วันพระ พ.ศ.2549 / ค.ศ.2006

พ.ศ./ค.ศ.

วันพระ 2549

วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ หมายถึง วันประชุมของพุทธศาสนิกชนเพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาในพระพุทธศาสนาประจำสัปดาห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปอีกคำหนึ่งว่า "วันธรรมสวนะ" อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยวันพระเป็นวันที่มีกำหนดตามปฏิทินจันทรคติ โดยมีเดือนละ 4 วัน ได้แก่ วันขึ้น ๘ ค่ำ, วันขึ้น ๑๕ ค่ำ (วันเพ็ญ), วันแรม ๘ ค่ำ และวันแรม ๑๕ ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม ๑๔ ค่ำ)

วันพระนั้นเดิมเป็นธรรมเนียมของปริพาชกอัญญเดียรถีย์ (นักบวชนอกพระพุทธศาสนา) ที่จะประชุมกันแสดงธรรมทุก ๆ วัน ๘ ค่ำ และ วัน ๑๕ ค่ำ ซึ่งในสมัยต้นพุทธกาล พระพุทธเจ้ายังคงไม่ได้ทรงวางระเบียบในเรื่องนี้ไว้ ต่อมาพระเจ้าพิมพิสารได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกราบทูลพระราชดำริของพระองค์ว่านักบวชศาสนาอื่นมีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของเขา แต่ว่าพุทธศาสนายังไม่มี พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้มีการประชุมพระสงฆ์ในวัน ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์ประชุมสนทนาและแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันดังกล่าว โดยตามพระไตรปิฎกเรียกวันพระว่า วันอุโบสถ (วัน ๘ ค่ำ) หรือวันลงอุโบสถ (วัน ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำ) แล้วแต่กรณี

หลังจากนั้น พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันธรรมสวนะสืบมา โดยจะเป็นวันสำคัญที่พุทธศาสนิกชนจะไปประชุมกันฟังพระธรรมเทศนาจากพระสงฆ์ที่วัด ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่าได้มีประเพณีวันพระมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

วันพระในปัจจุบัน คงเหลือธรรมเนียมปฏิบัติอยู่แต่เฉพาะประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท เช่น ศรีลังกา, พม่า, ไทย, ลาว และเขมร (ในอดีตประเทศเหล่านี้ถือวันพระเป็นวันหยุดราชการ) โดยพุทธศาสนิกชนเถรวาทนับถือว่าวันนี้เป็นวันสำคัญที่จะถือโอกาสไปวัดเพื่อทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์และฟังพระธรรมเทศนา สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในพระพุทธศาสนาอาจถือศีลแปดหรือศีลอุโบสถในวันพระด้วย นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใด ๆ โดยเชื่อกันว่าการทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในวันพระถือว่าเป็นบาปมากกว่าในวันอื่น

ในประเทศไทย หลังจากวันพระได้ถูกยกเลิกไม่ให้เป็นวันหยุดราชการ ทำให้วันพระที่กำหนดวันตามปฏิทินจันทรคติส่วนใหญ่ไม่สอดคล้องกับปฏิทินที่ใช้กันอยู่ทั่วไป (เช่น วันพระไปตรงกับวันทำงานปกติ) ซึ่งคือหนึ่งในสาเหตุสำคัญในปัจจุบันที่ทำให้พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยห่างจากการเข้าวัดเพื่อทำบุญในวันพระ

นอกจากนี้ ในประเทศไทยยังมีคำเรียกวันก่อนวันพระหนึ่งวันว่า วันโกน เพราะปกติในวันขึ้น ๑๔ ค่ำปกติ ก่อนวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์ในประเทศไทยที่จะโกนผมในวันนี้

การเตรียมตัวไปวัดเพื่อทำบุญ

การเตรียมตัวไปวัดเพื่อทำบุญต้องเตรียมความพร้อม องค์ประกอบ 3 ประการคือ

1. การเตรียมกาย
ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีขาวเรียบ หรือสีที่ ไม่ฉูดฉาด ไม่หลวมไม่คับเกินไป เนื่องจากจะไม่คล่องตัว ไม่ประดับร่างกายด้วยเครื่องประดับ ไม่ใช้เครื่องประทินผิว เช่น น้ำหอม เป็นต้น รับประทานอาหารแต่พอดี ไม่อิ่มจน อึดอัด เพื่อประทังความหิว เนื่องจากหากมีอาการหิว กระหายจะทำให้จิตใจไม่สบายไปด้วย ควรงดเว้นอาหาร ที่อาจจะทำให้เกิดอาการท้องเสีย เป็นต้น

2. การเตรียมใจ
ให้ตัดความวิตกกังวลที่จะเกิดขึ้น เช่น เรื่อง ครอบครัวเรื่องการงานเป็นต้น

