ยามอุบากอง
วันศุกร์ ที่ 15 เมษายน พ.ศ.2565
แผ่นป้ายงาช้างสลักยามอุบากอง
รูปถ่ายที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช.
วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2567
ดาวนักษัตรฤกษ์ทั้ง 27 นักษัตร จากปฏิทินปัญจางค์อินเดีย เฉพาะดาวหลักดาวเด่นดวงเดียว บอกชื่อดาวพร้อมตำแหน่งพิกัดทางดาราศาสตร์ องศาละจิจูด ลองจิจูด
ในบางเอกสารตำแหน่งดาวบางนักษัตรมีหลายดวง เช่น นักษัตรฤกษ์ที่ 2 ภรณี (Bharani) ดาวก้อนเส้า มีดาว 3 ดวง คือ (1). 41 Ari (2). 35 Ari และ (3). 39 Ari บางเอกสารก็ใช้ (3). 33 Ari
วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2567
เกณฑ์อันโตนาที โดยสรุปคือช่วงเวลาที่แต่ละราศีเคลื่อนผ่านท้องฟ้า โดยแต่ละราศีทั้ง 12 ราศี เคลื่อนผ่านท้องฟ้าใช้เวลาไม่เท่ากัน มากบ้างน้อยบ้าง รวมทั้ง 12 ราศี ได้ 1,440 นาที (1 วัน)
เกณฑ์อันโตนาทีเกิดจากโลกหมุน เกิดการหมุนของกลุ่มดาวจักราศี และด้วยความเอียงของแกนโลก รวมถึงตำแหน่งที่อยู่หรือจุดสังเกตการณ์ ส่งผลให้เส้นสุริยวิถี (Ecliptic), เส้นศูนย์สูตรฟ้า (Celestial Equator) และ เส้นวงกลมดิ่ง (Prime Vertical) ณ จุดสังเกตการณ์แยกห่างกัน มุมมองท้องฟ้าต่างกัน กลุ่มดาวจักรราศี หรือราศีต่าง ๆ เคลื่อนผ่านท้องฟ้าใช้เวลาไม่เท่ากัน ซึ่งเกณฑ์อันโตนาทีนี้เป็นค่าเวลาที่บอกว่าแต่ละช่วงราศีใช้เวลาบนท้องฟ้าเท่าไร นำมาใช้คำนวณหาลัคนา
อ่านต่อ
วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2567
แผ่นหมุนลัคนาสำเร็จ พ.ต.ท.ประสิทธิ์ ลีละยูวะ อดีตนายกสมาคมโหรแห่งประเทศไทย (2517- 2535) แผ่นหมุนลัคนา หรือ จานหมุนลัคนา ชุดนี้เป็นของท่าน อ.อารี สวัสดี ท่านถ่ายรูปส่ง LINE มาให้ดู จานหมุนลัคนา พ.ต.ท.ประสิทธิ์ ฯ แผ่นกลมมีเก็บอยู่บ้าง แต่แผ่นสี่เหลี่ยมไม่เคยเห็น , แผ่นหมุนลัคนาถือเป็นเครื่องมือที่ทรงคุณค่า เห็นถึงภูมิปัญญาของครูโหรรุ่นก่อน เพราะในยุคที่ยังไม่มีคอมพิวเตอร์ช่วยคำนวณ การวางลัคนาที่คำนวณด้วยมือ มีขั้นตอนยุ่งยากหลายขั้นตอนใช้เวลา ผิดพลาดได้ง่าย พัฒนามาเป็นแผ่นหมุนลัคนาซึ่งใช้งานสะดวก วางลัคนาได้รวดเร็วขึ้น
อ่านต่อ
วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2567
ปฏิทินโหรฯ ฉบับนี้เป็นของท่าน อ.อารี สวัสดี ท่านเล่าว่าได้มาจาก อ.มหาเทียม นกพึ่ง สายสิบลัคนา ในช่วงที่ท่านได้ศึกษาคัมภีร์สุริยยาตร์
ตัวปฏิทินฯ เป็นสมุดจดเก่าเล่มเล็ก ๆ ขนาดราว 5" X 7" ภายในเป็นข้อมูล ปฏิทินโหรฯ สุริยยาตร์ รายปี รายเดือน รายวัน ที่น่าประหลาดใจคือปฏิทิน เล่มนี้คัดลอกด้วยลายมือทั้งหมด เขียนเป็นระเบียบสวยงาม อ่านง่ายมาก คัดด้วยมือแต่แทบไม่มีรอยแก้ไขหรือลบใด ๆ
อ่านต่อ
วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2567
รูปขยายความโพสก่อนหน้านี้ที่เพจได้แชร์ (โพสตามลิงค์ด้านล่าง) ตอนที่อาจารย์ฯ ท่านเล่าถึงเกณฑ์ปฏิทินจันทรคติตาม มติมหาเถรสมาคม 2510 ที่เห็นว่า วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือนสิบเอ็ด (๑๑) วันมหาปวารณา หรือ วันออกพรรษา ในปฏิทินจันทรคติ ควรตรงกับวันเพ็ญจริงทางดาราศาสตร์ (เพ็ญแท้)
อ่านต่อ
วันจันทร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ.2567
ประกาศให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58 หน้า 31-33 ประกาศเมื่อ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2483
อ่านต่อ
วันพฤหัสบดีที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2566
รูป สันปก "ประติทิน" โหราศาสตร์ พ.ศ.2417-2479. หลวงอรรถวาทีธรรมประวรรต (อ.วิเชียร จันทร์หอม)
ประติ, ปฏิ แปลว่า เฉพาะ , ทิน แปลว่า วัน
วันพฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2566
รูปดวงวิภาคจักรราศี ใน ประติทิน โหราศาสตร์ พ.ศ.2417-2479. หลวงอรรถวาทีธรรมประวรรต (อ.วิเชียร จันทร์หอม)
อ่านต่อ
วันอังคารที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2566
Sun, Moon and Earth. Robin Heath (Author)
ถ่ายจากหนังสือ อ.อารี สวัสดี 🙏
อ่านต่อ
วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2566
เมื่อวานกลับจากลอยกระทงมีเวลาว่างได้ดูเกณฑ์การวางอธิกมาสและอธิกวารปฏิทินจันทรคติไทยปีล่วงหน้าอีกครั้ง เลยอยากโพสไว้ คือในปีปฏิทินบางฉบับวางเกณฑ์ ปี พ.ศ.2575 วางเป็นปีปรกติมาส ปรกติวาร พ.ศ.2576 วางเป็นปีปรกติมาส อธิกวาร
