาตุน้ำ - พลังเอี้ยง , กุ่ย (癸) ธาตุน้ำ - พลังอิม

ปฏิทินจีน ชื่อราศีล่าง ราศีดิน ทั้ง 12 ราศี คือ จื้อ (子) ปีชวด - ธาตุน้ำ - พลังเอี้ยง , ทิ่ว (丑) ปีฉลู - ธาตุดิน - พลังอิม , เอี้ยง (寅) ปีขาล - ธาตุไม้ - พลังเอี้ยง , เบ้า (卯) ปีเถาะ - ธาตุไม้ - พลังอิม , ซิ้ง (辰) ปีมะโรง - ธาตุดิน - พลังเอี้ยง , จี๋ (巳) ปีมะเส็ง - ธาตุไฟ - พลังอิม , โง่ว (牛) ปีมะเมีย - ธาตุไฟ - พลังเอี้ยง , บี่ (未) ปีมะแม - ธาตุดิน - พลังอิม , ซิม (申) ปีวอก - ธาตุทอง - พลังเอี้ยง , อื้ว (酉) ปีระกา - ธาตุทอง - พลังอิม , สุก (戌) ปีจอ - ธาตุดิน - พลังเอี้ยง , ไห (亥) ปีกุน - ธาตุน้ำ - พลังอิม

[7] ปฏิทินช่วงก่อนปี พ.ศ.2483 ประเทศไทยยังนับวันเปลี่ยนปีใหม่ เปลี่ยน พ.ศ. ในวันที่ 1 เมษายน ซึ่งถ้าอยู่ในช่วงวันเวลานั้น อาจนับปี พ.ศ. เรียกใช้ หรือเข้าใจไม่ตรงกัน แนะนำให้ใช้ ปี. ค.ศ. เทียบแทน

วันขึ้นปีใหม่ไทย ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ กำหนดวันขึ้นปีใหม่ในวันขึ้น ๑ ค่ำเดือนห้า(๕) ตามคติพราหมณ์ - ฮินดู และใช้จนวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2432 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็น วันที่ 1 เมษายน แทน และใช้จนถึง พ.ศ.2483 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ทรงมีการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ไทยตามสากลประเทศ จากวันที่ 1 เมษายน เป็น วันที่ 1 มกราคม โดยเริ่มใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2484 เป็นต้นมา , ในปี พ.ศ.2483 ถ้านับถึงเปลี่ยนปีใหม่ เลือนวันจาก 1 เมษายน เป็นวันที่ 1 มกราคม ปรับปีใหม่เร็วขึ้น จำนวนเดือนในปีปฏิทินไทยจึงหายไป 3 เดือน ดังนั้นในปี พ.ศ.2483 หากนับช่วงเวลา มี 9 เดือน โดยวันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม พ.ศ.2483 ไม่มีอยู่ในปฏิทินไทย แต่ตามปฏิทินสุริคติซึ่งตรงกับปี ค.ศ.1940 ช่วงเวลาดังกล่าวมีอยู่ปรกติ