วันสตรีสากล
เพราะในอดีต สตรีถูกเอาเปรียบกดขี่ขูดรีด ทารุณ จากนายจ้างที่เห็นผลผลิตสำคัญกว่าชีวิตคน จึงทำให้เหล่าสตรีลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิ์ เสรีภาพ เพื่อที่จะทำให้ตัวเองเป็นไท และมีอิสระที่จะไม่ยอมตกเป็นเบี้ยล่าง ให้ถูกกดขี่อีกต่อไป
ความหมายของวันสตรีสากล
วันสตรีสากลหมายถึง "สิทธิสหประชาชาติผู้หญิงและสันติภาพนานาชาติ โดยกำหนดให้ 8 มีนาคม เป็นวันสตรีสากล เพื่อให้ผู้หญิงมีความ "ความเท่าเทียมทางเพศ" การพัฒนาได้สร้างคุณูปการอันยิ่งใหญ่และการเสียสละซึ่งก่อให้เกิด "สหพันธ์สตรี." พรรคและรัฐบาลรักษาจะรักษาผลประโยชน์ที่ถูกต้องตามกฎหมายของคนส่วนใหญ่
วันสตรีสากลในประเทศไทย
เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการใช้ การควบคุมทรัพยากร เพื่อให้หลุดจากการกีดกันต่างๆ เจตนารมณ์ให้มีความเป็นธรรมเกิดขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่างหญิงชายในทุกรูปแบบ และให้สตรีได้มีโอกาสรับประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเท่าเทียม ซึ่งประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะปฏิบัติตามพันธสัญญาต่อเวทีโลกที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับบทบาทและสถานภาพสตรี โดยได้มีการดำเนินการทั้งในแง่กฎหมาย นโยบาย มาตรการและกิจกรรมต่างๆ ในการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย
วันสตรีสากลของต่างประเทศ
กลุ่มสตรีจากทุกทวีปไม่ว่าจะแตกต่างกันโดยเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม เศรษฐกิจ หรือ การเมืองก็ตาม ได้รวมตัวกันเพื่อฉลองวันสำคัญนี้ เพื่อรำลึกถึงความเป็นมาแห่งการต่อสู้อันยาวนาน เพื่อให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคความยุติธรรม สันติภาพและการพัฒนา ซึ่งวันสตรีสากล ไม่ได้เป็นเพียงวันที่กลุ่มสตรีทั่วโลกร่วมฉลองกันเท่านั้น แต่เป็นวันที่องค์กรสหประชาชาติได้ร่วมเฉลิมฉลองด้วย และอีกหลายประเทศได้กำหนดให้วันที่ 8 มีนาคมของทุกปี เป็นวันหยุดประจำชาติของตน อีกด้วย
แต่ในบางประเทศ อาจจะแตกต่างกันไป ซึ่งเหตุเริ่มจากวันที่กรรมกรสตรีโรงงานทอผ้าในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ลุกฮือขึ้นเดินขบวนประท้วงการเอาเปรียบกดขี่ขูดรีด ทารุณ จากนายจ้างที่เห็นผลผลิตสำคัญกว่าชีวิต ทำให้ตัวแทนสตรีจาก 17 ประเทศ ได้เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยมครั้งที่ 2และประกาศให้วันที่ 8 มีนาคมของทุกปีเป็น "วันสตรีสากล"
วันที่ใช้ในการจัดกิจกรรมวันสตรีสากล
วันที่ 8 มีนาคม ของทุก เป็นวันที่ใช้ในการจัดกิจกรรมวันสตรีสากล
ปฏิทินวันสตรีสากล
วันสตรีสากล พ.ศ.2558 ตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2558 / วันอาทิตย์ แรม ๔ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีมะเมีย
วันสตรีสากล พ.ศ.2559 ตรงกับ วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2559 / วันอังคาร ขึ้น ๑ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีมะแม
วันสตรีสากล พ.ศ.2560 ตรงกับ วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2560 / วันพุธ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีวอก
วันสตรีสากล พ.ศ.2561 ตรงกับ วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2561 / วันพฤหัสบดี แรม ๗ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีระกา
วันสตรีสากล พ.ศ.2562 ตรงกับ วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2562 / วันศุกร์ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีจอ
วันสตรีสากล พ.ศ.2563 ตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2563 / วันอาทิตย์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีกุน
วันสตรีสากล พ.ศ.2564 ตรงกับ วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2564 / วันจันทร์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีชวด
วันสตรีสากล พ.ศ.2565 ตรงกับ วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2565 / วันอังคาร ขึ้น ๖ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีฉลู
วันสตรีสากล พ.ศ.2566 ตรงกับ วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2566 / วันพุธ แรม ๒ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีขาล
วันสตรีสากล พ.ศ.2567 ตรงกับ วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2567 / วันศุกร์ แรม ๑๓ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีเถาะ
วันสตรีสากล พ.ศ.2568 ตรงกับ วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2568 / วันเสาร์ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีมะโรง
ประวัติวันสตรีสากล
ภายใต้การนำของคลาร่า เซทคินผู้นำกรรมกรสตรีโรงงานทอผ้าชาวเยอรมัน ได้ตัดสินใจลุกขึ้นสู้ด้วยการเดินขบวนประท้วงการเอาเปรียบ กดขี่ ขูดรีด ทารุณ จากนายจ้างที่เห็นผลผลิตสำคัญกว่าชีวิตคน ส่วนสตรีตั้งครรภ์มักถูกไล่ออก โดยมีการนัดพี่น้องกรรมกร แรงงานสตรีไทยให้มีการหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1907 โดยเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานลงให้เหลือวันละ 8 ชั่วโมงพร้อมทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการภายในโรงงาน และให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ในการเรียกร้องครั้งนี้ แม้จะมีหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่ก็ได้รับการสนับสนุนจากสตรีทั้งโลก และส่งผลให้วิถีการผลิตแบบทุนนิยมเริ่มสั่นคลอน
และในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1910 ข้อเรียกร้องของเหล่าบรรดากรรมกรสตรีก็ประสบความสำเร็จ เมื่อตัวแทนสตรีจาก 18 ประเทศ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยม ครั้งที่ 2 ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์กที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรี โดยให้ลดเวลาทำงานให้เหลือเพียงวันละ 8 ชั่วโมง มีการกำหนดให้ค่าแรงงานสตรีเท่าเทียมกับค่าแรงงานชาย มีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วย นอกจากนั้นในการประชุมครั้งนั้น ยังได้มีการรับรองข้อเสนอของ คลาร่าเซทคิน ด้วยการประกาศให้วันที่ 8 มีนาคม เป็นวันสตรีสากลเพื่อรำลึกถึงความเป็นมาแห่งการต่อสู้อันยาวนาน เพื่อให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคความยุติธรรม สันติภาพ และการพัฒนา
วันสตรีสากลจึงไม่ได้เป็นเพียงวันที่กลุ่มสตรีทั่วโลกร่วมฉลองกันท่านั้น แต่เป็นวันที่องค์กรสหประชาชาติได้ร่วมเฉลิมฉลองด้วย และอีกหลายประเทศได้กำหนดให้วันดังกล่าวเป็นวันหยุดประจำชาติของตน กลุ่มสตรีจากทุกทวีปไม่ว่าจะแตกต่างกันโดยเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม เศรษฐกิจ หรือ การเมืองก็ตาม ได้รวมตัวกันเพื่อฉลองวันสำคัญนี้
วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2532 ประเทศไทยจึงได้ก่อตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ (กสส.) ขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยสังกัดสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ก็เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทของผู้หญิงในสังคม รวมทั้งระลึกถึงความเป็นมาแห่งการต่อสู้เพื่อให้ได้ซึ่งความเสมอภาค ยุติธรรม สันติภาพ และการพัฒนา ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะมุ่งให้เห็นความสำคัญของสุภาพสตรีเช่นกัน นับตั้งแต่นั้นมาวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี ประเทศไทยได้มีการจัดกิจกรรมเพื่อฉลองเนื่องในวันสตรีสากลด้วย โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะจัดนิทรรศการต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้จัก และเห็นความสำคัญของวันสตรีสากล
กิจกรรมวันสตรีสากล
วันสตรีสากล ซึ่งตรงกับวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี เป็นวันที่เหล่าสตรีจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเชื้อชาติ ศาสนา อาชีพใด จะร่วมเฉลิมฉลองความเสมอภาคที่ได้รับมา และเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเท่าเทียมกันในสังคมอีกด้วย การจัดกิจกรรมงานวันสตรีสากล นั้น เพื่อเป็นการแสดงการให้เห็นถึงการต่อสู้อันยาวนาน กว่าจะได้อิสระ และความเท่าเทียมกับผู้ชาย
จัดให้มีการประกาศเกียรติคุณ
การจัดให้มีการประกาศเกียรติคุณแก่สตรีดีเด่นประจำปี เนื่องในวันสตรีสากล เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติ สตรีผู้สร้างประโยชน์ในสาขาอาชีพต่าง ๆ โดยผู้ที่เคยได้รับรางวัลดังกล่าว เช่น คุณหญิงแพทย์หญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์, สุดารัตน์ เกยุราพันธ์, ปวีณา หงสกุล ฯลฯ
จัดนิทรรศการ
การจัดนิทรรศการ เกี่ยวกับแรงงานสตรีในสมัยอดีต ว่ามีที่มาอย่างไร การถูกกดขี่ข่มเหงในเรื่อต่างๆ ทั้งเรื่องงาน และอารมณ์ทางเพศ ที่ผู้ชายทักจะใช้เป็นที่ระบายอารมณ์
ให้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับสิทธิสตรี
นอกจากการจัดนิทรรศการแล้ว อาจจะมีการแนะแนว ในเรื่องของการกดขี่ทางเพศ การทำร้ายร่างกายผู้หญิง การให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิสตรี อาจจะเป็นการร่วมมือของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ซึ่งหากมีเหตุการณ์ใดๆ อันจะก่อให้เกิดความรุนแรงได้ ควรจะต้องหาทางแก้ไขเบื้องต้นอย่างไร ซึ่งการที่ผู้หญิงมีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก
จะเห็นได้ว่าโลกในยุคใหม่นี้ แต่ละแห่งให้ความสำคัญและยอมรับผู้หญิงมากขึ้น การถือกำเนิดของวันสตรีสากลนี้ เป็นเสมือนจุดเริ่มต้นในการขจัดการแบ่งแยกและการเหยียดเพศให้หมด ทำให้ผู้หญิงในปัจจุบันมีบทบาทอย่างแพร่หลายต่อการขับเคลื่อนของสังคม ดังนั้น"วันสตรีสากล"จึงเป็นอีกวันหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงทุกคนได้แสดงความสามารถ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความทัดเทียมกันได้อย่างดี
สิ่งที่ผู้ชายไม่ควรทำกับผู้หญิง
เพราะในอดีต ผู้หญิงต้องตกเป็นเบี้ยล่างผู้ชายมาตลอด การที่จะลุกมาปฏิวัติ หรือต่อต้าน เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิเท่าเทียมกันนั้น สมัยนี้สามารถทำได้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม แถมบางเรื่องผู้หญิงยังเก่งกว่าผู้ชายเสียอีก แม้จะมีกฎหมายออกมา ว่าห้ามผู้ชายทำร้าย หรือ ทารุณกรรมผู้หญิง และเด็กอย่างไร แต่ในปัจจุบันก็ยังมีให้เห็นอยู่ทั่วๆไป
ไม่เป็นสุภาพบุรุษ