ซึ่งเกณฑ์ปี พ.ศ.2575/2576 ข้างต้น ผมไม่เห็นด้วยกับการวางเกณฑ์นี้ สาเหตุก็เป็นเพราะในปี พ.ศ.2575 นั้น วันที่ 3 พฤศจิกายน มีปรากฎการณ์สุริยุปราคาบางส่วน สามารถมองเห็นและสังเกตการณ์ได้ในประเทศไทย ⁽¹⁾ .. ถ้าวางเกณฑ์ ปี พ.ศ.2575 เป็นปรกติมาส ปรกติวาร วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2575 จะตรงกับ วันขึ้น ๒ ค่ำเดือนสิบสอง (๑๒) มีวันขึ้นแรมปฏิทินห่างจากปรากฎการณ์ท้องฟ้าสำคัญที่สังเกตุการณ์ได้เกินไป คือ ห่างไป 2 วัน(ค่ำ) ⁽²⁾ .. มีคำถามให้ตอบอีกยาวครับ ทั้งในมุมคนทำปฏิทินหรือดาราศาสตร์
อ่านต่อ
วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2566
หลาย ๆ ท่านคงเคยมีคำถามว่าผูกดวงโหราศาสตร์ไทยนิยมใช้ปฏิทินและลัคนาแบบใดมากที่สุด ? ... ทราบกันดีว่า ปฏิทินโหราศาสตร์ไทยที่นิยมใช้กัน มีกันอยู่ 2 แบบ คือ 1. ปฏิทินโหราศาสตร์ไทย สุริยยาตร์ คำนวณตามคัมภีร์สุริยยาตร์และคัมภีร์มานัตต์ และ 2. ปฏิทินโหราศาสตร์ไทย นิรายนะวิธี ตัดอายนางศะ ลาหิรี เฉพาะปฏิทินโหรฯ มี 2 แบบแล้ว ยังไม่รวมลัคนาอีกนับ 10 แบบ รวมตัวเลือกทั้งหมดก็ 20 แบบ แล้วปฏิทินและลัคนาแบบใดที่นิยมใช้มากที่สุด จริง ๆ โดยความรู้สึกก็ทราบว่าดีว่า ปฏิทินโหรฯ สุริยยาตร์ มีผู้ใช้งานมากกว่า ปฏิทินโหรฯ นิรายนะวิธี แน่ ๆ เพราะเป็นปฏิทินโหราศาสตร์ไทยแบบดั้งเดิม มีใช้มานาน แต่นิยมมากกว่าเท่าไหร่ก็ไม่อาจทราบได้เพราะไม่เคยมีการเก็บข้อมูล ไหน ๆ ในโปรแกรมดูดวงโหราศาสตร์ไทยมีการตั้งค่าตัวเลือกปฏิทินและลัคนา ก็เลยทดลองเก็บข้อมูลการตั้งค่าช่วงวันที่ 1 - 10 พฤศจิกายน พ.ศ.2566 ได้ข้อมูลนำมาสรุปผลเพื่อเห็นภาพกว้าง ๆ ดังนี้
อ่านต่อ
วันเสาร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ.2566
เมื่อนั้น พิเภกแค้นขัดอัชฌาสัย
จึ่งว่าเหวยอินทรชิตฤทธิไกร
กูมิได้ต้องประสงค์ลงกา
เพราะพ่อมึงขึ้งโกรธให้ขับหนี
ไม่ปรานีนับวงศ์พงศา
กูจนใจมีที่พึ่งพา
ตัวคนเดียวเที่ยวมาในป่าชัฏ
พวกมานรกองทัพเขาจับได้
อ่านต่อ
วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2566
ราศีดุล ราศีตุลย์ ราศีตุล Tula Libra ♎︎ ฯ
อ่านต่อ
วันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2566
ลัคน์ทันใจ จานหมุนสิบลัคน์ อ.อรุณ เทศถมทรัพย์
อ่านต่อ
วันพุธที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2566
รูปหน้าจอตัวอย่างเครื่องคิดเลข Casio fx-9750G Plus ใช้ผูกดวง 10 ลัคนา
สมัยก่อนเป็นแบบนี้จริง ๆ ก่อนจะเป็นโปรแกรมเป็นแอป ตอนเขียน Code ต้องเขียนในกระดาษให้เรียบร้อยก่อน แล้วค่อย ๆ พิมพ์ ชุดคำสั่งทีละบรรทัดจนครบ แล้ว Run ไม่ง่ายเลยครับ
วันพฤหัสบดีที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2566
ในยุคสมัยจักรพรรดิออกัสตัส (Augustus) ได้เปลี่ยนชื่อเดือน Sextilis ซึ่งเป็นเดือนลำดับที่ 6 (ปฏิทินโรมันนับ March ต้นฤดูใบไม้ผลิเป็นเดือนแรก) ตามชื่อของตนคือ Augustus (ภาษาละติน) หรือ August และเพื่อให้ยิ่งใหญ่ไม่น้อยหน้าจักรพรรดิจูเลียสซีซาร์ (Julius Caesar) ผู้ที่ตั้งชื่อเดือน July ตามชื่อตน ก็ให้เดือน August เดือนคู่จากเดิมมี 30 วัน เป็น 31 เท่าจูเลียสซีซาร์ โดยเอา 1 วันมาจากเดือน กุมภาพันธ์ (February) ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของปีตามปฏิทินโรมัน การเปลี่ยนก็เพียงย้ายวันแต่ระบบจำนวนวันตามปีปฏิทินจูเลียนเหมือนเดิม
อ่านต่อ
วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน พ.ศ.2566
สุริยุปราคา (ในรูปดวงอาทิตย์ขอบล่างด้านขวา)
อ่านต่อ
วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2565
เจอพาดหัวข่าวที่แชร์กันช่วงนี้ "จันทรุปราคา 8 พฤศจิกายน 2565 ฤกษ์อันตราย อาถรรพฺ์แรง คืนลอยกระทง ใครออกไปรับแสงจันทร์เวลานี้อาจจะทำให้ดวงตก วาสนาดิ่ง ความโชคดีหาย ความโชคร้ายจะมาเยือน ได้รับการเตือนจากอาจารย์ทั้งโหราศาสตร์ไทย และจีน พูดตรงกันคือ
จันทรุปราคา ที่เกิดในคืนพระจันทร์เต็มดวง นี่แรงมากแรงที่สุดในบรรดาคืนจันทรคราสทั้งหมด" เพื่อความเข้าใจเรื่องคราสในทางดาราศาสตร์ขออธิบายสักหน่อย
จันทรุปราคาเกิดในคืนดวงจันทร์เต็มดวงหรือจันทร์เพ็ญ "เท่านั้น" วันอื่น ๆ เกิดจันทรุปราคาไม่ได้ หากดูตามปฏฺิทินจันทรคติ วันที่ดวงจันทร์เพ็ญจริง มักตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ หรือ ขึ้น 14 ค่ำ,แรม 1 ค่ำ ได้ขึ้นกับการวางเกณฑ์ปฏิทินปีนั้น ๆ
อ่านต่อ
วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2565
ฟาก คือไม้ไผ่ลำใหญ่ที่เอามาสับแล้วแผ่ให้เป็นฟาก สมัยโบราณเรือนของสามัญชนนิยมใช้ไม้ฟากปูพื้น ไม่ว่าจะเป็นเรือนที่อยู่อาศัยหรือแคร่ หรือที่ยกพื้นสำหรับนอนตามกระท่อม ดังคำโบราณที่ใช้เรียกเวลาที่คลอดลูกว่า "เวลาตกฟาก" หมายถึงเด็กออกตกลงบนฟาก คือพื้นเรือนนั่นเอง" - น. ณ ปากน้ำ
รูปถ่ายจาก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช (2565)
วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2565
วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2565
ขอบฟ้าเทียม (Artificial Horizon) เป็นเครื่องมือจำลองขอบฟ้า (ค.ศ.1870-1900) ใช้ในกรณีที่จุดสังเกตการณ์ไม่สามารถมองเห็นขอบฟ้าได้ หรือมองเห็นขอบฟ้าไม่ชัดเจน การใช้งานใช้ร่วมกับเครื่องวัดแดด หรือ เซกซ์แทนต์ (Sextant) เพื่อวัดมุมระหว่างวัตถุบนท้องฟ้า (ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ หรือ ดวงดาวต่าง ๆ) กับเส้นขอบฟ้า แล้วนำค่าความสูงหรือมุมที่ได้มาคำนวณหาละติจูดเพื่อบอกตำแหน่งที่อยู่ หรือ อื่น ๆ
อ่านต่อ
วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2565
เช้ามืดวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2565 ขอเชิญชมดาวเรียงเดือน ดาวเคราะห์และดวงจันทร์เรียงแนวเดียวกันรวม 8 ดวง คือ ดาวพุธ, ดาวศุกร์, ดาวยูเรนัส *, ดวงจันทร์, ดาวอังคาร, ดาวพฤหัสบดี, ดาวเนปจูน * และ ดาวเสาร์
โดยสามารถมองเห็นสังเกตการณ์ได้ด้วยตาเปล่า บนท้องฟ้าทางทิศตะวันออก ตั้งแต่เวลาประมาณ 04:00 น. เป็นต้นไป จนถึงเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น
* เฉพาะ
ดาวยูเรนัส และ ดาวเนปจูน ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
ต้องใช้กล้องดูดาว
ท้องฟ้าวันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2565 เวลา 05:00น. (กทม.) จากขอบฟ้าด้านล่างคือ ดาวพุธ, ดาวศุกร์, ดาวยูเรนัส*, ดวงจันทร์, ดาวอังคาร, ดาวพฤหัสบดี, ดาวเนปจูน* และ ดาวเสาร์ ตามลำดับ (* เฉพาะ ดาวยูเรนัส และ ดาวเนปจูน ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า)
อ่านต่อ
วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ.2565
กรุงเทพฯ ไร้เงา 2565 (Subsolar Point BKK. 2022)
วันที่ 27 เมษายน พ.ศ.2565 เวลา 12:16น. (UTC+07:00)
รูปถ่ายที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช.
วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ.2564
กรุงเทพฯ ไร้เงา 2564 (Subsolar Point BKK. 2021)
วันที่ 27 เมษายน พ.ศ.2564 เวลา 12:16น. (UTC+07:00)
วันมหาสงกรานต์ เป็นวันที่ อาทิตย์ (๑) ย้ายจากราศีมีน ยกเข้าสู่ราศีเมษ คำนวณตามคัมภีร์สุริยยาตร์ (โหราศาสตร์ระบบอื่น พิจารณาจากอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมษตามระบบนั้น ๆ)
การคำนวณวันมหาสงกรานต์ ใช้เกณฑ์คัมภีร์สุริยยาตร์โดย 1 ปีสุริยยาตร์ จะเท่ากับ 365.25875 วัน
ส่วนปีปฏฺิทินสุริยคติ หรือ ปฏิทินกริกอเรียน ที่ใช้ปัจจุบัน 1 ปี ปฏิทินจะเท่ากับ 365.2425 วัน
อ่านต่อ
วันอาทิตย์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2564
วิดีโอคลิป ดารา-โหราศาสตร์ ศวท.2564 บรรยายโดย อ.จักรกฤษณ์ แร่ทอง
วิชาโหราศาสตร์ไทย กิจกรรมวัยเก๋า โดย มูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระสังฆราชูปถัมภ์ ร่วมกับ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ณ. ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : ไลฟ์สดผ่านเฟชบุ๊ค กรมส่งเสริมวัฒนธรรม แทนการบรรยายในห้อง เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
บันทึกวีดีโอ วันที่ 14, 21 มีนาคม 2564 [เก็บไฟล์วิดีโอคลิปสำรองที่ YouTube.com]
อ่านต่อ
วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2564
การเปลี่ยนปีนักษัตรจีน การเริ่มต้นนับราศีฤดู ราศีปี ขวบปีใหม่ ยุคดาว รหัสปีเกิด ตามปฏิทินจันทรคติจีน จะเปลี่ยนใน วันสารทลิบชุน (立春) ซึ่งเป็นสารทแรกของปี ประมาณช่วงวันที่ 3 - 5 กุมภาพันธ์
ตามกฎเกณฑ์ปฏิทินจีนโบราณ วันตรุษจีน (春节) แต่เดิมมีชื่อเต็มว่า วันเทศกาลสารทลิบชุน (立春) ซึ่งเป็นต้นฤดูกาลในระบบ 24 ฤดูกาล (สารท) ในฐานะที่เป็นประเทศเกษตรกรรม ชาวจีนโบราณจะให้ความสำคัญกับวันสารทลิบชุนเป็นอย่างมาก อากาศเริ่มอุ่น หิมะเริ่มละลาย เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าฤดูใบไม้ผลิได้เริ่มต้นแล้ว เริ่มต้นทำการเกษตรได้ มีการจัดงานเลี้ยงฉลองยิ่งใหญ่ ทั้งในพระราชวังและชาวบ้านทั่วไป
อ่านต่อ
วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564
วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ.2563
ครม. 29 ธ.ค. 2563 มีประกาศวันหยุดราชการปี 2564 เพิ่มเป็นกรณีพิเศษ 4 วัน คือ [1.] 12 ก.พ. 2564 (วันตรุษจีน) , [2.] 12 เม.ย. 2564 , [3.] 27 ก.ค. 2564 และ [4.] 24 ก.ย. 2564 (วันมหิดล) และ ให้เลื่อนวันหยุดชดเชย วันปิยมหาราช จาก 25 ต.ค. 2564 เป็น 22 ต.ค. 2564
อ่านต่อ
วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ.2563
“I don’t believe in astrology; I’m a Sagittarius and we’re skeptical.”
วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2563
ตัวอย่าง แผนที่ดาวขั้วฟ้าเหนือ ซีกฟ้าใต้ ออกแบบโดยใช้เทคนิคเขียนโปรแกรมให้โปรเจคชั่นทรงกลมฟ้า สร้างเป็นไฟล์รูป SVG อัตโนมัติ คำนวณได้ทุกละติจูด สามารถพิมพ์ลงกระดาษ A4 , แผ่นใส ตัดและเจาะใส่หมุด พร้อมใช้งาน
อ่านต่อ
วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2563
สุริยุปราคา วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2563 เวลา 14:49น.
มุมเงย (Alt.) 53° มุมทิศ (Az.) 291° โดยประมาณ @ประเวศ กรุงเทพฯ
อ่านต่อ
วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2563
จานหมุนลัคนาสำเร็จ คำนวณเกณฑ์อันโตนาทีท้องถิ่น เริ่มจากคำนวณอันโตนาที คำนวณมูลอันโตนาทีหรืออันโตนาทีที่เส้นศูนย์สูตร ละติจูด (Latitude) 0° ของแต่ละช่วงราศีนับจากจุดเมษ นำค่าความเอียงแกนโลก (Obliquity) มาคำนวณค่ากรันติ (Declication) คำนวณค่าจรขัณฑ์ (Ascension Difference) ซึ่งเป็นค่าปรับแก้ ใช้ค่ากรันติและละติจูดที่ต้องการมาคำนวณต่อ ได้เกณฑ์อันโตนาทีแบบดาราศาสตร์สากล/สายนะ (Tropical Zodiac) จากนั้นนำค่าอายนางศ (Lahiri) มาใช้ปรับเป็นดาราศาสตร์นิรายนะ (Sidereal Zodiac) ได้ช่วงเกณฑ์อันโตนาทีของแต่ละราศี
อ่านต่อ
วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ.2563
ตำราห่วงในพรหมชาติ เป็นอีกตำราที่คุณตาท่านใช้บ่อย (ดูจากรอยปากกา) หลัก ๆ ใช้หาดิถีวันมงคลร่วมกับตำราอื่น ๆ คุณตาท่านเคยสอน แต่ผมก็ไม่ได้ใช้เท่าไหร่
#คิดถึง #สว่าง_แก้วสว่าง
วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ.2563
การคำนวณวันเวลามหาสงกรานต์
☉ วิธีพิชัยสงคราม ดาวย้ายราศีแบบ 0 พิลิปดา
วันเวลามหาสงกรานต์วิธีพิชัยสงคราม เป็นการคำนวณหาเวลาพระอาทิตย์ย้ายราศีโดยใช้สูตรของคัมภีร์สุริยยาตร์คำนวณ เฉลี่ยเวลาสมผุสจริงตั้งแต่ต้น (กัมมัชพล,อวมานประสงค์)
วิธีการนี้ อ.ทองเจือ อ่างแก้ว ท่านได้ศึกษาเกณฑ์คำนวณคัมภีร์สุริยยาตร์ ปรับปรุงวิธีการคำนวณหาเวลาย้ายราศี พิสูจน์ได้ด้วยหลักคณิตศาสตร์ว่าถูกต้องตามคัมภีร์สุริยยาตร์ ได้ผลคำนวณเวลามหาสงกรานต์ พระอาทิตย์ย้ายราศีจริงในระดับเวลาเป็น ชั่วโมง นาที วินาที
ในทางคำนวณสามารถสอบทานผลได้ โดยคำนวณสมผุสพระอาทิตย์ตามคัมภีร์สุริยยาตร์ ณ วันเวลามหาสงกรานต์ พระอาทิตย์สถิตราศีเมษ 0 องศา 0 ลิปดา ยกเข้าสู่ราศีเมษพอดี หรือหากปรับเวลามหาสงกรานต์ย้อนไปเพียง 1 วินาที พระอาทิตย์ก็จะยังไม่ยกเข้าสู่ราศีเมษ
อ่านต่อ
วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน พ.ศ.2563
สุริยุปราคาในประเทศไทยครั้งถัดไป , สุริยุปราคาที่สังเกตการณ์ได้ในประเทศไทย ครั้งถัดไปวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2563 ช่วงเวลา 10:46-16:34น. บังมากสุด/กึ่งกลางคราสเวลา 13:40น. เป็นสุริยุปราคาวงแหวน (Annular Solar Eclipse) ในไทยเห็นบางส่วน เป็นเสี้ยว (คล้าย ๆ กับเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2562 ที่ผ่านมา) จุดกลางคราสพาดผ่านแถวประเทศจีน จังหวัดทางภาคเหนือซึ่งอยู่ใกล้บริเวณจุดกลางคราสจะเห็นบังมากที่สุด
อ่านต่อ
วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน พ.ศ.2563
คู่มือโปรแกรมสุริยยาตรา พลัส หน้า 52 , อ.วรพล ไม้สน (พลังวัชร์)
วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ.2563
Saturday 4 April 2020, 07:48PM @NST Az. 290° Alt 23° Canon EOS M3 + EF 75-300mm @300mm F20 ISO12800 1/2s. Crop
https://bit.ly/3aJdDNi
วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2563
ดาว รวงข้าว/จิตตรา/Spica อยู่กลุ่มดาวราศีกันย์ ♍ อยู่ใกล้เส้นสุริยวิถี เป็นดาวใช้อ้างอิงจุดตุลหรือจุดเริ่มต้นราศีตุล ♎ ในจักรราศีระบบนิรายนะ โดยกำหนดเล็งจุดเมษ ♈ 180° หากเที่ยงคืนดาว Spica อยู่กลางฟ้าแสดงว่าเป็นช่วงที่ อาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมษ ☉ > ♈
อ่านต่อ
วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2563
วิดีโอคลิป ดารา-โหราศาสตร์ ศวท.2563 บรรยายโดย อ.จักรกฤษณ์ แร่ทอง
วิชาโหราศาสตร์ไทย กิจกรรมวัยเก๋า โดย มูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระสังฆราชูปถัมภ์ ร่วมกับ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ณ. ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : บันทึกวีดีโอเฉพาะกิจ เพื่อไลฟ์สดผ่านเฟชบุ๊ค กรมส่งเสริมวัฒนธรรม แทนการบรรยายในห้อง เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
บันทึกวีดีโอ วันที่ 1 มีนาคม 2563 [เก็บไฟล์วิดีโอคลิปสำรองที่ YouTube.com]