3. การเตรียมสิ่งของ
ให้จัดเตรียมดอกไม้ธูปเทียนเพื่อบูชาพระ อาหาร หวานคาว รวมถึงสิ่งของอื่น ๆ (ปัจจัยไทยธรรม) เพื่อไป ถวายพระสงฆ์ตามกำลังและความศรัทธา

ขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม

การปฏิบัติกิจกรรมในการทำบุญของแต่ละวัด อาจจะแตกต่างกันในรายละเอียด แต่หลักปฏิบัติโดยส่วนใหญ่แล้วทุกวัดจะปฏิบัติเหมือนกันคือ

1. การทำวัตรสวดมนต์ (พระสงฆ์จะทำวัตร สวดมนต์ก่อน เมื่อพระสงฆ์ทำวัตรสวดมนต์จบแล้ว อุบาสกอุบาสิกาจึงทำวัตรสวดมนต์ต่อจากพระสงฆ์ บางวัดอาจจะสวดมนต์แปล แต่บางวัดอาจจะสวดมนต์เป็นล้วน ๆไม่สวดแปลให้ทำตามธรรมเนียมของวัดนั้น ๆ )

2. การรับศีล ในวันธรรมดาโดยทั่วไปจะสมาทานศีล 5 ในวันธรรมสวนะ (วันพระ) จะสมาทานอุโบสถศีลหรือศีลอุโบสถมี 8 ข้อ

3. การฟังธรรม

4. การบำเพ็ญจิตภาวนา

5. การถวายสังฆทาน
เดือนจันทรคติไทย : เดือนอ้าย(๑) , เดือนยี่(๒) , เดือนสาม(๓), เดือนสี่(๔) , เดือนห้า(๕) , เดือนหก(๖) , เดือนเจ็ด(๗) , เดือนแปด(๘) , เดือนแปดหลัง(๘๘) , เดือนเก้า(๙) , เดือนสิบ(๑๐) , เดือนสิบเอ็ด(๑๑) , เดือนสิบสอง(๑๒) และในปีอธิกมาส มีเดือนแปดหลัง(๘๘) , ปกติมาส ปกติวาร : เป็นปีปกติ เดือนคู่ (๒, ๔, ๖, ๘, ๘๘, ๑๐, ๑๒) มีข้างขึ้นและข้างแรม 15 วัน เดือนคี่ (๑, ๓, ๕, ๗, ๙, ๑๑) มีข้างขึ้น 15 วัน ส่วนข้างแรมมี 14 วัน (รอบปีจันทรคติรวม 354 วัน), ปกติมาส อธิกวาร : เป็นปีปกติ แต่เดือนเจ็ด(๗) มีข้างแรม 15 วัน (รอบปีจันทรคติรวม 355 วัน) , อธิกมาส ปกติวาร : เป็นปีปกติ แต่เพิ่มเดือนแปดสองหน(๘๘) เพิ่มวัน 30 วัน (รอบปีจันทรคติรวม 384 วัน) , ปกติสุรทิน รอบปีปฏิทินสุริยคติ 1 ปี มี 365 วัน (เดือนกุมภาพันธ์มี 28 วัน) , อธิกสุรทิน รอบปีปฏิทินสุริยคติ 1 ปี มี 366 วัน (เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน) , วันพระ : ขึ้น ๘ ค่ำ , ขึ้น ๑๕ ค่ำ (วันเพ็ญ) , แรม ๘ ค่ำ , แรม ๑๕ ค่ำ หากเดือนใดเป็นเดือนขาดหรือเดือนคี่ (๑, ๓, ๕, ๗, ๙, ๑๑) ให้ถือเอาแรม ๑๔ ค่ำ เป็นวันพระ , รอบวันทางจันทรคติไทย นับตามเวลาดวงอาทิตย์ขึ้นจริง หรือประมาณ เวลา 06:00น. ถึง 05:59น. (วันรุ่งขึ้น)
อ่าน ใช้งาน แล้ว เขียนรีวิว และคลิก Like , Share ให้ด้วยนะครับ :)   N/A จาก N/A รีวิว
หมายเหตุ ปฏิทินวันพระ พ.ศ.2549/ค.ศ.2006
ปฏิทินในปัจจุบันนำเสนอผ่านสื่อหลายรูปแบบ ทั้งสื่อพิมพ์ด้วยกระดาษแบบดั้งเดิม หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบใหม่ เช่น นาฬิกา โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปฏิทินสุริยคติแบบกริกอเรียน การใช้งานก็คุ้นเคยกันดี อาจมีปีศักราช พ.ศ. และ ค.ศ. ที่ใช้ต่างกันเท่านั้น , เรื่องปฏิทินจันทรคติไทยนี้หากย้อนไป 100 กว่าปี ก่อนปี พ.ศ.2456 ประเทศไทยยังใช้ปฏิทินจันทรคติเป็นหลัก ชื่อเดือน มกราคม-ธันวาคม ยังไม่มีใช้ ผู้คนยุคนั้นรู้จักปฏิทินวันแรมค่ำ เดือนอ้ายยี่ ปีชวด ฉลูฯ หรือจดจำวันเกิดตามปฏิทินจันทรคติ เช่น เกิดวันศุกร์ เดือนยี่ ปีกุน เท่านั้น

หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงเริ่มใช้วันเดือนปีสุริยคติตามสากล ปฏิทินจันทรคติไทยก็ลดบทบาทลงจนเกือบหายไป แต่ยังคงมีใช้เฉพาะกลุ่ม เช่น ทางศาสนา วัฒนธรรม พิธีกรรม โหราศาสตร์ ส่วนอื่น ๆ หรือทางราชการ ใช้ปฏิทินสุริยคติแบบสากลเกือบทั้งหมด ปฏิทินจันทรคติไทยแตกต่างจากปฏิทินสุริยคติ มีกฎเกณฑ์เงื่อนไขเฉพาะ ในการใช้งานก็ควรเข้าใจกฏเกณฑ์เบื้องต้นก่อน

หมายเหตุปฏิทินวันพระ การใช้งานเบื้องต้น รูปแบบ กฎเกณฑ์ และข้อกำหนดของปฏิทินที่ควรทราบ สรุปเป็นข้อ ๆ ดังนี้

[1] ปีนักษัตร ปฏิทินชุดนี้เปลี่ยนปีนักษัตร (ชวด, ฉลู ... กุน) ตามคติพราหมณ์เกณฑ์ปฏิทินจันทรคติไทย เปลี่ยนปีนักษัตรใน วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) โดยปี พ.ศ.2549 ปีจอ เริ่มตั้งแต่ วันพุธที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2549 เวลา 06:16น. เป็นต้นไป [5] , ปฏิทินชุดนี้ครอบคลุมช่วงปี พ.ศ.2300 - พ.ศ.2584 หรือ 284 ปีเท่านั้น , รอบวันทางจันทรคติ เริ่มเวลาดวงอาทิตย์ขึ้นจริง หรือประมาณ เวลา 06:00น.

[2] ปีศักราช , จุลศักราช (จ.ศ.) ปฏิทินชุดนี้เปลี่ยนปีจุลศักราชในวันเถลิงศก คำนวณตามคัมภีร์สุริยาตร์ โดยในปี พ.ศ.2549/จ.ศ.1368 วันเถลิงศกตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 16 เมษายน พ.ศ.2549 เวลา 10:28:12น. วันเดียวกันอาจคาบเกี่ยวจุลศักราชได้ เพราะมีช่วงเวลามาเกี่ยวข้อง , วันกาลโยคเริ่มใช้หลังจากวันเถลิงศกนี้เช่นกัน ดู ประกาศสงกรานต์ พ.ศ.2549

รัตนโกสินทรศก (ร.ศ.) เริ่มใช้จริงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2432 (ปีเดียวกันที่เริ่มใช้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่) และยกเลิกใช้งานเมื่อ พ.ศ.2455 , ปฏิทินชุดนี้แสดงปีรัตนโกสินทรศก 1 ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2325 ช่วงเวลาก่อน เมษายน พ.ศ.2325 แสดงรัตนโกสินทรศก 0 ทั้งหมด ทั้งนี้แม้ยกเลิกการใช้งานไปแล้ว ปีปัจจุบันยังแสดงปีรัตนโกสินทรศก , มหาศักราช (ม.ศ.) ปฏิทินชุดนี้เปลี่ยนปีมหาศักราชในวันที่ 22 มีนาคมของทุกปี หรือ 23 มีนาคมในปีอธิกสุรทิน

[3] วันสำคัญทางพุทธศาสนา กำหนดตามเงื่อนไขปฏิทินจันทรคติไทย ตรวจสอบความถูกต้องล่วงหน้าปีต่อปี ตามประกาศกรมการศาสนา หรือ ประกาศสำนักพระราชวัง , วันสำคัญอื่น ๆ เงื่อนไขกำหนดตามเกณฑ์ปฏิทิน ทั้งนี้บางวันสำคัญเริ่มแสดงผลตามปีที่ประกาศใช้วันสำคัญนั้น ๆ เช่น วันรัฐธรรมนูญ เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ.2475 ก่อนหน้านั้นยังไม่มีวันรัฐธรรมนูญ เป็นต้น ในส่วนวันหยุดพิเศษ และวันหยุดอื่น ๆ ที่มีกำหนดการไม่แน่นอน เช่น วันพืชมงคล ตามประกาศสำนักพระราชวัง วันหยุดพิเศษ ตามประกาศ ครม. ข้อมูลย้อนหลังถึงปี พ.ศ.2540 ส่วนปีปัจจุบันมีปรับปรุงตามประกาศ ครม. เป็นครั้ง ๆ ไป

