แผนที่ดาวแบบหมุน แผนที่ฟ้า (Planisphere)
แผนที่ดาว หรือ แผนที่ฟ้า แบบหมุน (Planisphere) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ช่วยในการศึกษาเรียนรู้ทางด้านดาราศาสตร์ ดูดาวและสังเกตการณ์ท้องฟ้า โดยปรกติเราจะรู้จักแผนที่ดาวแบบหมุน ในรูปแบบกระดาษหรือพลาสติกที่มีขนาดใหญ่กว่า A4 เล็กน้อยสะดวกในการพกพา และมีพื้นที่พอสำหรับใส่รายละเอียดท้องฟ้า ในการใช้งานทั่วไปก็ใช้งานได้ดี อาจมีข้อจำกัดบางอย่าง เช่น แผนที่ดาวฯ ส่วนใหญ่ออกแบบมาสำหรับ ละติจูดเดียว ที่พบบ่อยคือ ละติจูด 14°, 15°เหนือ ซึ่งเหมาะสำหรับพื้นที่ กรุงเทพฯ หรือภาคกลาง แต่เมื่อนำไปใช้ที่ภาคเหนือ ละติจูด 18 °- 21° เหนือ หรือ ภาคใต้ ละติจูด 7 °- 10 ° เหนือ ตำแหน่งดาวในแผนที่ดาวฯ ต่างจากตำแหน่งดาวบนท้องฟ้าจริง หรือบางครั้งต้องการดูตำแหน่งดาวเคราะห์ด้วย แต่ไม่มีข้อมูลในแผนที่ดาวฯ เพราะตำแหน่งดาวเคราะห์ รวมถึงดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ มีการเคลื่อนที่ตลอดเวลาตามวันเวลาที่เปลี่ยนไป
ด้วยเห็นประโยชน์สำหรับผู้สนใจเรียนรู้ดาราศาสตร์ทั่วไป รวมถึงนักเรียนนักศึกษาซึ่งอาจไม่สะดวกในจัดหาแผนที่ดาวฯ ได้มีโอกาสสัมผัสเรียนรู้ทดลองการใช้งานแผนที่ดาวฯ จึงได้จัดทำแผนที่ดาวฯ ในรูปแบบออนไลน์ขึ้นมา โดยแผนที่ดาวฯ ที่จัดทำแผยแพร่นี้ ออกแบบสำหรับใช้ดูดาวที่ละติจูด 0° - 45° เหนือ ครอบคลุมทุกพื้นที่ในประเทศไทย (5° - 21° เหนือ) หมุนวันเวลาที่สังเกตการณ์ได้ สามารถใช้งานได้ 2 หน้า ตามทิศที่สังเกตุการณ์ แสดงตำแหน่งดาวเคราะห์ตามวันเวลาที่กำหนดได้ เป็นต้น
เพื่อแนะนำแผนที่ดาว แบบหมุน รายละเอียดส่วนประกอบต่าง ๆ ของแผนที่ดาวที่ควรทราบ รวมถึงวิธีการใช้งาน สรุปเป็นเบื้องต้นดังนี้
[1]. แผนที่ดาว แผนที่ฟ้า แบบหมุน มีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วน คือ
(1). แผ่นแผนที่ดาว แผ่นล่างหมุนได้ แสดงแผนที่ดาวพร้อมรายละเอียด เช่น
● วันที่สังเกตการณ์ (Date) ขอบด้านนอก สเกล วันที่ (1 - 31 ) และ เดือน (มกราคม - ธันวาคม)
● เส้นสุริยวิถี/รวิมรรค (Ecliptic) เส้นโค้งสีแดงมีขีดวันที่วันที่และเดือน พร้อม สัญลักษณ์ราศี เช่น สีเขียว
a จักราศีสายนะ (Tropical Zodiac) , สีน้ำเงินเข้ม
a จักราศีนิรายนะ (Sidereal Zodiac)
● เส้นศูนย์สูตรฟ้า (Celestrial Equator) เส้นโค้งสีน้ำเงินใกล้เส้นสุริยวิถี
● จุดดาว ขนาดใหญ่เล็กตามอันดับความสว่างของดาวฤกษ์ จุดใหญ่ดวงดาวมีความสว่างมากกว่าจุดเล็ก , โชติมาตร (Star Magnitude)
● กลุ่มดาวและชื่อกลุ่มดาว 12 ราศี อยู่ใกล้แนวเส้นสุริยวิถี
● กลุ่มดาวและชื่อกลุ่มดาวสำคัญ ๆ ทั้ง 88 กลุ่มตามสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (The International Astronomical Union - IAU)
● ทางช้างเผือก แถบสีเทาพาดผ่านกลุ่มดาวต่าง ๆ โดยจุดศูนย์กลางทางช้างเผือก อยู่บริเวณกลุ่มดาวแมงป่อง
● ดาวเคราะห์ [เลือกแสดง] ใช้จุดสีแทนดาวเคราะห์ ใช้ตามสีประจำวัน ตามชื่อดาว เช่น
• ดวงอาทิตย์,
• ดวงจันทร์,
• ดาวอังคาร,
• ดาวพุธ,
• ดาวพฤหัสบดี,
• ดาวศุกร์ และ
• ดาวเสาร์ เป็นต้น
● หมุนแผนที่ดาว คลิก
❯
: หมุนซ้าย/ขวา ช้า ...
