ปฏิทินกันยายน พ.ศ.2562 / September 2019

พ.ศ./ค.ศ.
เนื่องจากการหาฤกษ์มงคลในการสำคัญมีกฎเกณฑ์วิธี มีข้ออนุโลมข้อยกเว้น ข้อพิจารณาอีกมากมาย บางฤกษ์ใช้การหนึ่งได้แต่ใช้กับอีกการหนึ่งไม่ได้ บางฤกษ์อาจต้องผูกรวมชะตาผู้ใช้ฤกษ์รวมกัน ดังนั้นฤกษ์ในการสำคัญท่านควรปรึกษา และให้ฤกษ์โดยโหรจารย์ผู้เชี่ยวชาญในการให้ฤกษ์ ทั้งนี้รายละเอียดฤกษ์ด้านล่าง แสดงเป็นเบื้องต้นเท่านั้น  ...  รายละเอียดฤกษ์
พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ยกเลิกวันหยุดภาคครึ่งปี (1 ก.ค. 2559 เป็นปีสุดท้าย)
แนะนำ บริการให้ฤกษ์บุคคลตามหลักโหราศาสตร์ขั้นสูง ฤกษ์แต่งงาน ออกรถ ผ่าคลอด ลาสิกขา ยกเสาเอก เปิดร้าน บ้านใหม่ ฯลฯ ... รายละเอียด
เดือนจันทรคติไทย : เดือนอ้าย(๑) , เดือนยี่(๒) , เดือนสาม(๓), เดือนสี่(๔) , เดือนห้า(๕) , เดือนหก(๖) , เดือนเจ็ด(๗) , เดือนแปด(๘) , เดือนแปดหลัง(๘๘) , เดือนเก้า(๙) , เดือนสิบ(๑๐) , เดือนสิบเอ็ด(๑๑) , เดือนสิบสอง(๑๒) และในปีอธิกมาส มีเดือนแปดหลัง(๘๘) , ปกติมาส ปกติวาร : เป็นปีปกติ เดือนคู่ (๒, ๔, ๖, ๘, ๘๘, ๑๐, ๑๒) มีข้างขึ้นและข้างแรม 15 วัน เดือนคี่ (๑, ๓, ๕, ๗, ๙, ๑๑) มีข้างขึ้น 15 วัน ส่วนข้างแรมมี 14 วัน (รอบปีจันทรคติรวม 354 วัน), ปกติมาส อธิกวาร : เป็นปีปกติ แต่เดือนเจ็ด(๗) มีข้างแรม 15 วัน (รอบปีจันทรคติรวม 355 วัน) , อธิกมาส ปกติวาร : เป็นปีปกติ แต่เพิ่มเดือนแปดสองหน(๘๘) เพิ่มวัน 30 วัน (รอบปีจันทรคติรวม 384 วัน) , ปกติสุรทิน รอบปีปฏิทินสุริยคติ 1 ปี มี 365 วัน (เดือนกุมภาพันธ์มี 28 วัน) , อธิกสุรทิน รอบปีปฏิทินสุริยคติ 1 ปี มี 366 วัน (เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน) , วันพระ : ขึ้น ๘ ค่ำ , ขึ้น ๑๕ ค่ำ (วันเพ็ญ) , แรม ๘ ค่ำ , แรม ๑๕ ค่ำ หากเดือนใดเป็นเดือนขาดหรือเดือนคี่ (๑, ๓, ๕, ๗, ๙, ๑๑) ให้ถือเอาแรม ๑๔ ค่ำ เป็นวันพระ , รอบวันทางจันทรคติไทย นับตามเวลาดวงอาทิตย์ขึ้นจริง หรือประมาณ เวลา 06:00น. ถึง 05:59น. (วันรุ่งขึ้น)

ฤกษ์: ฤกษ์ ทั้งหมด กันยายน พ.ศ.2562 วันมงคลสำหรับงานทั่วไป ฤกษ์แต่งงาน ฤกษ์ผ่าคลอด ฤกษ์ออกรถใหม่ ฤกษ์เปิดกิจการ ฤกษ์ขึ้นบ้านใหม่ ฤกษ์สร้างบ้านใหม่ ฤกษ์ลงเสาเอก ฤกษ์ย้ายบ้าน/งาน ฤกษ์ตั้งศาล ฤกษ์อุปสมบท ฤกษ์ลาสิกขา
อ่าน ใช้งาน แล้ว เขียนรีวิว และคลิก Like , Share ให้ด้วยนะครับ :)   N/A จาก N/A รีวิว
หมายเหตุ ปฏิทินจันทรคติไทย กันยายน พ.ศ.2562/ค.ศ.2019
ปฏิทินในปัจจุบันนำเสนอผ่านสื่อหลายรูปแบบ ทั้งสื่อพิมพ์ด้วยกระดาษแบบดั้งเดิม หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบใหม่ เช่น นาฬิกา โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปฏิทินสุริยคติแบบกริกอเรียน การใช้งานก็คุ้นเคยกันดี อาจมีปีศักราช พ.ศ. และ ค.ศ. ที่ใช้ต่างกันเท่านั้น , เรื่องปฏิทินจันทรคติไทยนี้หากย้อนไป 100 กว่าปี ก่อนปี พ.ศ.2456 ประเทศไทยยังใช้ปฏิทินจันทรคติเป็นหลัก ชื่อเดือน มกราคม-ธันวาคม ยังไม่มีใช้ ผู้คนยุคนั้นรู้จักปฏิทินวันแรมค่ำ เดือนอ้ายยี่ ปีชวด ฉลูฯ หรือจดจำวันเดือนปีตามปฏิทินจันทรคติเท่านั้น

หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงเริ่มใช้วันเดือนปีสุริยคติตามสากล ปฏิทินจันทรคติไทยก็ลดบทบาทลงจนเกือบหายไป แต่ยังคงมีใช้เฉพาะกลุ่ม เช่น ทางศาสนา วัฒนธรรม พิธีกรรม โหราศาสตร์ ส่วนอื่น ๆ หรือทางราชการ ใช้ปฏิทินสุริยคติแบบสากลเกือบทั้งหมด ปฏิทินจันทรคติไทยแตกต่างจากปฏิทินสุริยคติ มีกฎเกณฑ์เงื่อนไขเฉพาะ ในการใช้งานก็ควรเข้าใจกฏเกณฑ์เบื้องต้นก่อน

หมายเหตุปฏิทินจันทรคติไทยนี้ ได้สรุป แนะนำการใช้งาน รูปแบบ กฎเกณฑ์ และข้อกำหนดเบื้องต้นของปฏิทินฯ ที่ควรทราบ เป็นข้อ ๆ ดังนี้

[1] ปีนักษัตร ปฏิทินชุดนี้เปลี่ยนปีนักษัตร (ชวด, ฉลู ... กุน) ตามคติพราหมณ์เกณฑ์ปฏิทินจันทรคติไทย เปลี่ยนปีนักษัตรใน วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) โดยปี พ.ศ.2562 ปีกุน เริ่มตั้งแต่ วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ.2562 เวลา 06:12น. เป็นต้นไป [5] , ปฏิทินชุดนี้ครอบคลุมช่วงปี พ.ศ.2300 - พ.ศ.2584 หรือ 284 ปีเท่านั้น , รอบวันทางจันทรคติ เริ่มเวลาดวงอาทิตย์ขึ้นจริง หรือประมาณ เวลา 06:00น.

[2] ปีศักราช , จุลศักราช (จ.ศ.) ปฏิทินชุดนี้เปลี่ยนปีจุลศักราชในวันเถลิงศก คำนวณตามคัมภีร์สุริยาตร์ โดยในปี พ.ศ.2562/จ.ศ.1381 วันเถลิงศกตรงกับ วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ.2562 เวลา 19:12:00น. วันเดียวกันอาจคาบเกี่ยวจุลศักราชได้ เพราะมีช่วงเวลามาเกี่ยวข้อง , วันกาลโยคเริ่มใช้หลังจากวันเถลิงศกนี้เช่นกัน ดู ประกาศสงกรานต์ พ.ศ.2562

รัตนโกสินทรศก (ร.ศ.) เริ่มใช้จริงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2432 (ปีเดียวกันที่เริ่มใช้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่) และยกเลิกใช้งานเมื่อ พ.ศ.2455 , ปฏิทินชุดนี้แสดงปีรัตนโกสินทรศก 1 ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2325 ช่วงเวลาก่อน เมษายน พ.ศ.2325 แสดงรัตนโกสินทรศก 0 ทั้งหมด ทั้งนี้แม้ยกเลิกการใช้งานไปแล้ว ปีปัจจุบันยังแสดงปีรัตนโกสินทรศก , มหาศักราช (ม.ศ.) ปฏิทินชุดนี้เปลี่ยนปีมหาศักราชในวันที่ 22 มีนาคมของทุกปี หรือ 23 มีนาคมในปีอธิกสุรทิน

[3] วันสำคัญทางพุทธศาสนา กำหนดตามเงื่อนไขปฏิทินจันทรคติไทย ตรวจสอบความถูกต้องล่วงหน้าปีต่อปี ตามประกาศกรมการศาสนา หรือ ประกาศสำนักพระราชวัง , วันสำคัญอื่น ๆ เงื่อนไขกำหนดตามเกณฑ์ปฏิทิน ทั้งนี้บางวันสำคัญเริ่มแสดงผลตามปีที่ประกาศใช้วันสำคัญนั้น ๆ เช่น วันรัฐธรรมนูญ เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ.2475 ก่อนหน้านั้นยังไม่มีวันรัฐธรรมนูญ เป็นต้น ในส่วนวันหยุดพิเศษ และวันหยุดอื่น ๆ ที่มีกำหนดการไม่แน่นอน เช่น วันพืชมงคล ตามประกาศสำนักพระราชวัง วันหยุดพิเศษ ตามประกาศ ครม. ข้อมูลย้อนหลังถึงปี พ.ศ.2540 ส่วนปีปัจจุบันมีปรับปรุงตามประกาศ ครม. เป็นครั้ง ๆ ไป