อ่านต่อ
วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2562
สุริยุปราคา วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2562 เวลา 11:50น. ทิศใต้ มุมเงย 50° โดยประมาณ @ประเวศ กรุงเทพฯ
อ่านต่อ
วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ.2562
โพสนี้เขียนเกี่ยวกับคำถามทางอีเมล ซึ่งได้รับบ่อยมากในช่วงนี้ คำถามว่าทำไมปฏิทินในเวบฯ ค่ำแรมวันพระไม่ตรงกับที่อื่น ๆ หรือปฏิทินร้อยปีที่เป็นเล่ม มีข้อผิดพลาดหรือเปล่า หลักเรื่องนี้ ๆ จะเกี่ยวกับเกณฑ์ปฏิทินจันทรคติ พ.ศ.2563
อ่านต่อ
วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2562
แอปจำลองทรงกลมฟ้า (Armillary Sphere) เป็นแอปพลิเคชันทางดาราศาสตร์ที่มีประโยชน์ สำหรับเรียนรู้กลไกท้องฟ้า ตามแบบจำลองของทอเลมี เรียนรู้เส้นและจุดสำคัญต่าง ๆ เช่น เส้นสุริยะวิถี (Ecliptic) เส้นขอบฟ้า(Horizon) เส้นศูนย์สูตร์ฟ้า (Celestial Equatorial) ขั้วฟ้าเหนือ ขั้วโลกเหนือ ตำแหน่งดาวจักราศี ฯ จำลองทิศทางการหมุน การขึ้นตกของกลุ่มดาวจักราศี และดวงอาทิตย์ กำหนดเวลาตำแหน่งสังเกตุการณ์ตามละติจูดได้ ฯ
อ่านต่อ
วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2562
เหตุการณ์โลกช่วงนี้ทราบกันดีว่ามีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจำนวนมาก ในส่วนปรากฏการณ์ท้องฟ้าปี พ.ศ.2563 นี้ก็มีหลายปรากฏการณ์พิเศษที่ขยายความมีนัยทางโหราศาสตร์ เช่น ที่ผ่านมาวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2563 มีปรากฏการณ์สุริยุปราคาวงแหวน ในประเทศไทยจะเห็นบางส่วน สุริยุปราคาครั้งนี้มีความพิเศษคือเกิดในวันครีษมายัน (Summer Solstice) พอดี หรือช่วงนี้ก็มีดาวหาง NEOWISE (C/2020 F3) ปรากฏ โดยจะเข้าไกล้โลกในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2563 ถ้าเมฆฝนไม่บังก็สังเกตุได้ สำหรับช่วงปลายปีวันเหมายัน (Winter Solstice) ก็มีปรากฏการณ์ดาวพฤหัสบดีใกล้ดาวเสาร์วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2563 ซึ่งดาวสำคัญคู่นี้ปรกติอยู่ใกล้กัน หรือดาวกุมกันทางโหราศาสตร์ (มหาผัสสะ) ประมาณทุก ๆ 20 ปี รอบนี้ปลายปีช่วงหน้าหนาวฟ้าเปิดน่าจะสังเกตุปรากฏการณ์ได้ง่าย
อ่านต่อ
วันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2562
https://www.myhora.com/calendar/pakka-board.aspx
อัปเดท! ตัวเลือก หมุดอักษรไทย ,อักษรขอม ,สัญลักษณ์ และ ตำแหน่งหมุด
วันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2562 / จ.ศ.1381 ปกติสุรทิน
ปฏิทินปักขคณนา
มหาสัมพยุหะ 7 มหาพยุหะ 5 จุลสมุหะ 3 มหาวรรค 4 มหาปักข์ 1
แรม ๑๕ ค่ำ เดือนหก(๖) ปักข์ถ้วน - วันพระ
ปฏิทินจันทรคติไทย
แรม ๑๕ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีกุน - วันพระ
วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2562
ดูดวง ดาวพฤหัสบดี ยกเข้าสู่ราศีธนู ในรูปดวงชะตาจะเห็นเป็นช่องๆ ย้ายช่องก็ย้ายราศี
อ่านต่อ
วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562
เรื่องนี้ผมเขียนรวบรวมจากคำถามในหลายๆ ครั้ง เรื่องลัคนาในโหราศาตร์ไทย ไม่ตรงบ้าง ผิดบ้าง ฯ เลยรวมเขียนอธิบายทีเดียวครับ ผมจะพูดในมุมทฤษฏี ไม่ได้บอกว่าลัคนาแบบไหนดีไม่ดี ถนัดใช้แบบไหนก็ใช้แบบนั้นครับ
"ลัคนาคือ จักราศีทางทิศตะวันออก ณ เวลาประสงค์" หมายถึง ณ. วันเวลา สถานที่ที่ต้องการ สมมุติว่าเราไปยืนตรงนั้น แล้วมองไปตรงขอบฟ้าทิศตะวันออก เห็นราศีอะไร กี่องศานั่นคือ ราศีลัคนา แม้จะเป็นกลางวันมองไม่เห็นกลุ่มดาวเพื่อเทียบตำแหน่ง แต่ก็สามารถคำนวณออกมาได้ ทุกหลักทุกแนวคิด การคำนวณลัคนาพยายามหาค่าสมผุสตำแหน่งตรงนี้
อ่านต่อ
วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2561
โพสนี้เขียนเกี่ยวกับคำถามทางอีเมล ซึ่งได้รับบ่อยมากในช่วงนี้ คำถามว่าทำไมปฏิทินในเวบ ฯ ค่ำแรมวันพระไม่ตรงกับที่อื่น ๆ หรือปฏิทินร้อยปีที่เป็นเล่ม มีข้อผิดพลาดหรือเปล่า หลัก ๆ เรื่องนี้ เกี่ยวกับเกณฑ์ปฏิทินจันทรคติ พ.ศ.2563
ก่อนอื่นต้องทราบเกี่ยวกับเกณฑ์ปฏิทินจันทรคติไทยทั้ง 3 แบบดังนี้
1). ปกติมาส ปกติวาร : เป็นปีปกติ เดือนคู่(เดือน ๒, ๔, ๖, ๘, ๑๐, ๑๒) มีข้างขึ้นและข้างแรม 15 วัน และเดือนคี่(เดือน ๑, ๓, ๕, ๗, ๙, ๑๑) มีข้างขึ้น 15 วัน ส่วนข้างแรมมี 14 วัน (รอบปีจันทรคติรวม 354 วัน)
2). ปกติมาส อธิกวาร : เป็นปีปกติ แต่เดือนเจ็ด(๗) จะมีข้างแรม 15 วัน (รอบปีจันทรคติรวม 355 วัน)
3). อธิกมาส ปกติวาร : เป็นปีปกติ แต่เพิ่มเดือนแปดสองหน(๘๘) เพิ่มวัน 30 วัน (รอบปีจันทรคติรวม 384 วัน)
.