❯❯❯❯❯
: หมุนซ้าย/ขวา เร็ว ,
❯
❯
: หมุนซ้าย/ขวา ,
หมุนต่อเนื่อง คลิกค้าง ,
↺
: เริ่มต้น
(2). แผ่นขอบฟ้า กรอบด้านนอก ตรงกลางโปร่งใสแสดงเส้นและจุดสำคัญต่าง ๆ เช่น
● เวลาสังเกตการณ์ (Time) ขอบด้านใน สเกล เวลา ชั่วโมง (24 ชม.) และ นาที (60 นท.)
● เส้นขอบฟ้า (Horizon) แนวเส้นขอบท้องฟ้าที่จรดพื้นราบ ในแผนที่ดาว คือขอบกรอบตรงกลาง แสดงทิศต่าง ๆ
● เส้นมุมทิศ (Azimuth) ในแผนที่ดาว คือเส้นแนวตั้งสีเขียว ด้านล่างมี องศาและทิศหลัก
มุมทิศ ในระบบพิกัดขอบฟ้า (Horizontal Coordinates) เป็นมุมในแนวราบขนานกับเส้นขอบฟ้า มีค่าระหว่าง 0 - 360° เริ่ม 0° ที่ทิศเหนือ ตามเข็มนาฬิกา ไปยังทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก และกลับมายังทิศเหนืออีกครั้งตามลำดับ เช่น ทิศเหนือ 0° , ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (NE) 45° , ทิศตะวันออก (E) 90° , ทิศใต้ (S) 180° , ทิศตะวันตก (W) 270°
● เส้นมุมเงย (Altitude) ในแผนที่ดาว คือเส้นแนวนอนสีเขียว แบ่งช่องละ 15 องศา มุมเงย 0° เริ่มที่เส้นขอบฟ้า แผนที่แสดง มุมเงย 15°, 30°, 45°, 60°, 75°
มุมเงย ในระบบพิกัดขอบฟ้า (Horizontal Coordinates) เป็นมุมในแนวดิ่งที่ใช้บอกความสูงของวัตถุบนท้องฟ้า มีค่าระหว่าง 0 - 90° เริ่ม 0° ที่เส้นขอบฟ้า จนถึง 90° (จุดจอมฟ้า) ในกรณีที่มุมเงยมีค่า น้อยกว่า 0° หรืออยู่ระหว่าง 0° ถึง - 90° หมายถึง ณ เวลานั้น ๆ วัตถุบนท้องฟ้ายังอยู่ต่ำกว่าเส้นขอบฟ้า (0°) และไม่สามารถมองเห็นได้
● จุดจอมฟ้า (Zenith) จุดเหนือศีรษะ ในแผนที่ดาว คือจุดมุมเงย 90° จุดรวมของเส้นมุมทิศ
● เส้นเมอริเดียน (Zenith) ในแผนที่ดาว คือเส้นสีเขียว แนวตั้งตรงกลาง ในแผนที่ดาวขั้วฟ้าเหนือ เส้นเมอริเดียน ลากจากขอบฟ้า ทิศเหนือ 0° ผ่านจุดจอมฟ้า ไปยังขอบฟ้าทิศใต้ 180°
[2]. แผนที่ดาวสามารถใช้งานได้ 2 หน้า ตามทิศที่สังเกตุการณ์ คือ หน้าขั้วฟ้าเหนือ (Northern Hemisphere / North Celestial Pole) และ ซีกฟ้าใต้ (Southern Hemisphere) เลือกโดยการ คลิก "พลิกแผนที่" (หากเป็นแผนที่ดาวจริงให้พลิกอีกด้าน) การใช้งานอาจเรียกแผนที่ดาวตามลักษณะของแนวเส้นขอบฟ้า ที่โค้งต่างกัน เช่น หน้าขั้วฟ้าเหนือแนวเส้นขอบฟ้าโค้งหงาย เรียก "
หน้ายิ้ม" และ หน้าขั้วฟ้าใต้แนวเส้นขอบฟ้าโค้งคว่ำ เรียก "
หน้าบึ้ง"