[4] วันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ กำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) ตามคติพราหมณ์ - ฮินดู และใช้จนถึงวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) พ.ศ.2432 ซึ่งตรงพอดีกับวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2432 (รัตนโกสินทร์ศก. 108) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็น วันที่ 1 เมษายน แทน และใช้จนถึง พ.ศ.2483 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ทรงมีการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ไทยตามสากลประเทศ จากวันที่ 1 เมษายน เป็น วันที่ 1 มกราคม โดยเริ่มใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2484 เป็นต้นมา , ในปี พ.ศ.2483 ถ้านับถึงเปลี่ยนปีใหม่ เลือนวันจาก 1 เมษายน เป็นวันที่ 1 มกราคม ปรับปีใหม่เร็วขึ้น จำนวนเดือนในปีปฏิทินไทยจึงหายไป 3 เดือน ดังนั้นในปี พ.ศ.2483 หากนับช่วงเวลา มี 9 เดือน โดยวันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม พ.ศ.2483 ไม่มีอยู่ในปีปฏิทินไทยที่ใช้จริง แต่ตามปฏิทินสากล ซึ่งตรงกับปี ค.ศ.1940 ช่วงเวลาในปฏิทินดังกล่าวใช้ตามปรกติ

ช่วงก่อนปี พ.ศ.2483 ปฏิทินชุดนี้ แสดงปีที่คาบเกี่ยวกัน เพราะยังนับวันเปลี่ยนปีใหม่วันที่ 1 เมษายน เช่น 2482(2481) ซึ่งค่าแรก 2482 เป็นปี พ.ศ. ที่ได้จากปี ค.ศ.+543 คือนับ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ส่วนค่าในวงเล็บ(2481) เป็นปี พ.ศ. ไทยที่ใช้จริงหรือที่เรียกปี พ.ศ. ในช่วงเวลานั้น ๆ ซึ่งนับ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ หากใช้ปฏิทินในช่วงเวลาข้างต้น โปรดศึกษากฎเกณฑ์ รวมถึงข้อกำหนดต่าง ๆ ของปฏิทินโดยละเอียด , นอกจากนี้ยังมีช่วง ก่อนปี พ.ศ.2432 ใช้นับวันขึ้นปีใหม่เปลี่ยน ปี พ.ศ. ในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕)

[5] ปีนักษัตรไทย การเปลี่ยนปีนักษัตรไทยมีหลายแบบ เช่น เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ตามปฏิทินหลวง เป็นแบบที่ใช้ในการบันทึกสูติบัตรปัจจุบัน (แนวทางปฏิบัติตาม หนังสือเวียนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0310.1/ว4 ออกเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2539) , เปลี่ยนปีนักษัตรในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) ตามคติพราหมณ์ - ฮินดู , เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ในวันเถลิงศก ช่วงวันที่ 15-17 เมษายน , เปลี่ยนปีนักษัตรใน วันสังขารล่อง หรือ วันสงกรานต์ ตามแบบทางภาคเหนือ , เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ในวันที่ 1 มกราคม ตามปฏิทินของ อ.ทองเจือ อ่างแก้ว , เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ในวันที่ 1 เมษายน ตามปฏิทินของ อ.เทพย์ สาริกบุตร , ปีนักษัตรจีน โหราศาสตร์จีนเปลี่ยนปีนักษัตรในวันสารทลิบชุน (立春) ซึ่งเป็นสารทแรกของปี เริ่มต้นนักษัตรใหม่ ขวบปีใหม่ ตามกฎเกณฑ์ปฏิทินจีนโบราณ ก่อนที่คณะปฏิวัติปกครองสถาปนาสาธารณรัฐจีน (พ.ศ.2455) มีประกาศเปลี่ยนแปลงปฏิทินใหม่ ดู ปฏิทินจีน และบางตำราใช้วันตรุษจีนเป็นวันเปลี่ยนปีนักษัตร

เลือกใช้ปีนักษัตรแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับว่าใช้ทำอะไร เช่น บันทึกสูติบัตร ใช้ปีนักษัตรตามปฏิทินหลวง เปลี่ยนปีนักษัตรในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) , พยากรณ์ทางโหราศาสตร์ต่าง ๆ ของไทย ใช้ปีนักษัตรตามคติพราหมณ์ - ฮินดู เปลี่ยนปีนักษัตรในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) , พยากรณ์โหราศาสตร์จีน ดูดวงจีนโป๊ยหยี่สี่เถี่ยว (八字四柱) ดูหลักปี ปีชง ปีฮะ ใช้ปีนักษัตรจีนตามปฏิทินจีน เป็นต้น