ในแต่ละปีจะใช้เกณฑ์ปฏิทินจันทรคติแบบใด จะขึ้นกับหน่วยงานรัฐหรือราชการกำหนด ถ้าทำปฏิทินเผยแพร่แล้วเกณฑ์ปฏิทินจันทรคติตรงกับรัฐ ถือว่าถูกต้อง ผู้กำหนดเกณฑ์ปฏิทินจันทรคติอาจเป็น กรมการศาสนา , ฝ่ายโหรพราหมณ์ กองพระราชพิธี หรืออื่น ๆ เช่น ช่วงปี พ.ศ.2550-2558 กรมการศาสนามีประกาศ ปฏิทินตรวจสอบวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและวันพระปกติประจำปี นั้น ๆ ก็ใช้เกณฑ์ปฏิทินตรวจสอบตามประกาศ
อ่านต่อ
วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2561
ล๊อกดาราศาสตร์ เขียนโดยอาจารย์ทองเจือ อ่างแก้ว หาดูยากครับ ท่านได้ศึกษาเกณฑ์คำนวณจากคัมภีร์สุริยยาตรแลมานัตต์และคัมภีร์อื่นๆจนแตกฉานใช้เวลา 11 ปี จึงสามารถทำให้คำนวณสมผุสพระเคราะห์ทุกดวง ทุกวันได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และทำล๊อกดาราศาสตร์ขึ้นมา
ล๊อกดาราศาสตร์ที่มีตีพิมพ์ จะมี 2 เล่ม ขั้นต้น กับ ขั้นปลาย พิมพ์เมื่อปี พ.ศ.2511 สมัยนั้นขายเล่มละ 1,500บาท (เทียบราคาทองคำบาทละ 416 บาท) เล่มหนามาก ผมถ่ายรูปบางส่วนบางหน้ามาให้ชมครับ
อ่านต่อ
วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2561
☉ เวลาดวงอาทิตย์ขึ้น คือเวลาที่มองเห็นขอบบนของดวงอาทิตย์ (Upper Limb) แตะกับเส้นขอบฟ้า (Horizon) เป็นตำแหน่งที่สามารถสังเกตการณ์มองเห็นได้ (Apparent Position) แต่ตำแหน่งดวงอาทิตย์จริง ๆ ขณะนั้น (Actual Position) จะอยู่ต่ำกว่าเส้นขอบฟ้า ประมาณ 50 ลิปดาเสมอ เหตุเกิดจากการหักเหของแสงที่ผ่านชั้นบรรยากาศของโลก ซึ่งมีความหนาแน่นของชั้นบรรยากาศต่างกัน
อ่านต่อ
วันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ.2561
Leo (Constellation) กลุ่มดาวสิงโต, กลุ่มดาวสิงห์,ก ลุ่มดาวราศีสิงห์
11 April 2018 , 09:35PM (UTC+07:00) Kanchanadit, Surat Thani, THAILAND. , Middle Sky.
เมื่อคืนไม่มีฝน ฟ้าเปิดดาวเต็มฟ้า นั่งดูส่องกล้องไปเรื่อย ก่อนนอนดาวสิงโตอยู่กลางฟ้าพอดีเลยเอากล้องมาถ่ายรูปไว้ด้วย ถ้าเห็นรูปจุดๆดาวอย่างเดียว (รูปที่ 1) จะงง ทำรูปแนะนำกลุ่มดาวด้วยเลย (รูปที่ 2) คนมาดูว่าโบราณเค้าจินตนาการมองกลุ่มดาวเป็นรูปสิงโตยังงัย ?