[4] วันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ กำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) ตามคติพราหมณ์ - ฮินดู และใช้จนถึงวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) พ.ศ.2432 ซึ่งตรงพอดีกับวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2432 (รัตนโกสินทร์ศก. 108) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็น วันที่ 1 เมษายน แทน และใช้จนถึง พ.ศ.2483 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ทรงมีการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ไทยตามสากลประเทศ จากวันที่ 1 เมษายน เป็น วันที่ 1 มกราคม โดยเริ่มใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2484 เป็นต้นมา , ในปี พ.ศ.2483 ถ้านับถึงเปลี่ยนปีใหม่ เลือนวันจาก 1 เมษายน เป็นวันที่ 1 มกราคม ปรับปีใหม่เร็วขึ้น จำนวนเดือนในปีปฏิทินไทยจึงหายไป 3 เดือน ดังนั้นในปี พ.ศ.2483 หากนับช่วงเวลา มี 9 เดือน โดยวันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม พ.ศ.2483 ไม่มีอยู่ในปีปฏิทินไทยที่ใช้จริง แต่ตามปฏิทินสากล ซึ่งตรงกับปี ค.ศ.1940 ช่วงเวลาในปฏิทินดังกล่าวใช้ตามปรกติ

ช่วงก่อนปี พ.ศ.2483 ปฏิทินชุดนี้ แสดงปีที่คาบเกี่ยวกัน เพราะยังนับวันเปลี่ยนปีใหม่วันที่ 1 เมษายน เช่น 2482(2481) ซึ่งค่าแรก 2482 เป็นปี พ.ศ. ที่ได้จากปี ค.ศ.+543 คือนับ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ส่วนค่าในวงเล็บ(2481) เป็นปี พ.ศ. ไทยที่ใช้จริงหรือที่เรียกปี พ.ศ. ในช่วงเวลานั้น ๆ ซึ่งนับ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ หากใช้ปฏิทินในช่วงเวลาข้างต้น โปรดศึกษากฎเกณฑ์ รวมถึงข้อกำหนดต่าง ๆ ของปฏิทินโดยละเอียด , นอกจากนี้ยังมีช่วง ก่อนปี พ.ศ.2432 ใช้นับวันขึ้นปีใหม่เปลี่ยน ปี พ.ศ. ในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕)

[5] การเปลี่ยนปีนักษัตรตามคติพราหมณ์เกณฑ์ปฏิทินจันทรคติไทย (โหราศาสตร์แบบไทยได้รับอิทธิพลมาจากพราหมณ์ - ฮินดู) เปลี่ยนปีนักษัตรในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) โดยในปี พ.ศ. เปลี่ยนปีนักษัตรจาก ปีจอ เป็น ปีกุน ใน วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ.2562 เวลา 06:12น. เป็นต้นไป ปีนักษัตรไทย การเปลี่ยนปีนักษัตรไทยมีหลายแบบ เช่น เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ตามปฏิทินหลวง เป็นแบบที่ใช้ในการบันทึกสูติบัตรปัจจุบัน (แนวทางปฏิบัติตาม หนังสือเวียนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0310.1/ว4 ออกเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2539) , เปลี่ยนปีนักษัตรในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) ตามคติพราหมณ์ - ฮินดู , เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ในวันเถลิงศก ช่วงวันที่ 15-17 เมษายน , เปลี่ยนปีนักษัตรใน วันสังขารล่อง หรือ วันสงกรานต์ ตามแบบทางภาคเหนือ , เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ในวันที่ 1 มกราคม ตามปฏิทินของ อ.ทองเจือ อ่างแก้ว , เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ในวันที่ 1 เมษายน ตามปฏิทินของ อ.เทพย์ สาริกบุตร , ปีนักษัตรจีน โหราศาสตร์จีนเปลี่ยนปีนักษัตรในวันสารทลิบชุน (立春) ซึ่งเป็นสารทแรกของปี เริ่มต้นนักษัตรใหม่ ขวบปีใหม่ ตามกฎเกณฑ์ปฏิทินจีนโบราณ ก่อนที่คณะปฏิวัติปกครองสถาปนาสาธารณรัฐจีน (พ.ศ.2455) มีประกาศเปลี่ยนแปลงปฏิทินใหม่ ดู ปฏิทินจีน และบางตำราใช้วันตรุษจีนเป็นวันเปลี่ยนปีนักษัตร

เลือกใช้ปีนักษัตรแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับว่าใช้ทำอะไร เช่น บันทึกสูติบัตร ใช้ปีนักษัตรตามปฏิทินหลวง เปลี่ยนปีนักษัตรในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) , พยากรณ์ทางโหราศาสตร์ต่าง ๆ ของไทย ใช้ปีนักษัตรตามคติพราหมณ์ - ฮินดู เปลี่ยนปีนักษัตรในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) , พยากรณ์โหราศาสตร์จีน ดูดวงจีนโป๊ยหยี่สี่เถี่ยว (八字四柱) ดูหลักปี ปีชง ปีฮะ ใช้ปีนักษัตรจีนตามปฏิทินจีน เป็นต้น