การแสดงตัวเป็นสุภาพบุรุษสามารถเอาชนะใจผู้หญิงมาเยอะแล้ว เพราะแสดงให้เห็นว่าคุณใส่ใจและให้ความสำคัญกับเพศตรงข้ามแค่ไหน แม้จะไม่รู้จักกันก็ตาม และแม้เรื่องนั้นจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ ก็ตาม แต่สำหรับผู้ชายที่ไม่เป็นสุภาพบุรุษ มักจะชอบเอาเปรียบผู้หญิง เห็นแก่ตัว อารมณ์ร้อน ฉุนเฉียว และพูดจาก้าวร้าว ทำตัวไม่เป็นสุภาพบุรุษ อาจทำให้กลายเป็นที่รังเกียจและถูกประนามจากสังคม
ผู้ชายเกเร ชอบใช้กำลัง
ถึงแม้คุณจะตัวใหญ่กว่าหรือแข็งแรงกว่า คุณก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะไปรังแกหรือเอารัดเอาเปรียบผู้หญิง เพียงเพราะเรื่องเข้าใจผิดการข่มเหงคนที่อ่อนแอกว่า ไม่ได้ทำให้ดูเก่งขึ้นมา แถมยังทำให้ไม่มีใครอยากเข้ามายุ่งด้วยอีกต่างหาก คนจะเก่ง ๆ ที่สมอง ไม่ใช่กำลัง ผู้ชายที่ชอบใช้กำลังข่มขู่ผู้หญิง อย่างนี้ถือว่าไม่แมนเอาซะเลย โดยเฉพาะผู้ชายที่ชอบทำร้ายผู้หญิง ไม่ว่าจะเป็นแม่หรือแฟน แม้จะโทษว่าเป็นเพราะฤทธิ์แอลกอฮอล์ แต่มันอาจจะเป็นสันดานที่แท้จริงตะหาก
เอาเปรียบผู้หญิง
หลายครั้งที่เห็นผู้ชาย เอาเปรียบผู้หญิง คงเพราะคิดว่าสมัยนี้สิทธิเท่าเทียมกันกระมัง ถึงได้ทำทุกอย่าง แบบหน้าตาเฉย ไม่ว่าจะแย่งขึ้นรถ แย่งที่นั่ง ไม่ยอมต่อคิว หรือสารพัดรูปแบบ ที่ผู้หญิงเองเห็นแล้วเอือม แม้กระทั่งหากทำผิด ยังไม่ยอมเอ่ยปากขอโทษด้วยซ้ำยังมีผู้ชายนิสัยที่แย่ๆ กว่านี้หลายเท่า ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ตอนนั้นๆ ว่า คุณกำลังทำอะไร และสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นจะแก้ไขได้อย่างไรบ้าง แต่สิ่งที่ผู้หญิงควรทำก็คือ ไม่ยอมในสิ่งที่คิดว่าเป็นการเสียเปรียบ อย่าลืมว่า สมัยนี้ทุกสิทธิอย่างเท่าเทียมกันแล้ว แต่พยายามใช้เหตุผลให้มากที่สุดจะได้ไม่เกิดปัญหาตามมา
แนวทางการส่งเสริมวันสตรี
ความสำคัญของการฉลองวันสตรีสากลได้ทวีมากขึ้น การเริ่มร่วมมือกันเพื่อทบทวนความก้าวหน้าของการต่อสู้เพื่อสิทธิที่เท่าเทียมกัน และเพื่อความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งพยายามผลักดันให้มีการตระหนักในเรื่องสิทธิมนุษยชนของสตรีอย่างสมบูรณ์
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน
การจัดงานวันสตรีสากลขึ้นมาก็เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้สตรีมีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกด้าน ซึ่งระดับในสังคมตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน และประเทศ รวมทั้งสตรีได้มีโอกาสทบทวนบทบาทและสถานภาพที่ยังไม่บรรลุความเสมอภาค เพื่อนำไปสู่การดำ เนินงานที่เหมาะสม
เพื่อให้เป็นเวทีสัมมนาวิชาการ
เพื่อให้เป็นเวทีสัมมนาวิชาการและการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือในการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน และสถาบันครอบครัว มีการแลกเปลี่ยนความรู้ และความคิด รวมถึงปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น
เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติ แก่สตรีผู้ที่ทำงานด้านสตรีเด็กและเยาวชน
การจัดงานวันสตรีสากลขึ้นมาเพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติ แก่สตรีผู้ที่ทำงานด้านสตรีเด็กและเยาวชน รวมถึงผู้สูงอายุ ทั้งระดับ บุคคล กลุ่มองค์กร เครือข่ายสตรีในชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกด้าน ทุกระดับในสังคมตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน และประเทศ
แม้แนวทางการสนับสนุน จะยังไม่ชัดเจนและกว้างมาก แต่ในประเทศไทย ก็ได้มีการคุ้มครองสิทธิสตรี และเด็ก เพื่อให้ปลอดภัยจากสังคมมนุษย์ และการกดขี่แรงงานที่โหดร้ายนั่นเอง