ลองมองหากลุ่มดาวสิงโตก่อน
อ่านต่อ
วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ.2561
ดวงเลข 7 ตัว ลายมือคุณตาที่ผมคุ้นเคยตั้งแต่เด็ก ท่านเขียนแค่นี้ ท่านใช้เลข 7 ตัว 4 ฐาน ฉัตร 3 ชั้น มหาทักษา ตำราห่วง ยามต่าง ๆ
ท่านมีเขียนตารางเลข 7 ตัว ซึ่งวิธีลงคล้ายกราฟชีวิตมีวิธีอ่านตำแหน่งเฉพาะ #สว่าง_แก้วสว่าง
วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2561
โหราศาสตร์ในวรรณกรรมไทยเรื่องขุนช้างขุนแผน , สภาเรื่องขุนช้างขุนแผน เป็นนิทานมหากาพย์พื้นบ้านของไทย เค้าเรื่องขุนช้างขุนแผนนี้สันนิษฐานว่าเคยเกิดขึ้นจริงในสมัยกรุงศรีอยุธยา แล้วมีผู้จดจำเล่าสืบต่อกันมา บางตอนในวรรณคดีเรื่องนี้ยังเป็นหลักฐานที่ให้ความรู้ในเรื่องราวความเป็นอยู่ของผู้คนและบ้านเมืองในสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์ เป็นกระจกเงาสะท้อนภาพความเป็นไปของบ้านเมืองในยุคนั้น ๆ ให้คนรุ่นหลัง ๆ ได้ทราบ ด้านล่างคัดลอกบทกลอนบางส่วนบางตอน ที่พูดถึงการตั้งชื่อ การเปลี่ยนชื่อมาให้ดูครับ
อ่านต่อ
วันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561
21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 ยกเลิก รัตนโกสินทรศก เปลี่ยนมาใช้ พุทธศักราชเป็นศักราชประจำชาติ , รัตนโกสินทรศก ตัวย่อ ร.ศ. (อังกฤษ: Rattanakosin era) คือ รูปแบบของศักราชบอกปีชนิดหนึ่ง ซึ่งเริ่มนับตั้งแต่ปีที่ก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นปีแรก รัตนโกสินทรศกเริ่มมีการใช้ครั้งแรกเมื่อจุลศักราช 1250 (พ.ศ. 2324) และวันเริ่มต้นปีคือวันที่ 1 เมษายน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดให้เป็นวันขึ้นปีใหม่และประกาศใช้รัตนโกสินทรศกอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นประโยชน์และสะดวกในการใช้พุทธศักราชอ้างอิงประวัติศาสตร์ จึงได้มีการยกเลิกการใช้งานรัตนโกสินทรศก ทรงออกพระราชบัญญัติเรื่อง "ประกาศวิธีนับวัน เดือน ปี" เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก 131 (พ.ศ. 2455) โดยหนังสือราชการทั้งหมดได้เปลี่ยนมาใช้พุทธศักราชแทนที่
วิธีแปลงพุทธศักราชเป็นรัตนโกสินทรศก ให้นำเลขปีของพุทธศักราชลบด้วย 2324 จะได้เลขปีของรัตนโกสินทรศก รัตนโกสินทรศกเริ่มนับเป็น 1 ตั้งแต่ พ.ศ.2325 ดังนั้นจึงไม่มีรัตนโกสินทรศก 0
วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ.2561
"ซูเปอร์บลูบลัดมูน" จันทรุปราคาเต็มดวง วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ.2561 เวลา 20:29น. ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีระกา @ประเวศ กรุงเทพฯ มุมทิศ ตะวันออกปัดเหนือ 12° มุมเงย 31°
#ราหูอมจันทร์ #จันทรุปราคา #จันทรคราส #กบกินเดือน #ราหู #LunarEclipse #Rahu #SouthNode
วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ.2560
นางสุวรรณมาลี สอนสินสมุทรและนางอรุณรัศมีดูดาว
พระชนนีชี้ชวนชมดารา .... ให้หลานยาลูกรักรู้จักไว้
ดูโน่นแน่แม่อรุณรัศมี ... ตรงมือชี้ดาวเต่านั่นดาวไถ
โน่นดาวธงตรงหน้าอาชาไนย ... ดาวลูกไก่เคียงอยู่เป็นหมู่กัน
องค์อรุณทูลถามพระเจ้าป้า .... ที่ตรงหน้าดาวไถชื่อไรนั่น
นางบอกว่าดาวธงอยู่ตรงนั้น .... ที่เคียงกันเป็นระนาวชื่อดาวโลง
แม้นดาวกามาใกล้ในมนุษย์ .... จะม้วยมุดมรณาเป็นห่าโหง
ดาวดวงลำสำเภามีเสากระโดง .... สายระโยงระยางหางเสือยาว
นั่นแน่แม่ดูดาวจระเข้ ... ศีรษะเหหกหางขึ้นกลางหาว
ดาวนิดทิศพายัพดูวับวาว .... เขาเรียกดาวยอดมหาจุฬามณี
โน่นดาวคันชั่งช่วงดวงสว่าง .... ที่พร่างพร่างพรายงามดาวหามผี
หน่อนรินทร์สินสมุทกับบุตรี .... เฝ้าเซ้าซี้ซักถามตามสงกา
พระชนนีชี้แจงให้แจ้งจิต .... อยู่ตามทิศทั่วไปในเวหา
ครั้นดึกด่วนชวนสองกุมารา .... เข้าห้องในไสยาในราตรี
บทประพันธ์ พระอภัยมณี ของท่านสุนทรภู่ อ่านต่อ
วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ.2560
เปรียบเทียบเส้นแบ่งจักรราศี ระบบดาราศาสตร์ และที่ใช้ในระบบโหราศาสตร์
☉ ระบบดาราศาสตร์ (Astronomical) ท้องฟ้าจริง แบ่งกลุ่มดาว (Constellation) มีทั้งหมด 88 เฉพาะกลุ่ม กลุ่มดาวบริเวณเส้นสุริยวิถี (Ecliptic) มีทั้งหมด 13 กลุ่ม ใช้เป็นกลุ่มดาวจักราศีทางโหราศาสตร์ 12 กลุ่มดาว ยกเว้นกลุ่มดาวคนแบกงู (Ophiuchus) [กลุ่มดาวคนแบกงูมีใช้บ้างในบางสำนัก]
อ่านต่อ
วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2556