[3]. การเลือกใช้แผนที่ดาว ให้เลือกตามละติจูดที่สังเกตุการณ์ เช่น กรุงเทพฯ ตั้งอยู่ที่ละติจูด 13.75° เหนือ ให้ตั้งค่าละติจูดให้ตรงกันหรือใกล้เคียง เช่น 13° หรือ 14° เหนือ หากเป็นแผนที่ดาวที่มีวางจำหน่ายให้เลือกละติจูดที่ใกล้เคียงที่สุด เช่น 13° - 15° เหนือ , การดูว่าแผนที่ดาวเหมาะกับละติจูดที่ใช้สังเกตุการณ์หรือไม่นั้น ให้สังเกตหมุดหมุนตรงกลางแผนที่ดาว (North Celestial Pole) ตรงกับเส้นมุมเงย เช่น แผนที่ดาว ละติจูด 15° เหนือ ในหน้าขั้วฟ้าเหนือ หมุดตรงกลางอยู่ตรงกับเส้นมุมเงย 15° พอดี
วิธีการใช้แผนที่ดาวแบบหมุน แผนที่ฟ้า เบื้องต้น
[1]. ก่อนอื่นต้องทราบ วันที่ เดือน และ เวลาที่สังเกตุการณ์ รวมถึงทิศทางท้องฟ้าว่าเป็นขั้วฟ้าเหนือ (Northern Hemisphere) หรือ ซีกฟ้าใต้ (Southern Hemisphere) เลือก/สลับแผนที่ดาว คลิก "พลิกแผนที่"
[2]. ตัวอย่าง ดูดาวขั้วฟ้าเหนือ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ เวลา 21:00น. ใช้แผนที่หน้ายิ้ม ขั้วฟ้าเหนือ โดยมองหาขีดวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ในแผนที่ดาวแผ่นล่าง และ มองหาขีดเวลา 21:00น. ในแผ่นขอบฟ้าแผ่นบน เมื่อได้ตำแหน่งขีดแล้ว หมุนขีดวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ให้ตรงกับขีดเวลา 21:00น. ( คลิก
❮
หรือ
❯
หมุนแผนที่ ) จะได้แผนที่ดาว ณ. วันเวลานั้น ๆ
[3]. หันหน้าไปทางทิศเหนือ ยกแผนที่ดาวไว้ตรงหน้า ให้ทิศเหนือ (0°) ในแผนที่ตรงกับ ทิศเหนือตามสถานที่สังเกตุการณ์ โดยทิศตะวันออกอยู่ด้านขวามือ และทิศตะวันตกอยู่ด้านซ้ายมือ ด้านหลังเป็นทิศใต้
[4]. การสังเกตการณ์ให้เริ่มจากดาวที่สว่างมาก เปรียบเทียบตำแหน่งกับจุดดาวสีดำใหญ่ในแผนที่ดาว เมื่อหาดาวหลักได้แล้ว ค่อยเปรียบเทียบหาตำแหน่งดาวอื่น ๆ , การหาตำแหน่งดาวอาจต้องมีการวัดมุมดาว มุมทิศ มุมเงย เปรียบเทียบตำแหน่งในแผนที่ดาว ให้ดู
วิธีการวัดมุมดาวด้วยมือ
[5]. ระหว่างใช้แผนที่ขั้วฟ้าเหนือ หากต้องการดูดาวทาง ทิศตะวันออก 90° และ ทิศตะวันตก 270° ให้ห้นหน้าไปทางขวามือทิศตะวันออก หรือทางซ้ายมือตะวันตก หาตำแหน่งดาววัดมุมดาว มุมทิศ มุมเงย เปรียบเทียบตำแหน่งในแผนที่ดาว
[6]. ดูดาวซีกฟ้าใต้ ใช้แผนที่หน้าบึ้ง ซีกฟ้าใต้ (Southern Hemisphere) หมุนวันเวลาตามข้อ [2]. (กรณีวันเวลาเดียวกันกับขั้วฟ้าเหนือให้ "พลิกแผนที่" อีกด้าน) หันหน้าไปทางทิศใต้ ยกแผนที่ดาวไว้ตรงหน้า ให้ทิศใต้ (180°) ในแผนที่ตรงกับ ทิศใต้ตามสถานที่สังเกตุการณ์ หาตำแหน่งดาวแบบเดียวกับดูดาวขั้วฟ้าเหนือ , เรียกแผนที่ดาวซีกฟ้าใต้ (Southern Hemisphere) เพราะละติจูดที่สังเกตุการณ์เหนือเส้นศูนย์โลก จึงไม่สามารถมองเห็นขั้วฟ้าใต้ (South Celestial Pole) ได้