วันนี้บทความสั้น ๆ ไม่เกี่ยวกับดูดวง เล่าสู่กันฟังครับ ผมเองประสบปัญหาเรื่องเวบช้ามาหลายครั้งหลายครา พยายามแก้ในทางเทคนิคในเครื่องตั้งแต่ Compression ,Cache ปรับโค๊ดแยกโค๊ด Flat File สารพัดเทคนิคก็ได้ระดับนึง แล้วก็แยกเครื่อง แยกเวบ แยก Subdomain ก็เร็วขึ้น แต่โดยรวมก็ยังช้าอยู่ เมื่อเทียบกับเวบใหญ่ ๆ เลยหาวิธีต่อว่าจะแก้อย่างไร ก็เกิดคำถามว่าทำไม Google เร็วทั้ง ๆ ที่คนใช้เยอะก็เลยนั่งดูโค๊ด ก็พบเทคนิคนึงว่าส่วนใหญ่ ใช้ CDN ช่วยทำงาน
อ่านต่อ
วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2554
ของคุยเรื่องคำถามนึงที่ผู้ใช้เวบถามกันมาหรือแนะนำกันมาบ่อย ๆ เนื่องจากภายในเวบไซต์ มีส่วนนึงที่ในการใช้บริการหรือใช้งานมีการชำระเงินหรือเติมเครดิต โดยช่องทางที่รับตอนนนี้ก็มีผ่านธนาการโดยการโอนเงินผ่านช่องทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเอทีเอ็ม ตู้ฝากเงินสด ผ่านเค้าเตอร์ที่สาขา หรือทำรายการผ่านอินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง นอกจากนี้ยังมีผ่านบัญชีเพย์สบาย บัตรเครดิต และบัญชีเพย์พอล ซึ่งโดยรวมผมทราบดีว่าสะดวกกับผู้ใช้บางกลุ่มเท่านั้น แม่แต่ช่องทางผ่านบัญชีธนาคารที่กว้างแล้วก็ยุ่งยากในการโอน ต้องทำรายการใช้เวลารอ
อ่านต่อ
วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554
ก่อนหน้านี้ช่วง มกราคม พ.ศ.2554 หลังจากเปิดปีใหม่ เว็บไซต์ซึ่งเดิมเช่าใช้แบบ วีพีเอสโฮสติ้ง ซึ่งมีระบบเป็นของตัวเองแต่ก็ยังอยู่บนทรัพยากร แรม ซีพียู ที่ใช้ร่วมกันกับผู้เช่าท่านอื่น ๆ ในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2554 เป็นวันที่วีพีเอสโฮสติ้งทำงานหนักมาก ๆ ผมรีโมทเข้าไปดูระบบแรม ซีพียู ถูกใช้ 100% ค้างตลอด ซึ่งช่วงนั้นจะเข้าเว็บไซต์ได้ช้ามาก ๆ หรือ Error ไปเลย ก็คิดว่าช่วงต้นปีก็คงเป็นแบบนี้ หลังจากนั้นก็ได้เฝ้าดูระบบมาตลอด ช่วงเวลาบ่าย RAM CPU ถูกใช้ 100% เหมือนเดิมประมาณ 3 - 4 ชม. และคิดว่าเพื่อแก้ตรงนี้ ระยะยาวต้องมีเซิร์ฟเวอร์เป็นของตัวเองสักที จึงเริ่มต้นหาข้อมูลเซิร์ฟเวอร์
อ่านต่อ
วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2553
สวัสดีครับ ช่วงนี้มายโหรา.คอม คงไม่ได้อัปเดตอะไรมาก มีพัฒนาในส่วนของการพิมพ์หรือบันทึกผลการทำนาย ซึ่งต้องบอกว่าที่ผ่านมาลองพัฒนาหลาย ๆ วิธี ขอบันทึกไว้สักหน่อยถึงความยากลำบาก
ในระบบการพิมพ์ข้อมูลผ่านเวบ หรือนำข้อมูลที่แสดงผ่านเวบบราวเซอร์ ซึ่งจริง ๆ ก็ทราบกันดีกว่า สำหรับ อินเตอร์เน็ต เอ็กพรอเลอร์ เพียงแค่คลิ๊กเมนู File > Print ก็พิมพ์ออกพรินเตอร์ได้ทันที แต่สำหรับมายโหรา.คอม มีโจทก์ยากกว่านั้น เนื่อง จากหากเวบเป็นตัวอักษร ธรรมดา หรือรูปภาพ ก็คงไม่มีปัญหา เพราะสนใจข้อความที่อ่านออก แต่เนื่องจากการพิมพ์ผลการทำนาย มีรูปแบบที่ยากกว่า คือมี รูป มีตาราง มีรูปภาพ แบ็กกราวน์ ซึ่งหากพิมพ์ผ่าน เมนูปรกติ จะผิดเพี้ยน ไม่เหมือนกับที่ แสดงผ่านอินเตอร์เน็ต เอ็กพรอเลอร์ ดังนั้น จึงเป็นปัญหา และต้องแก้ไข
อ่านต่อ
วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2552
มายโหรา.คอม เป็นเว็บไซต์ ให้บริการด้านโหราศาสตร์ พยากรณ์ศาสตร์ และบริการดูดวง มีข้อมูลหลากหลายและครบถ้วนที่สุด เปิดให้บริการครั้งแรก เมื่อ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ.2552 ภายในเว็บไซต์ เน้นดูดวงด้วยศาสตร์การดูดวงหรือโหราศาสตร์ที่มีมาแต่โบราณของไทย ผ่านระบบออนไลน์เป็นหลัก พัฒนาระบบพยากรณ์เผยแพร่วิชา เผยแพร่เครื่องมือโหราศาสตร์สู่สาธารณะให้ทุกคนเข้าถึงได้ ได้รวบรวมศาสตร์การดูดวงไว้หลากหลาย เช่น
โหราศาสตร์ เช่น โหราศาสตร์ไทย, โหราศาสตร์ 10 ลัคนา, โหราศาสตร์สากล, โหราศาสตร์ยูเรเนียน และมีส่วนดาราศาสตร์ ภาคคำนวณ ที่ใช้ในวิชาโหราศาสตร์, พยากรศาสตร์ เช่น เลข 7 ตัว 9 ฐาน, กราฟชีวิต, มหาทักษาเทวดาเสวยอายุ, เลขศาสตร์, ดวงสมพงษ์, โอเรกุรัม, ฉัตรสามชั้น, นามศาสตร์ (วิเคราะห์ชื่อ) , ตั้งชื่อ ชื่อมงคล, ยามสามตา, เสี่ยงทาย เซียมซี, ไพ่ยิปซี, ทำนายฝัน และศาสตร์อื่น ๆ นอกจากนี้มีข้อมูลเกี่ยวกับปฏิทิน สำหรับผู้ใช้ทั่วไปและนักโหราศาสตร์ ที่นิยมใช้กัน เช่น ปฏิทินจันทรคติไทย, ปฏิทินวันพระ, ปฏิทินวันหยุด, ปฏิทินฤกษ์, ปฏิทิน 100 ปี, ปฏิทินจีน, ปฏิทินโหราศาสตร์ไทย สุริยยาตร์ และ นิรายนะ ลาหิรี, ปฏิทินโหราศาสตร์สากล, โปรแกรมตรวจสอบวันเดือนปีเกิด, เกณฑ์ประกาศวันสงกรานต์ รวมถึง บทความทางโหราศาสตร์ บทสวดมนต์และคาถา ดาราศาสตร์ แผนที่ดาว เป็นต้น
อ่านต่อ